นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคมที่ยังคงเป็นสนิมของประเทศไทย นั่นคือ ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แม้ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย ขึ้นมาหนึ่งชุด ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมือวันที่ 22 ตุลาคม 2562
โดยคณะกรรมการระดับชาติชุดนี้ มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนปฏิบัติการตามแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย และนำเสนอสถานการณ์และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นประจำทุกปี หรือเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน
ล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครั้งล่าสุด ก็ได้รับทราบรายงานสถานการณ์เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีข้อมูลรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
1. สถานการณ์การใช้แรงงานเด็กทั่วโลก
องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้จัดทำรายงานประมาณการและแนวโน้มการใช้แรงงานเด็กทั่วโลก โดยการสำรวจประจำปี 2563 พบว่า
ทั้งนี้ จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้เด็กที่ไม่สามารถเข้าสู่การศึกษามีความเสี่ยงที่จะถูกผลักให้เป็นแรงงานเด็ก รวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอาจทำให้เด็กที่เป็นแรงงานเด็กอยู่แล้วมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวขึ้น และอาจถูกบังคับให้ทำงานในรูปแบบที่เลวร้ายเนื่องจากการตกงานและการสูญเสียรายได้ของครอบครัวในกลุ่มที่เปราะบาง
2. สถานการณ์เด็กทำงานในประเทศไทย
จากการประมวลผลข้อมูลโครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 ปี 2564 พบว่า เด็กอายุ 15-17 ปี มีจำนวน 2.515 ล้านคน เป็นเด็กทำงาน 165,689 คน โดยเด็กส่วนใหญ่จะทำงานอย่างเดียวโดยไม่ได้เรียนหนังสือและทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม กิจการขายส่ง ขายปลีก กิจการโรงแรม และบริการอาหาร การผลิตซ่อมยานยนต์ และการก่อสร้าง ตามลำดับ
3. สถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย
ในงบปีประมาณ พ.ศ. 2564 มีการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย จำนวน 3,222 คน แยกเป็น
4. ผลการประเมินจัดระดับสถานการณ์แรงงานเด็ก
โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา ตามรายงานประจำปี 2563 ประเทศไทยมีผลการประเมินจัดระดับความก้าวหน้าในการดำเนินการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดในระดับปานกลาง ซึ่งในรายงานระบุว่าเด็กในประเทศไทยยังคงเกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด และการแสวงประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์ ซึ่งบางครั้งเป็นผลมาจากการค้ามนุษย์
รวมถึงมีกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี เข้าร่วมการแข่งขันมวยไทยซึ่งถือเป็นงานอันตราย ถึงแม้ว่าประเทศไทยพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ก็ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่แรงงานเด็กนอกระบบการจ้างงาน รวมถึงจำนวนพนักงานตรวจแรงงานและทรัพยากรที่ไม่เพียงพอต่อการตรวจสถานที่ทำงานซึ่งอยู่ห่างไกล โดยเฉพาะในภาคการจ้างงานนอกระบบ