ประเทศไทยได้รัฐบาลใหม่ชุดใหม่ แต่กฎหมายค้างท่อสภาชุดก่อน หนึ่งกฎหมายที่สังคมให้ความสนใจก็คือ กฎหมายสมรสเท่าเทียม ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรัฐมนตรี เตรียมนำเรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียม เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 31 ตุลาคม 2566 นี้ เพื่อพิจารณา และจะบรรจุเป็นวาระแรกที่จะเข้าในการเปิดสมัยประชุมสภาฯ ต่อไป ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นประมาณต้นเดือนธันวาคม 2566
"ฐานเศรษฐกิจ" ชวนสำรวจไทม์ไลน์เส้นทางผลักดันกฎหมายการสมรสของคู่รักเพศเดียวกันทั่วโลก จาก Equaldex ซึ่งเป็นฐานความรู้การทำงานร่วมกันสำหรับขบวนการ LGBT ในการรวบรวมกฎหมายทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของ LGBT เพื่อให้มีมุมมองที่ครอบคลุมและทั่วโลกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของ LGBT
ปัจจุบันมีประเทศ/ดินแดนที่มี การแต่งงานของเพศเดียวกันนั้นถูกกฎหมายใน 35ประเทศ เท่านั้น โดยประเทศแรกที่ผ่านกฎหมายรับรองการแต่งงานของคู่รักเพศเดียวกัน ก็คือเนเธอร์แลนด์ มีผลในวันที่ 1 เมษายน 2001 และประเทศล่าสุดที่การแต่งงานของเพศเดียวกันถือเป็นเรื่องถูกกฎหมายคือ เนปาล ศาลสูงสุดเนปาลประกาศรับรองสมรสเท่าเทียม ทำให้เนปาลกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียใต้ และประเทศที่สองในเอเชียตามหลัง ไต้หวันเมื่อปี 2019 ที่รับรองสิทธิแก่คู่สมรสเพศเดียวกันตามกฎหมาย
การผ่านกฎหมายโดยรัฐสภา
19 ประเทศ
การผ่านกฎหมายโดยคำวินิจฉัยของศาล
13 ประเทศ
การลงประชามติ
3 ประเทศ
ประเทศไทยกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม
คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาไปแล้วเมื่อ 11-12 กันยายน 2566 พบว่า ในตอนหนึ่งของคำแถลงดังกล่าว ระบุว่า "รัฐบาลจะผลักดันให้มีกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ" ก็ต้องจับตากันต่อไปว่าการผลักดันกฎหมายนี้เพื่อพิจารณา และจะบรรจุเป็นวาระแรกที่จะเข้าในการเปิดสมัยประชุมสภาฯ ต่อไป นั้นจะเป็นอย่างไร
ที่มาข้อมูล