วันหยุดยาวช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ผู้คนจำนวนมากวางแผนเดินทางไกล จำนวนไม่น้อยเดินทางกลับบ้านที่ต่างจังหวัด กลับไปเยี่ยมครอบครัว อีกหลายคนใช้ช่วงเวลานี้พาครอบครัว คนรักไปเที่ยวพักผ่อนกัน ในช่วงที่กำลังสนุกสนานกันอยู่นี้ทั้งจากการเดินทางไกล ระยะเวลาในการเดินทางที่ยาวนาน ผนวกรวมกับสภาพร่างกายที่พักผ่อนไม่เพียงพอ สภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลง การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้นั้น
ดร.ภก.ปรีชา หนูทิม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขประกาศนโยบาย 3 D "Drink Don’t Drive" ขับไม่ดื่ม ดื่มไม่ขับเพื่อรณรงค์ความปลอดภัยในการขับขี่และลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำรายชื่อยาสมุนไพรที่ควรมีประจำรถ ประจำตัว เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นขณะเดินทางไกลได้ ดังนี้
สรรพคุณ : บรรเทาอาการเจ็บคอ โรคหวัดและใช้กับผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อย รวมไปถึงบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
คำแนะนำ : ห้ามใช้ในผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่แพ้ฟ้าทะลายโจรและในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอ เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น มีตุ่มหนองในลำคอ
ใช้แก้วิงเวียนศีรษะ แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีข้อห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
บรรเทาอาการปวดเมื่อย
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูกหรือมีเลือดปน ไม่มีไข้
บรรเทาอาการท้องอืด ขับลม แน่นจุกเสียด ป้องกันและบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่มีสาเหตุจากการเมารถ เมาเรือ ทั้งนี้ ยาทั้ง 5 ชนิดข้างต้น เป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพรสามารถเบิกจ่ายยาดังกล่าวได้ตามสิทธิ์ในโรงพยาบาลของรัฐ
บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย และช่วยให้สดชื่นในระหว่างการขับขี่ยานพาหนะด้วย
ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะทางไกลทุกชนิด ควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ อย่างน้อย 6 - 8 ชั่วโมง งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด งดทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท เพราะจะส่งผลให้สมรรถนะในการขับขี่ยานพาหนะลดลง และควรตรวจสอบยานพาหนะของท่าน ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และควรปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดอีกด้วย
ผู้ที่สนใจการใช้สมุนไพร สามารถสอบถามข้อมูลกับแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ ได้ที่คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลของรัฐ ทั่วประเทศ หรือ สามารถสอบถามโดยตรงได้ที่กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โทร. 0 2149 5678