เอาแล้ว! ลงดาบ “มินิมาร์ทจีน” 17 จังหวัด พบอาหาร-เครื่องสำอางผิดกฎหมายอื้อ

11 ส.ค. 2567 | 07:45 น.
อัปเดตล่าสุด :11 ส.ค. 2567 | 07:46 น.

อย. - สสจ. ปูพรมตรวจ “มินิมาร์ทจีน” 470 แห่ง ใน 17 จังหวัด พบขายสินค้าผิดกฎหมายอื้อ ทั้งอาหาร เครื่องสำอาง โทษหนักทั้งจำทั้งปรับ

หลังจากที่มีสินค้าจีนทะลักเข้ามาทำตลาดในไทย ทั้งร้านอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงมินิมาร์ทจีนที่นำสินค้าจากจีนเข้ามาวางจำหน่าย โดยไม่ได้ผ่านการตลาดสอบ ล่าสุด อย.ร่วมกับสสจ. และพบสินค้าผิดกฎหมายจำนวนมาก

เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีปฏิบัติการร่วมกับ บก.ปคบ. เข้าตรวจสอบร้านจำหน่ายสินค้านำเข้าจากจีน ในกรุงเทพ  พบอาหารผิดกฎหมายและได้ดำเนินการตามกฎหมายแล้ว

เอาแล้ว! ลงดาบ “มินิมาร์ทจีน” 17 จังหวัด พบอาหาร-เครื่องสำอางผิดกฎหมายอื้อ

นอกจากนี้ อย. ยังขยายผลทั่วประเทศ ด้วยการประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปูพรมตรวจสอบเฝ้าระวังร้านค้าจำหน่ายสินค้านำเข้า จากการตรวจสอบร้านค้า จำนวน 470 แห่ง

พบร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย จำนวน 80 แห่ง คิดเป็น 17.02% จากพื้นที่ 17 จังหวัด พบว่า มีสินค้าผลิตกฎหมายดังนี้

เอาแล้ว! ลงดาบ “มินิมาร์ทจีน” 17 จังหวัด พบอาหาร-เครื่องสำอางผิดกฎหมายอื้อ

ผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย จำนวน 1,171 รายการ แบ่งเป็น

  • ผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 1,151 รายการ
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จำนวน 20 รายการ

ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้อายัดผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายและดำเนินการตามกฎหมาย กรณีขายอาหารไม่มีฉลากภาษาไทย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท กรณีขายเครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท และขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จึงขอเตือนให้ร้านค้าจำหน่ายสินค้านำเข้า เลือกสินค้าที่ถูกกฎหมายมาขายในร้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในส่วนของผู้บริโภค ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทยมีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ระบุชื่ออาหาร ชื่อ ที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ผลิต

เอาแล้ว! ลงดาบ “มินิมาร์ทจีน” 17 จังหวัด พบอาหาร-เครื่องสำอางผิดกฎหมายอื้อ

หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน แสดงส่วนประกอบ น้ำหนักสุทธิ และเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. ส่วนเครื่องสำอาง ฉลากต้องมีภาษาไทย ต้องแสดงชื่อเครื่องสำอาง ชื่อทางการค้า ประเภทเครื่องสำอาง ชื่อของสารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ ครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิตหรือปีเดือนที่ผลิต คำเตือน (ถ้ามี)  และเลขที่ใบรับจดแจ้ง มีการระบุแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์