KEY
POINTS
ความต้องการ "ลิเทียม" ทั่วโลก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายในปี 2568 และจะต้องการมากกว่า 2 ล้านตันภายในปี 2573 เนื่องจากความต้องการของ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เพราะเรากำลังอยู่ในโลกที่เปลี่ยนผ่านจากการใช้รถยนต์สันดาปไปสู่ยานยนต์ที่ใช้พลังรูปแบบใหม่ โดยการจะขับเคลื่อนได้ก็ต้องมีหน่วยบรรจุพลังงานขนาดใหญ่คอยจ่ายพลังงานให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งไปตามท้องถนนได้นั่นก็คือ "แบตเตอรี่"
ต้นทุนการผลิตของรถไฟฟ้าหนึ่งคันมากกว่า 40-60% เป็นราคาของแบตเตอรี่ โดยมีลิเทียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการสูงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาแร่ที่เป็นวัตถุดิบอย่างลิเทียม ก็มีราคาสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด
ลิเทียมนอกจากจะป็นเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่นิยมที่สุดในปัจจุบันที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV ก็ยังนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ อย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิทัล หรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก
มาถึงตรงนี้น่าจะพอเห็นภาพเเล้วว่า "ลิเธียม" เหมือนว่าจะยังคงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น เมื่อประเทศไหนที่มีแร่ลิเทียมจำนวนมาก ก็ต้องมีความได้เปรียบในการดึงดูดเม็ดเงินการลงทุน ให้บริษัทเข้ามาตั้งฐานการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อสนับสนุน Ecosystem ของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องไปด้วย
เมื่อพูดถึงปริมาณการสำรองลิเทียมของประเทศ มาดูว่าประเทศไหนมีลิเที่ยมมากที่สุดในโลก จากการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ ในปี 2564
ล่าสุด ไทยก็มีลุ้นเช่นกัน จากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ ระบุว่า ไทยสำรวจพบแร่ลิเทียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน (Million Tonne: Mt) ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบแร่ดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา เป็นที่เรียบร้อย
โดยมีการสำรวจพบแหล่งแร่ลิเทียมที่มีศักยภาพถึง 2 แหล่ง ในจังหวัดพังงา ซึ่งก็คือ
แหล่งเรืองเกียรติ เเละแหล่งบางอีตุ้ม นอกจากนี้ ไทยยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียมในพื้นที่ภาคอีสาน อีกจำนวนมาก ซึ่งแร่ทั้ง 2 ชนิดนี้ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญ สำหรับการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
ข้อมูลจากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐ (USGS) ปี 2565 ระบุว่า 6 ประเทศผู้ผลิตลิเทียมรายใหญ่ที่สุดในโลก มีดังต่อไปนี้
1. ออสเตรเลีย 61,000 ตัน
2. ชิลี 39,000 ตัน
3. จีน 19,000 ตัน
4. อาร์เจนตินา 6,200 ตัน
5. บราซิล 2,200 ตัน
6. ซิมบับเว 800 ตัน
จะเห็นได้ว่า เฉพาะออสเตรเลียและชิลีครองสัดส่วนการผลิตลิเทียมในตลาดโลกรวมกันเกือบ 77% ในปี 2565