6 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้”

20 ก.ย. 2567 | 05:53 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.ย. 2567 | 05:56 น.

6 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้” : Tricks for Life

อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่น ท้องผูก ท้องเสีย อาการเหล่านี้อาจเป็นแค่ชั่วคราว เมื่อรับประทานยาหรือปรับพฤติกรรม อาการเหล่านี้ก็หายไป  แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนเรียกได้ว่าเรื้อรังนานเป็นเดือน จะกลายเป็น “ปัญหาโรคในระบบทางเดินอาหาร” และอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

6 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้”

ปัจจัยหรือพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ ได้แก่

  • การบริโภคอาหารแปรรูปเป็นประจำ เช่น แฮม ไส้กรอก กุนเชียง
  • พันธุกรรม ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะญาติสายตรง จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • สูบบุหรี่
  • โรคอ้วน

พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) เล่าให้ฟังว่า  การลดความเสี่ยง คือการปรับพฤติกรรม และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ งดเว้นเนื้อสัตว์แปรรูป เพิ่มการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ค่ะ อย่างไรก็ตามถ้ามีอาการเรื้อรัง หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรได้รับการส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

  • ผู้ที่ควรได้รับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร ได้แก่
  • อายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ปวดแสบท้อง จุกแน่นลิ้นปี ท้องอืด เรื้อรัง
  • มีการถ่ายอุจจาระผิดปกติจากเดิม เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียบ่อยๆ มีอุจจาระสีดำ หรือปนเลือด
  • มีภาวะโลหิตจางที่อาจมีสาเหตุจากเลือดออกภายใน
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ อาจมีถ่ายปนเลือด หรืออุจจาระสีดำ
  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งระบบทางเดินอาหาร

ถ้ามีอาการหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง อย่ารอให้เป็นแล้วค่อยรักษานะคะ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหาร สามารถทำควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพประจำปีได้เลย