กฎหมายที่ให้สิทธิบุคคลทุกเพศสภาพ สามารถสมรส และได้รับสิทธิเช่นเดียวกันกับคู่สมรสชายหญิงได้นั้น เป็นสิ่งที่ในประเทศไทยได้มีความพยายามผลักดันกันมาหลายปี จนในที่สุดมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ได้เห็นชอบ "ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม" และเตรียมเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาในวันที่ 21 ธันวาคม 2566
ซึ่งในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 จะมีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมเข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 3 ร่างด้วยกัน ได้แก่
โดยทั้ง 3 ร่างมีหลักการเดียวกันคือ การสมรสที่มีความเท่าเทียม การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เปลี่ยนจากการสมรสระหว่างชาย-หญิง เป็นการสมรสระหว่างบุคคล 2 คน แต่มีรายละเอียดบางประการ ที่แตกต่างกันออกไป
ประเด็นการหมั้น
ประเด็นอายุการสมรส
ประเด็นการระบุเพศ
ประเด็นสถานะหลังจดทะเบียนสมรส
ประเด็นบทเฉพาะกาล และการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ
ประเด็นระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ประเด็นบทบัญญัติให้หน่วยงานเสนอแก้ไขกฎหมาย อื่นๆ
ประเด็นการแก้ไขกฎหมาย ป.พ.พ.เกี่ยวกับบิดามาดา กับบุตร
ประเด็นผู้รักษาการตาม ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม
ทั้งนี้ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั้ง 3 ฉบับ เป็นการปรับปรุงแก้ไข ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้สิทธิแก่ทุกเพศสามารถเข้าถึงการสมรสได้ โดย ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมฉบับภาคประชาชน เป็นการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกิน 10,000 ชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมาย และได้บรรจุวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันที่ 20 ธันวาคม 2566
ส่วนร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับเสนอโดย สส. พรรคก้าวไกล ได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 โดยเป็นฉบับเดียวกันกับที่เคยเสนอสภาชุดก่อนที่มาจากการเลือกตั้งในปี 2562 และร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล โดยกระทรวงยุติธรรม ได้มีมติครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบาย ที่นายเศรษฐา ได้แถลงต่อรัฐสภา
ที่มา : ภาคีสีรุ้ง , ทำเนียบรัฐบาล , ilaw