หลายเมืองใหญ่ทั่วโลก ต่างเผชิญกับ ปัญหา PM 2.5 อยู่แทบทุกปี แต่ถ้าย้อนไปเมื่อปี 2561 และ 2562 กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเผชิญกับปัญหา PM 2.5 ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่ ปี 2566 ก็เช่นกัน
ล่าสุด มีคำเตือนค่าฝุ่น PM2.5 กลับมาพุ่งสูง กทม.จึงเตรียมรับมือ เพราะ ค่าฝุ่น PM2.5 จะเกินมาตรฐานอีกครั้งในวันที่ 27 ม.ค.66 และจะเกิดพื้นที่สีส้มทั่วกรุงเทพฯอีกครั้งในวันที่ 1 ก.พ.66 ซึ่งปัญหานี้จะอยู่ไปจนถึงเดือนเมษายน ด้านอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ปีนี้มีความแห้งแล้งมากกว่าปีที่ผ่านมา นี่เป็นปัจจัยส่งเสริมทำให้ PM2.5 อาจจะรุนแรงขึ้น ซึ่งจากสถิติที่ผ่านพบว่าเดือนที่มักจะมีความรุนแรงของ PM2.5 มากที่สุดคือเดือนกุมภาพันธ์
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ช่วงวันที่ 31 ม.ค.66 ถึง 1 ก.พ.66 สถานการณ์มีโอกาสรุนแรงเหมือนวันที่ 24 ม.ค.66 ซึ่งไม่สามารถควบคุมปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาได้ แต่สิ่งที่สามารถควบคุมได้คือ แหล่งกำเนิด เช่น การจราจร ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในพื้นที่กรุงเทพ โรงงานอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน การเผาในที่โล่ง เราจึงได้เห็นการออกมาร่วมด้วยช่วยกันควบคุม โดยมีบริษัทเอกชนตอบรับ Work From Home ลดฝุ่น 11 บริษัท
แน่นอนว่าหลายประเทศทั่วโลกก็ประสบปัญหาฝุ่นพิษไม่แพ้กัน ฐานเศรษฐกิจ พาไปดูบทเรียนและมาตรการรับมือจากทั่วโลกที่น่าสนใจ
จีน เป็นประเทศที่ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 2556 ที่เกิดวิกฤติฝุ่นพิษในจีนสูงเกินมาตรฐานของ WHO ถึง 40 เท่า สภาแห่งรัฐของจีน ได้ประกาศแผนป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่เคยมีมา ผลของการใช้มาตรการเหล่านี้ทำให้ความเข้มข้นของ 5 ในปี 2560 ลดลงถึง 25% ถือเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหามลพิษฝุ่น
อังกฤษ มีปัญหาในการเผาไร่และนาหลังฤดูเก็บเกี่ยว อังกฤษ รัฐบาลเพิ่งประกาศยุทธศาสตร์อากาศสะอาด (Clean Air Strategy) เมื่อปี 2561 กำหนดเป้าหมายใหม่ที่ชัดเจนเพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ปัจจุบันเมืองกว่า 40 แห่งในสหราชอาณาจักร มีค่าพีเอ็ม 2.5 ในระดับเดียวกับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด หรือสูงกว่า รัฐบาลอังกฤษตั้งเป้าว่าจะเป็น แกนนำโลก ในการควบคุม PM 2.5
เกาหลีใต้ ใช้มาตรการฉุกเฉินแก้ปัญหามลพิษในกรุงโซล จัดให้บริการขนส่งมวลชนฟรีในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อช่วยลดปริมาณการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การจำกัดการใช้รถยนต์รุ่นเก่า การจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลของลูกจ้างรัฐ การปิดลานจอดรถตามหน่วยงานรัฐ 360 แห่ง และการลดการก่อสร้างของโครงการที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ
ปี 2018 กระทรวงสิ่งแวดล้อมเกาหลีใต้ประกาศใช้โครงการนำร่อง ใช้โดรนติดกล้องบินตรวจตราพื้นที่แถบชานกรุงโซล ตรวจสอบว่าโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีการลักลอบปล่อยควันเสียที่มาของฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือไม่
ประเทศไทย ที่ผ่านมา รัฐบาลมีการกำหนดค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในปี 2538, 2547, 2550, 2552 และ 2553 แต่ก็มีการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็ถูกวิพากวิจารณ์ว่ายังไม่มีรูปธรรมจากรัฐบาล นอกจากการแก้ไขปัญหาที่ถูกมองว่าเป็นเพียงปลายเหตุ เช่น ฉีดน้ำขึ้นไปในอากาศหรือฉีดน้ำรดถนน ทำฝนเทียมลดฝุ่น บังคับไม่ให้จุดไฟเผาไร่ข้าวโพดและไร่อ้อยในพื้นที่ต่างๆ รณรงค์ให้ประชาชนงดจุดธูป รณรงค์ให้งดรับประทานหมูกระทะและการตรวจจับควันดำจากรถยนต์
ปี 2566 รัฐบาลเตรียมแผน “รับมือฝุ่น PM2.5” ด้วยหลักการ 3 พื้นที่ คือ พื้นที่เมือง พื้นที่ป่า และพื้นที่เกษตรกรรม
พื้นที่เมือง : มีแหล่งกำเนิดมาจากการจราจรและโรงงานอุตสาหกรรม
พื้นที่เกษตร : มีแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากการเผาเศษวัสดุการเกษตร
พื้นที่ป่า : แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญมาจากไฟป่า
7 มาตรการ