กรณีตรวจพบวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่หายไปจากโรงไฟฟ้าใน อ.ศรีมหาโพธิ ในโรงถลุงเหล็กเขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในขณะนี้ โดยประชาชนมีความกังวลถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากข้อมูลพบว่า ซีเซียม 137 (Cs-137) เป็นอันตราย หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือพันธุกรรม หรือ เป็นสารก่อมะเร็งได้
โดยล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน (EOC) ติดตามสถานการณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ซีเซียม 137 (Cs-137) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุ ซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชัน ที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ที่ใช้เป็นตัวชี้วัดการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีเมื่อเกิดการรั่ว เช่น อุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เนื่องจากมี % Yield สูงกว่า fission products ตัวอื่นๆ ทำให้ซีเซียมกระจายอยู่ทั้งในดิน น้ำ และเข้าสู่วงจรอาหาร อาหารที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ผัก ผลไม้ นม อาหารทะเล และอาหารที่แปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร
ซีเซียม 137 เป็นสารกัมนัมตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับตลอไรด์ กลายเป็นผงผลึก ปล่อยรังสีเบต้าและแกรมม่าใช้ประโยชน์ในโรงงานนอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็งด้ว
ประโยชน์ของซีเซียม 137
นำมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความชื้น และความหนาแน่น ที่ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง, เครื่องวัดระดับ เพื่อตรวจวัดการไหลของของเหลว ในท่อ และแทงก์, เครื่องวัดความหนา สำหรับวัดความหนาของแผ่นโลหะ กระดาษ ฟิล์ม , เครื่องหยั่งธรณี ในอุตสาหกรรมขุดเจาะ
ช่วยบอกลักษณะเฉพาะของชั้นหินต่าง ๆ เเละยังนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ใช้บำบัดมะเร็ง เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมา ฯลฯ