สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) sacit เปิดเผยว่า ได้ดำเนินส่งเสริมต่อยอด และยกระดับผลงานศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่นไทย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักออกแบบ และกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม รวมถึงนักออกแบบรุ่นใหม่ ผ่านโครงการ I.CCA. (International Craft Creation Concept Award 2023) ภายใต้แนวคิด Heritage Fusion: หลอมรวมรากศิลปะอันล้ำค่า
สำหรับปี 66 sacit มีโจทย์ให้สร้างสรรค์ผลงานศิลปหัตถกรรม ประกอบด้วย เครื่องไม้ เครื่องสาน เครื่องทอ(ผ้า) เครื่องดิน เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ เครื่องหิน รวมทั้ง สามารถนำเสนอเป็นการผสมผสานหลากหลายวัสดุ และเทคนิคแบบไม่เจอะจงบนผลงานศิลปหัตถกรรม
โดยจะต้องสร้างสรรค์ผลงานที่มีกระบวนการ หรือเทคนิคเชิงช่างศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมผสมผสานกับเทคโนโลยี หรือวัสดุใหม่ หรือการพัฒนาลวดลาย รูปแบบ ให้เกิดเป็นผลงานนวัตศิลป์ร่วมสมัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ใช้สอย สามารถเข้าถึงคนยุคปัจจุบัน รวมถึงการนำเรื่องราวจากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาถ่ายทอดสู่คนรุ่นใหม่ให้เกิดแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ฝีมือผลงานศิลปหัตถกรรมไทย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถส่งแนวคิด และภาพร่าง (Skatch) ผลงานที่สร้างสรรค์ผ่านการวาดด้วยมือ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเพื่อการใช้งาน หรือการตกแต่ง (Decorative, Fashion, Lifestyle Products, Jewelry, Textiles, Art Piece, Innovation ฯลฯ)
โดยจัดวางในรูปแบบ การนำเสนอ (Presentation)/ ศิลปะการจัดวาง (Installation Art) เพื่อให้งานมีความน่าสนใจ หรือแสดงออกในเชิงแนวคิด ติดตั้งผลงานบนพื้นที่ขนาดรวมไม่เกิน 2x2x3 เมตร (กว้างxยาวxสูง) ซึ่งสามารถนำเสนอผลงานได้ตามความเหมาะสม จำนวน 1 ผลงาน หรือ มากกว่า 1 ผลงาน (Collection)
ซึ่งจัดให้มีลักษณะเหมือน หรือแตกต่างกันเพื่อจัดวางเป็นกลุ่มก็ได้ โดยผลงานจะต้องสื่อถึงแนวคิด Heritage Fusion : หลอมรวมรากศิลปะอันล้ำค่า โดย sacit จะดำเนินการจัดประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ ฯ ให้แก่ผู้สมัครเข้าร่วมโครง ฯ ผ่านระบบ Zoom ในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 และ ตัดสินรอบแรก ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 นี้
"sacit เชิญชวนนักออกแบบ และกลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมเข้าร่วมโครงการประกวด I.CCA.ตั้งแต่วันนี้–25 มิ.ย.66"