CISW จัดเสวนากัญชา ให้ความรู้ด้านการแพทย์ หนุนไทยเป็นฮับพัฒนาสู่ตลาดโลก

02 ต.ค. 2567 | 22:10 น.
อัปเดตล่าสุด :06 ต.ค. 2567 | 01:56 น.

CISW จัดงานให้ความรู้ด้านกัญชา ระบุกัญชาไทยเป็นเบอร์ 1 ในเอเชีย ใช้พัฒนาด้านการแพทย์กว่า 70% คาดหวังอนาคตไทยจะเป็นฮับส่งสารสกัดไปตลาดต่างประเทศ

นาย Jacky Ong กรรมการฝ้ายบริหาร ประธานบริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (CISW) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู โฮลดิ้ง กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ซีไอเอสดับเบิ้ลยู อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ CISW ได้จัดงาน CISW Medical Cannabis Investment Summit World (CMCI 2024) ประเทศไทย ซึ่งเป็นการจัดงานในครั้งที่ 5 เพื่อโปรโมทส่งเสริมกัญชาการแทพย์เพื่อการลงทุน และแชร์ความรู้ถึงประโยชน์ด้านกัญชา ทั้งงานวิจัยระดับประเทศจากผู้มีความรู้ในไทย รวมถึงผู้มีความรู้เรื่องกัญชาจากต่างประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ มาเลเซีย ตลอดจนประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน โดยครอบคลุมเนื้อหา Medical Cannabis ประโยชน์จากกัญชาการการแพทธ์และทางสุขภาพ ที่สร้างสามารถมูลค่าในเชิงเเศรษฐกิจได้

CISW จัดเสวนากัญชา ให้ความรู้ด้านการแพทย์ หนุนไทยเป็นฮับพัฒนาสู่ตลาดโลก

“ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศแรกในเอเชียที่หยิบยกเรื่องกัญชาขึ้นมาพัฒนาได้ดีมาก และในงานนี้มีความสำคัญเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับกัญชาตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยด้านการแพทย์กัญชาถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสมใจ สามารถพัฒนาส่งเสริม Wellness Tourism สู่การเป็น Medical Canmabis & Wellness ระดับโลกได้ รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนที่จะเข้ามาได้ ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจและเพื่อให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น”

ตลาดกัญชามี 2 ประเภท

  1. ตลาดกัญชาเพื่อสันทนาการ
  2. ตลาดกัญชาเพื่อการแพทย์

สำหรับภาพรวมตลาดกัญชาทั่วโลกทั้ง 2 ส่วนน่าจะแบ่งการใช้อยู่ประมาณ 50% เท่ากัน แต่ใช้เพื่อการแพทย์ถือว่าเติบโตดี คนหันมาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น เพราะสามารถเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาได้ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นำร่องพัฒนาเรื่องกัญชา มีต้นทุนในการผลิตถูกและให้ผลผลิตดีเมื่อเทียบกับต่างประเทศ อาจเรียกได้ว่าเป็นเบอร์ 1 ในเอเชียที่พัฒนากัญชาเพื่อการแพทย์ไปมากกว่า 70% ใช้สันทนาการเพียง 30% เท่านั้น

CISW จัดเสวนากัญชา ให้ความรู้ด้านการแพทย์ หนุนไทยเป็นฮับพัฒนาสู่ตลาดโลก

นาย Jacky Ong กล่าวว่า ในธุรกิจกัญชาสิ่งสำคัญจะต้องมีความเข้าใจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของการจัดงาน ถือว่าความรู้เหล่านี้เริ่มถูกถ่ายทอดและพัฒนามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจกัญชาได้รับความเข้าใจเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15% ต่อปี และในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงาน 150-200 คน แบ่งเป็นคนไทย 50% ต่างชาติ 50% ทั้งการสัมมนา จัดเวิร์คช็อป และลงพื้นที่ดูโปรเจกต์

ด้าน  รศ.ดร.นพ. กำพล ศรีวัฒนกุล ประธาน กฎบัตรสุขภาพ (Holistic Wellness) และ คณะกรรมการกฎบัตรไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เรื่องของกัญชาเป็นเรื่องที่ประเทศไทยจะต้องติดตามกระแสโลกด้วย เพราะตอนนี้ไม่ใช่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ประกาศตัวจะพัฒนาด้านกัญชา เพราะสารสกัดในกัญชานิยมใช้กันทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศ ศาสนาฮินดูจะเป็นประเทศที่ใช้มากที่สุดในโลกแบะใช้รักษาโรคในเชิงศาสนา ในขณะที่ศาสนาอื่นๆ ก็นิยมใช้เช่นกัน แต่กลับถูกบรรจุลงในสารสมุนไพรประเภทยาเสพติด เพราะแพทย์แผนปัจจุบันมีความกังวลว่ากัญชาอาจมีความเป็นยาเสพติด

เรื่องนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าสารเสพติดคืออะไร ยกตัวอย่าง เฮโรอีนหรือมอร์ฟีนก็เป็นสารเสพติด รวมทั้งยาแผนปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ทั่วไปบางตัวก็เป็นสารเสพติด ขณะเดียวกันสารสกัดจากกัญชากลับมีความเป็นยาเสพติดอยู่น้อยมาก มักจะใช้ในแพทย์แผนโบราณซึ่งมีข้อจำกัดคือ ไม่มีจำนวนสารสกัดสำคัญที่ชัดเจน ขณะที่แพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่คุ้นเคยในการใช้ ฉะนั้นการนำกัญชามาใช้ในประเทศไทยจะต้องมีกฎหมายทางการแพทย์กำกับ โดยเฉพาะสารสกัดที่สำคัญใบกัญชามี 2 ชนิด คือ THC และ CBD ซึ่งแท้จริงกัญชามีสารสำคัญมากกว่า 40 ชนิดที่ถูกมองข้าม และสามารถพัฒนาใช้ในทางการแพทย์ได้หลากหลายมาก เช่น ใช้ในการลดความอ้วน

CISW จัดเสวนากัญชา ให้ความรู้ด้านการแพทย์ หนุนไทยเป็นฮับพัฒนาสู่ตลาดโลก

ฉะนั้น ในประเทศไทยอยากจะพักดันให้เกิดการใช้กัญชาใน 2 รูปแบบ คือ 

  1. ใช้ในทางการแพทย์ แบ่งเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน สนับสนุนการทำงานร่วมกัน โดยประเมินด้วยหลักวิทยาศาสตร์และทำวิจัย นอกจากนี้ยังใช้ในทางการแพทย์เพื่อบรรเทาปวด เพราะ 1 ใน 3 ของประชากรโลกจะต้องมีอาการปวดจากโรคอะไรซักอย่าง เช่น การปวดจากมะเร็ง ซึ่งผลวิจัยเบื้องต้นสารสกัดจากกัญชาสามารถแก้ปวดได้ดีกว่ามอร์ฟีนและไม่เป็นสารเสพติด
  2. ใช้ในธุรกิจเวลเนส เช่น ใช้ในการแก้ปัญหาสุขภาพ แก้นอนหลับยาก ออฟฟิศ ซินโดรม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมกัญชาในประเทศไทยหรือการผลิตกัญชาประเทศไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร ผู้ประกอบการก็มีศักยภาพ ฉะนั้นเป็นเรื่องที่ดีหากผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านกัญชา ที่สามารถส่งออกสารสกัดได้ ซึ่งตลาดในต่างประเทศมีความต้องการสูง ไม่ว่าจะเป็นในยุโรปหรือเมริกา