เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์จึงเป็นเหมือนด่านแรกในการดูแลตัวเองที่ตรงจุด โดยปัจจุบันคนไทยหันมาศึกษาและสนใจสูตรอาหาร “วีแกน” มากขึ้น ซึ่งเป็นการเลือกรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ นอกจากผักและผลไม้ที่เลือกรับประทานได้แล้ว โปรตีนที่ได้จากพืช นั้นยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงต่อร่างกาย โดยมีเกร็ดความรู้ 8 เหตุผลที่ควรทานโปรตีนจากพืช มาบอกต่อ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง และได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ
1.เพราะวัตถุดิบที่เลือกทานอย่างพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลือง และถั่วลันเตา ให้ปริมาณโปรตีนเข้มข้นสูง ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดเทียบเท่าโปรตีนจากไข่ขาวและนม ซึ่งเป็นโปรตีนจากสัตว์ โดยการทานโปรตีนจากพืชในชนิดไอโซเลทเป็นโปรตีนบริสุทธิ์ที่แยกไขมันและน้ำตาลออก แตกต่างจากน้ำเต้าหู้ทั่วไปทำให้มีโปรตีนเข้มข้นสูง ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถดูดซึมและย่อยง่าย ซึ่งระบบการย่อยอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกาย เพื่อให้อวัยวะต่างๆ ภายในระบบย่อยอาหารทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน ควรคำนึงถึงการทานอาหารที่ช่วยให้ระบบย่อยอาหารไม่ทำงานหนักเกินไป ทำให้คนรักสุขภาพหันมาเลือกทานโปรตีนจากพืชแทนที่จะทานโปรตีนจากสัตว์ที่ย่อยยากเพราะเมื่อยิ่งอายุมากขึ้นอาจกระตุ้นให้เกิดมะเร็งลำไส้ได้
3. โปรตีนจากพืชมีไขมันน้อย ใยอาหารสูง จึงมีแคลอรี่น้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์
4. ไขมันดีมากกว่า
5. ไม่มีคอเลสเตอรอล
6. อุดมด้วยคุณค่าของพฤกษเคมี ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบในพืช มีส่วนช่วยหลายด้านทั้งการช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
7. มีงานวิจัยว่าโปรตีนจากพืชมีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้
8. สามารถทานได้ทุกกลุ่ม ทุกวัยทั้งเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์
การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ ยิ่ง “โปรตีน” เป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ยิ่งควรใส่ใจโดยโปรตีนช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อีกทั้งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ แต่หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยข้อมูลจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเผยว่าการขาดโปรตีนจะทำให้ทั้งร่างกายอ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ ผิวหนังไม่แข็งแรง ระบบฮอร์โมน เอนไซม์ทำงานผิดปกติ เสี่ยงที่จะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ที่มา: กิฟฟารีน
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศราฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,765 วันที่ 13 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2565