เปิดหนังสือ ชี้แจง ซื้อหนี้เกษตรกร กว่า 9 พันล้าน จาก 4 แบงค์รัฐ

16 ก.พ. 2565 | 11:18 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ก.พ. 2565 | 21:36 น.

เลขาธิการ กองทุนฟื้นฟูฯ แจงยิบ ทำโครงการ 3 ปี ชำระหนี้แทนเกษตรกร หลัง ก.คลัง ติง ติดวินัยการเงิน ลอกเลียนแบบ แนะสร้างรายได้ ให้มีพอใช้หนี้ตามกำหนด “แรมโบ้” รับปากเข้า ครม. 22 ก.พ. แกนนำลั่นปักหลักรอ กลัวเบี้ยวผิดสัญญา ระบุสถานะกองทุนฯ สิ้นเดือน ก.พ. ไม่มีเงินจ่ายพนักงานแล้ว

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้ชี้แจงข้อสังเกตของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คราวประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 2 เมษายน 2564ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง และเห็นชอบให้ กฟกเสนอเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาให้ความเห็นภายใน 30 วัน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

 

ทั้งนี้ สำนักงานได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลังลงวันที่ 7 เมษายน 2564 และวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 และกระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เห็นว่าเพื่อความรอบคอบในการเสนอโครงการจึงได้มีหนังสือที่ กค 1006/4256 ลงวันที่29 กันยายน 2564 แจ้งข้อสังเกตในการแก้ไขปัญหาหนี้ตามโครงการฯ รวม 5 ข้อ นั้น

 

สไกร พิมพ์บึง


นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  คำถาม  ข้อที่ 1. การขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาหนี้โดยให้ภาครัฐชำระหนี้แทนเกษตรกรนั้นอาจส่งผลต่อวินัยการก่อหนี้และการชำระหนี้ของลูกหนี้ (Moral Hazard) และจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรก่อหนี้เพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต เพราะรู้ว่าเมื่อตนเองก่อหนี้แล้วไม่ต้องรับผิดชอบในการชดใช้คืนรวมทั้งยังอาจเป็นวงกว้างต่อหนี้รายย่อยทั้งระบบที่อาจจะขอรับการช่วยเหลือในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหาก Moral Hazard เกิดขึ้นจริง ภาครัฐอาจต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินในระบบสถาบัน

 

การเงิน ทั้งนี้ แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้ควรเป็นไปอย่างบูรณาการมีความยั่งยืน ควรพิจารณาแนวทางในการฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตควบคู่ไปกับการส่งเสริมการออมและการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้และรายได้ที่เพียงพอ พร้อมทั้งสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและวินัยการเงินของประเทศ

 

คำตอบ ข้อที่ 1 โดย กฟก.มีความเห็นในกรณีดังกล่าว  มีเกษตรกรสมาชิก 5.67 ล้านคน ขึ้นทะเบียนหนี้ 516,965 คน คิดเป็น 5.67% ของสมาชิกทั้งหมด และเกษตรกรที่เป็นหนี้เร่งด่วน (NPL ขึ้นไป) 180,704 คน ปัจจุบันได้รับการจัดการหนี้ จำนวน 30,374 คน คิดเป็น 5.88% ของสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนหนี้และคิดเป็นร้อยละ 16.12% ที่เป็นหนี้เร่งด่วน NPL ขึ้นไป  ทั้งนี้ กฟก. มีหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ชัดเจน และไม่สามารถจัดการหนี้ให้กับเกษตรกรสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนหนี้ได้ทุกราย

 

เปิดกลุ่มเป้าหมายรัฐบาลซื้อหนี้เกษตรกร

 

สำหรับ เกษตรกรที่ได้รับการจัดการหนี้ ได้ผ่อนชำระหนี้คืนอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมเป็นเงิน 2,013.23 ล้านบาท  จากข้อมูลข้อ 1.1-1.3 เห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาหนี้ของ กฟก.ร่วมกับเจ้าหนี้ที่ผ่านมา ไม่ส่งผลต่อวินัยการก่อหนี้ และพฤติกรรมเอาอย่าง Moral Hazard ให้เกิดขึ้นตามที่หลายฝายตั้งข้อสังเกต

 

คำถาม ข้อที่ 2. หากโครงการฯ ที่ กฟก.เสนอไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของ กฟก.หรืองบประมาณจากแหล่งอื่นๆ แต่เป็นการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการโดยรัฐบาลรับภาระจะชดเชยค่าใช้จ่ายหรือหรือการสูญเสียรายได้จากการดำเนินการนั้น ตามมาตรา 28 แห่ง พรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่อยู่ในอำนาจหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของหน่วยงานรัฐนั้น

 

เกาะติดม็อบ กองทุนฟื้นฟูฯ

 

ประกอบกับประกาศคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังภาครัฐ เรื่องกำหนดอัตราชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานรัฐในการดำเนินการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 พ.ศ.2561 ได้กำหนดอัตรายอดคงค้างรวมทั้งหมดของภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินดำเนินการกิจกรรม

 

ทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กฟก. เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินชดเชยเงินต้นที่เหลือร้อยละ 50 ให้สถาบันเจ้าหนี้ทั้งจำนวน ส่วนดอกเบี้ย กฟก.เสนอขอรับการสนับสนุนจากสถาบันเจ้าหนี้ยกให้เกษตรกรทั้งจำนวน อย่างไรก็ตามกรณีจะมีปัญหาตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

 

กฟก. เสนอขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินชดเชยให้เจ้าหนี้เฉพาะส่วนที่จะเป็นปัญหาเท่านั้น เช่น ชดเชยเฉพาะดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้รับรู้รายได้แล้ว เพื่อแบ่งเบาภาระให้เกษตรกรที่มีปัญหาหนี้สินยืดเยื้อยาวนาน และเป็นการลดปัญหาหนี้ NPL ให้สถาบันเจ้าหนี้อีกทางหนึ่งเบื้องต้นมีแนวทางการดำเนินการดังนี้

บรรยากาศม็อบ

นายสไกร กล่าวว่า คำตอบ ประเด็นที่ 2  “ กฟก.” ขอชี้แจงกฟก. ในประเด็นดังกล่าว ดังนี้ เนื่องจากโครงการฯ ที่กองทุนฟื้นฟูฯ เสนอ ไม่ได้เป็นการขอเงินงบประมาณปี 2564 แต่เป็นแนวโน้มของการของบประมาณในปีงบประมาณ 2566-2569 (โครงการ 3 ปี) เป็นโครงการต่อเนื่องระยะยาว ไม่เป็นภาระงบประมาณมากนัก จึงไม่ส่งผลกระทบต่อข้อกฎหมาย (พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ) จากกลุ่มเป้าหมาย 50.621 ราย หนี้เงินต้น 9,282.91 ล้านบาท

 

ประเด็นคำถาม ที่ 3 นอกจากนี้ในการดำเนินโครงการฯ ธนาคารเจ้าหนี้ควรได้รับการชดเชยเงินต้นเต็มจำนวนรวมถึงดอกเบี้ยซึ่งเป็นรายได้ที่ควราจะได้รับจากการประกอบกิจการ โดยหากธนาคารไม่ได้รับรับการชดเชยดอกเบี้ยค้างรับจะส่งผลกระทบต่อรายได้และความน่าเชื่อถือของธนาคาร เนื่องจากธนาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และกรอบอำนาจของกฎหมายและกฎระเบียบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

 

ดังนั้น หากมีการที่ทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย คณะกรรมการธนาคารอาจต้อรับผิดตาม พรทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539โดย กฟก.มีความเห็นในกรณีดังกล่าว ดังนี้

 

มาแบบยิ่งใหญ่

คำตอบ ที่ 3 โดย “กฟก. “ ขอเสนอให้เกษตรกรรับภาระหนี้งินต้นร้อยละ 50 ตามจำนวนเงินที่ กฟก. ชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ เงินต้นที่เหลืออีกร้อยละ 50 และดอกเบี้ยขอรับการสนันสนุนจากรัฐบาลหรือสถาบันเจ้าหนี้ กรณีเงินต้นที่เหลือร้อยละ 50 และดอกเบี้ยขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือเจ้าหนี้ กรณีเงินต้นที่เหลือร้อยละ 50 และดอกเบี้ยขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลหรือสถาบันเจ้าหนี้ กรณีเงินต้นที่เหลือร้อยละ 50

 

หากเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถสนับสนุนลดให้เกษตรกรได้เนื่องจากปัญหา พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมินของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 สนอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินชดเชยเงินต้นที่เหลือร้อยละ 50 ให้สถาบันเจ้าหนี้ทั้งจำนวน ส่วนดอกเบี้ย กฟก.เสนอขอรับการสนับสนุนจากสถาบันเจ้าหนี้ยกให้เกษตรกรทั้งจำนวน

ทวงคำสัญญา จากรัฐบาล

 

อย่างไรก็ตามกรณีจะมีปัญหาตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กฟก. เสนอขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินชดเชยให้เจ้าหนี้เฉพาะส่วนที่จะเป็นปัญหาเท่านั้น เช่น ชดเชยเฉพาะดอกเบี้ยที่เจ้าหนี้รับรู้รายได้แล้ว เพื่อแบ่งเบาภาระให้เกษตรกรที่มีปัญหาหนี้สินยืดเยื้อยาวนาน และเป็นการลดปัญหาหนี้ NPL ให้สถาบันเจ้าหนี้อีกทางหนึ่งเบื้องต้นมีแนวทางการดำเนินการดังนี้การสนับสนุนด้วยการลดเงินต้นหรือดอกเบี้ยให้เกษตรกรของ ธ.ก.ส.ตามที่ตรวจสอบ

 

เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและให้ความเห็นชอบโครงการฯแล้ว คณะกรรมการส. มีอำนาจในการพิจารณาให้การสนับสนุนการลดเงินต้นหรือดอกเบี้ยให้เกษตรกรได้ ภายกฎหมาย ระเบียบ ประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย

 

มาคับคั่ง

 

3.2.2 แนวปฏิบัติในการตัดหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 262(พ.ศ.2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ เพิ่มเติมเป็น 6 อัฏฐแห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ให้เกษตรกรสมาชิกได้รับสิทธิตามกฎกระทรวงดังกล่าว

 

 

3.2.3 การแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิก กก. เคยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ถือปฏิบัติด้วยการลดเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยทั้งจำนวนให้เกษตรกร ซึ่ง ธ.ก.ส. และ กฟก. ได้ร่วมดำเนินการจนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการแล้ว แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนตกค้างยังไม่สามารถดำเนินการได้ทัน

บรรยากาศ

 

ประเด็นคำถามข้อที่ 4 ปัจจุบันธนาคารเจ้าหนี้แต่ละแห่งมีแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรสมาชิก กฟก.ซึ่ง กฟก. อาจพิจารณาใช้ช่องทางที่ธนาคารเจ้าหนี้ทั้ง 4 แห่ง มีการดำเนินการอยู่แล้ว

 

คำตอบประเด็นที่ 4 โดย กฟก.มีความเห็นในกรณีดังกล่าว ดังนี้

 

4.1 เกษตรกรสมาชิก กฟก.ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยกว่า 58 ปี มีการทำสัญญากับสถาบันเจ้าหนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) หรือเป็นหนี้สถาบันการเงินมานานแล้ว ไม่สามารถชำระหนี้เพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้สินหรือไถ่ถอนจำนองหลักประกันได้ เนื่องจากปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ราคาปัจจัยการผลิตสูง อุทกภัย วาตะภัย โรคพืช โรคสัตว์ ฯลฯ เป็นวงจรต่อเนื่องและเป็นระยะ

 

เปิดหนังสือ ชี้แจง ซื้อหนี้เกษตรกร กว่า 9 พันล้าน จาก 4 แบงค์รัฐ

ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการพักดอกเบี้ย ทำสัญญาใหม่ ทำสัญญากู้ใหม่เพื่อชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยเดิม (Refinance)  กับเจ้าหนี้เดิมหรือเปลี่ยนเจ้าหนี้ใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ NPLหมุนเวียนมาทำการเกษตรต่อไปได้ จนท้ายที่สุดร้ายได้จากภาคเกษตรีมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้เพราะจำนวนเงินต้นที่เพิ่มขึ้นทำให้รายได้จากการขายผลผลิตไม่เพียงพอชำระหนี้คืน

 

การแก้ไขปัญหาหนี้ที่เจ้าหนี้แต่ละแห่งมีแนวทางปัจจุบันมีแนวโน้มที่เกษตรกรไม่ยอมรับเพราะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่นโครงการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างยั่งยืน(ลูกหนี้ ธ.ก.ส.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ระยะเวลาโครงการ 3 ปี (1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2564)

 

ปักหลัก รอฟังข่าว

ตามโครงการกำหนดเงื่อนไขให้แบ่งหนี้เงินต้นออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งร้อยละ 50 ให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ผ่อนชำระกับเจ้าหนี้เดิมคือ ธ.ก.ส. ระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี อัตราดอกเบี้ย MRR - 3 ส่วนที่สองเงินต้นที่เหลือร้อยละ 50 และดอกเบี้ยให้พักไว้ หากผ่อนชำระส่วนที่หนึ่งหมดแล้ว ธ.ก.ส.จะพิจารณายกดอกเบี้ยที่พักไว้ให้ และทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เงินต้นที่เหลืออีกร้อยละ 50 ในเงื่อนไขผ่อนปรน ตามโครงการฯมีสมาชิก

 

ทวงสัญญา

กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกหนี้ ธ.ก.ส.ที่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการ จำนวน 36,506 ราย มีเกษตรกรแจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการเพียง 4,292 คน แต่ในทางปฏิบัติยังไม่มีเกษตรกรไปทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ ธ.ก.ส. ทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการได้และสิ้นสุดอายุแล้ว ดังนั้น เครื่องมือและแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ของสถาบันเจ้าหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้ของสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ที่มีปัญหาและผ่านการแก้ไขยืดเยื้อมาแล้ว

 

ทั้งนี้ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรปัจจุบันการแก้ไขปัญหาหนี้ตามโครงการๆ ด้วยการที่ กพก.ชำระหนี้แทน กำหนดให้เกษตรกรสมาชิกที่ชำระหนี้แทนหรือจะได้รับสิทธิในการชำระหนี้แทนต้องจัดทำแบบแสดงความประสงค์เข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของเกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการจัดการหนี้แล้ว

 

รวมพล คนเป็นหนี้

หรือเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการจัดการหนี้ (แบบ ผค.1/4) ทุกรายและองค์กรเกษตรกรที่เกษตรกรสมาชิกสังกัดต้องลงนามรับรองแผนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของเกษตรกรสมาชิกและรับผิดชอบในการกู้ยืมเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ดังนั้น การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ตามโครงการฯ นี้ จะเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ที่มีแนวโน้มประสบความสำเร็จอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เกษตรกรไม่กลับไปเป็นหนี้ NPL อีก และโอกาสจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหากได้รับการสนับสนุนในการลดภาระเงินต้นและดอกเบี้ยบางส่วนจากสถาบันเจ้าหนี้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

 

 

คำถาม ที่ 5  ในการดำเนินโครงการฯ ควรมีการเสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนนอกจากนี้ รายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ที่ระบุว่า "กรณีตรวจสอบภายหลังพบว่จำนวนรายและกรอบวงเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ขอความเห็นชอบ ให้สำนักงาน กฟก.เสนอคณะกรรมการ กฟก.เพื่อให้ความเห็นชอบดำเนินการได้ตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว" ยังไม่ความชัดเจน รวมทั้ง กฟก.ควรต้องคำนึงถึงขอบเขตอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย

 

ทนแบกหนี้ไม่ไหว

 

คำตอบ ข้อที่ 5  โดย กฟก.มีความเห็นในกรณีดังกล่าว ดังนี้

 

กฟก.จะเสนอเปลี่ยนแปลงเนื้อหาโครงการฯ เฉพาะกรณีเกษตรกรที่ขาดคุณสมบัติหรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ และจะเสนอข้อมูลและรายชื่อเกษตรกรที่มีคุณสมบัติ ถูกต้อง ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในโครงการ แทนเกษตรกรที่ขาดคุณสมบัติ ภายใต้กรอบงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ และมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนคือเกษตรกรสมาชิกต้องเป็นหนี้ผิดนัดชำระ (NPL) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 การคงข้อความไว้ให้สำนักงานและคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อให้ความเห็นชอบดำเนินการได้ตามหลักการที่ ครม.เห็นชอบแล้ว

 

ม็อบ

เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวที่ตกหล่น รวมทั้งที่เสีบชีวิตและมีการเปลี่ยนแปลงทายาทผู้รับสภาพหนี้ ได้รับสิทธิตามโครงการ ประกอบกับ กฟก.มีแนวปฏิบัติในกรณีเทียบเคียงตามมติ ครม.วันที่ 28 มกราคม 2552 อนุมัติและเห็นชอบให้ใช้งบประมาณ จำนวน 607 ล้านบาทเศษ ซื้อทรัพย์ NPA คืนจากเกษตรกร จำนวน 1,187 ราย ได้ ต่อมาเมื่อวันที่10 เมษายน 2555 ครม.มีมติเพิ่มเติมเห็นชอบให้นำเงินที่อนุมัติให้ซื้อทรัพย์ NPA ไปซื้อหนี้ NPL คงเหลือจากหนี้ NPA ได้ และกรณีมีรายชื่อเกษตรกรที่เป็นหนี้ NPA เพิ่มเติมให้ขออนุมัติต่อคณะกรรมการ กฟก.เพื่อซื้อทรัพย์คืนและรายงานให้ ครม.ทราบต่อไป

 

ชรินทร์ ดวงดารา

 

นายชรินทร์ ดวงดารา ที่ปรึกษากลุ่มเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย (คนท.)  กล่าวว่า ครบรอบ 1 ปี ในการแก้ปัญหาหนี้สินไม่มีความคืบหน้าใดใดเลย ในการแก้หนี้จาก 4 ธนาคารรัฐ ซึ่งบอร์ดกรรมการฯ มีมติ ไปเรียบร้อยตั้งนานแล้ว แต่ยังไม่นำเข้า ครม. จึงเป็นที่มาของการมาม็อบในครั้งนี้

 

ยื่นหนังสือ

 

ด้าน นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล รองประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คนที่ 1  และในฐานะแกนนำ สหพันธุ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย ( สกท.)  กล่าวว่า จะอยู่ปักหลักจนกว่า จะเข้า ครม. ซึ่งทาง ดร.เสกสกล อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ “แรมโบ้อีสาน”  แจ้งว่า นายกรัฐมนตรี รับปากแล้วว่า จะนำเข้า ครม.  ในวันที่ 22 ก.พ. นี้ ซึ่งไม่เชื่อใจว่าจะเข้าจริง ก็จะอยู่ปักหลักจนกว่าจะผ่าน ครม. ตอนนี้ม็อบมาเต็มแล้วที่หน้าแบงค์ชาติ  ที่สำคัญสถานะ สำนักงานกองทุนฯ แย่มาก ไม่มีเงินที่จะซื้อหนี้เกษตรกร แค่สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ ไม่มีเงินจ่ายพนักงานแล้ว