เทรนด์อวดว่างานยุ่ง Busy Bragging ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

22 ก.ย. 2567 | 00:00 น.
อัพเดตล่าสุด :22 ก.ย. 2567 | 03:14 น.

"Busy Bragging" หรือการอวดว่างานยุ่ง เป็นพฤติกรรมที่แพร่หลายในที่ทำงานสมัยใหม่ แต่ส่งผลเสียต่อองค์กรมากกว่าที่คาด ทั้งลดประสิทธิภาพการทำงาน บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี

เราทุกคนคงเคยได้ยินคำพูดซ้ำๆ กันมาบ้าง ตั้งแต่เพื่อนร่วมงานที่บอกว่างานยุ่งมากจนจำไม่ได้ว่าได้พักเที่ยงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ผู้จัดการที่บอกว่าอยู่ที่ออฟฟิศจนดึกดื่น และเพื่อนร่วมทีมที่ไม่ได้ลาพักร้อนมาหลายปีแล้ว

"การอวดว่าตัวเองยุ่งมาก" อาจเป็นศัพท์ใหม่ในพจนานุกรมของเรา แต่คำนี้ก็เป็นสำนวนที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งบางทีอาจจะเคยทำแบบนี้มาก่อน หรือบางทีเราอาจเป็นคนอวดอ้างเรื่องเครียดเป็นประจำก็ได้

Busy Bragging คือ การพูดคุยโวโอ้อวดเกี่ยวกับปริมาณงานหรือระดับความยุ่งของตัวเองเป็นประจำเพื่อแสดงถึงความสำคัญ ความทุ่มเท และประสิทธิผล เป้าหมายพื้นฐานคือการแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความขยันหมั่นเพียรเพื่อเรียกร้องความเคารพและการยืนยันจากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

จากหลักฐานที่จับต้องได้มากขึ้น จากการศึกษาวิจัยในปี 2024 ที่ตีพิมพ์ใน Personnel Psychology เเละ Terry College of Business มหาวิทยาลัยจอร์เจีย พบว่าการโอ้อวดเรื่องความเครียดมักส่งผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน

ความเครียดเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ

การสำรวจ Work in America ประจำปี 2023 ของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน แสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 77% ประสบกับความเครียดที่เกี่ยวข้องกับงานในเดือนที่ผ่านมา โดย 57% ได้รับผลกระทบเชิงลบตั้งแต่ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ (31%) ประสิทธิภาพการทำงานลดลง (20%) ไปจนถึงความรู้สึกว่าไม่ได้ผล (18%)

จาก การวิเคราะห์ของ Research and Markets คาดว่า ตลาดการจัดการความเครียดในที่ทำงานทั่วโลก จะมีมูลค่าถึง 11.3 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2025 แต่เนื่องจาก การวิจัยก่อนหน้านี้เน้นไปที่ผลกระทบต่อบุคคลจากความเครียดในสถานที่ทำงาน จึงพยายามประเมินว่าความเครียดส่งผลต่อผู้อื่นอย่างไร และผู้อื่นตีความเรื่องนี้อย่างไร

ผลกระทบเชิงลบ

ผู้เขียนสรุปผลการค้นพบผ่านการศึกษาวิจัย 2 เรื่อง ดังนี้ จากการทดลองในห้องแล็ป (การศึกษาวิจัยที่ 1) และการศึกษาภาคสนามจากหลายแหล่ง (การศึกษาวิจัยที่ 2) พบว่าการโอ้อวดว่างานยุ่งหรืออวดว่าเครียด ส่งผลเสียต่อคนโอ้อวดอย่างมาก เพราะว่าเพื่อนร่วมงานอาจจะประเมินพวกเขาว่ามีความสามารถน้อยกว่าและไม่เป็นมิตร นอกจากนี้ ในการศึกษาวิจัยที่ 2 ได้พบว่าเพื่อนร่วมงานของคนโอ้อวดว่างานยุ่งยังเจอกับ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ในระดับที่สูงขึ้นเนื่องจากผลของความเครียดที่เพิ่มขึ้น

ดังนั้น คนโอ้อวดจึงไม่เพียงแต่ถูกมองว่ามีความสามารถน้อยกว่าเท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นยังทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความเครียดอีกด้วย

ถูกมองว่าไม่ใช่ผู้เล่นในทีม

แน่นอนว่าเราทุกคนต่างเคยเจอกับความเครียดในที่ทำงาน และบางครั้งการปลอบใจเพื่อนร่วมงานอาจช่วยบรรเทาความเครียดได้ แต่เมื่อคุยโอ้อวดเกี่ยวกับภาระอยู่เสมอโดยมองว่าความเครียดเป็นเครื่องหมายเกียรติยศ เพื่อนร่วมงานอาจมองว่าคนเหล่านั้นไม่เพียงแต่เป็นที่ชื่นชอบน้อยลงเท่านั้น แต่ยังมีความสามารถน้อยลงด้วย

เนื่องจากมักจะมุ่งเน้นที่ภาระงานและความสำเร็จของตนเองมากกว่าผลงานของทีม พวกเขาจึงไม่ถูกมองว่าเป็นผู้เล่นในทีม แม้ว่าจะประกาศว่าทุ่มเทให้กับจุดมุ่งหมายขององค์กรก็ตาม บุคคลเหล่านี้อาจลดหรือย่อขนาดงานและความท้าทายของเพื่อนร่วมงานโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องมาจากมัวแต่จดจ่อกับความยุ่งของตนเองและรับงานมากเกินไป

การฟังเพื่อนร่วมงานโอ้อวดอยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องน่าเบื่อ ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่คนรอบข้างจะไม่สนใจและเห็นใจสถานการณ์ของพวกเขา ผลก็คือ นักวิจัยพบว่าเพื่อนร่วมงานมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือคนโอ้อวดที่ยุ่งมากน้อยลง เนื่องจากเริ่มเชื่อว่าความเครียดนั้นเกิดจากตัวพวกเขาเอง ส่งผลให้ขวัญกำลังใจของทีมลดลงและส่งผลกระทบต่อบรรยากาศโดยรวม

 

ความเครียดแพร่กระจาย

ส่วนหนึ่งของการศึกษานี้ขอให้ผู้คนจำนวน 218 คน ประเมินประสบการณ์จริงในชีวิตของที่มีต่อคนโอ้อวดว่ายุ่ง โอ้อวดว่าเครียดในที่ทำงานและผลกระทบที่มีต่อสุขภาพจิตของตนเอง นักวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างการโอ้อวดเรื่องความเครียดกับความเครียด

นักวิจัยพบว่าเพื่อนร่วมงานที่ฟังการคุยโม้โอ้อวดอยู่บ่อยครั้งจะรู้สึกกดดัน และมีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะหมดไฟมากกว่า และการที่คนโอ้อวดเสนอแนวคิดว่าการทำงานมากเกินไปถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่แรงกดดัน เนื่องจากเพื่อนร่วมงานรู้สึกจำเป็นที่จะต้องทำงานให้ยุ่งจนเกินระดับที่กำหนด

โดยรวมแล้ว การคุยโวว่าทำงานหนักอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อขวัญกำลังใจและพลวัตเชิงบวกของทีม และยังส่งผลต่อวัฒนธรรมของสถานที่ทำงานโดยรวมอีกด้วย

ที่มา