วันที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 11.00 น.กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฯฉบับที่ 13 เรื่อง พายุ “ซูลิก” เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (20 ก.ย. 67) พายุดีเปรสชัน “ซูลิก” ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่บริเวณอำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม หรือที่ละติจูด 17.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.5 องศาตะวันออกมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในช่วงบ่ายวันนี้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากมีดังนี้
วันที่ 20 กันยายน 2567
- ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์
- ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา
- ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้:จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
วันที่ 21 กันยายน 2567
- ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา
- ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้:จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
วันที่ 22-23 กันยายน 2567
- ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัยกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
- ภาคกลาง:จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรีพระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
- ภาคใต้:จังหวัดระนอง และพังงา
สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนอง ส่วนเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงกรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.
ผู้ว่าฯนครพนมเตือนปชช.เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำจนถึงวันที่ 23 ก.ย.นี้
ด้านนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดนครพนมยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง เป็นบริเวณกว้างครอบคลุมเกือบทั้งจังหวัด จึงขอให้พี่น้องประชาชนเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป จนถึงวันที่ 23 กันยายน 2567
"หากพื้นที่ใดได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว ให้รายงานสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครพนมทราบโดยเร็ว ทางสายด่วน 1784 หรือ ทางโทรศัพท์หมายเลข 0 4251 1025 และรายงานสถานการณ์/การให้ความช่วยเหลือทุกระยะ"
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนพื้นที่เสี่ยง 70 จังหวัดทั่วไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้ง 70 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และ กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ น้ำล้นตลิ่ง และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 19 – 25 ก.ย. 2567 โดยพื้นที่แจ้งเตือนสถานการณ์ระหว่างวันที่ 19 - 25 กันยายน 2567 ประกอบไปด้วย
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม
ภาคเหนือ 17 จังหวัด
- แม่ฮ่องสอน (ทุกอำเภอ)
- เชียงใหม่ (อ.แม่อาย ฝาง เชียงดาว จอมทอง ฮอด)
- เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย เชียงของ เชียงแสน แม่จัน แม่ฟ้าหลวง เทิง พญาเม็งราย เวียงแก่น ขุนตาล เวียงชัย แม่ลาว)
- ลำพูน (อ.เมืองฯ ลี้)
- ลำปาง (อ.วังเหนือ งาว)
- พะเยา (อ.เมืองฯ แม่ใจ ภูซาง ปง เชียงคำ จุน ภูกามยาว เชียงม่วน)
- แพร่ (อ.เมืองฯ วังชิ้น สูงเม่น เด่นชัย สอง ลอง)
- น่าน (อ.เมืองฯ ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ ปัว บ่อเกลือ ท่าวังผา เชียงกลาง สองแคว แม่จริม ภูเพียง เวียงสา)
- อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ ลับแล พิชัย ทองแสนขัน ท่าปลา น้ำปาด)
- ตาก (อ.เมืองฯ ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ อุ้มผาง)
- สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง กงไกรลาศ)
- กำแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง คลองลาน โกสัมพีนคร พรานกระต่าย)
- พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ นครไทย วัดโบสถ์ วังทอง เนินมะปราง)
- พิจิตร (อ.โพธิ์ประทับช้าง)
- เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ หนองไผ่ หล่มเก่า หล่มสัก)
- นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ แม่เปิน)
- อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด
- เลย (อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย ปากชม)
- หนองคาย (อ.เมืองฯ สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก)
- บึงกาฬ (อ.เมืองฯ ปากคาด บุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา บึงโขงหลง)
- หนองบัวลำภู (อ.สุวรรณคูหา)
- อุดรธานี (อ.เพ็ญ บ้านดุง หนองหาน นายูง น้ำโสม)
- สกลนคร (อ.อากาศอำนวย คำตากล้า พรรณนานิคม เมืองฯ ภูพาน สว่างแดนดิน)
- นครพนม (อ.เมืองฯ บ้านแพง ท่าอุเทน นาหว้า โพนสวรรค์ ปลาปาก ธาตุพนม ศรีสงคราม)
- ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ บ้านเขว้า จัตุรัส คอนสวรรค์ คอนสาร หนองบัวแดง)
- ขอนแก่น (อ.เมืองฯ ภูผาม่าน ชุมแพ บ้านไผ่)
- มหาสารคาม (อ.เมืองฯ โกสุมพิสัย)
- กาฬสินธุ์ (อ.เมืองฯ กมลาไสย ยางตลาด ร่องคำ)
- มุกดาหาร (อ.เมืองฯ นิคมคำสร้อย หว้านใหญ่ ดอนตาล)
- ร้อยเอ็ด (อ.เมืองฯ เสลภูมิ ทุ่งเขาหลวง เกษตรวิสัย)
- ยโสธร (อ.เมืองฯ ป่าติ้ว คำเขื่อนแก้ว)
- อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ หัวตะพาน ชานุมาน)
- นครราชสีมา (อ.เมืองฯ เมืองยาง ลำทะเมนชัย พิมาย ปากช่อง วังน้ำเขียว)
- บุรีรัมย์ (อ.เมืองฯ)
- สุรินทร์ (อ.เมืองฯ ชุมพลบุรี ท่าตูม รัตนบุรี จอมพระ สนม โนนนารายณ์ ศีขรภูมิ ปราสาท)
- ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ราษีไศล ยางชุมน้อย)
- อุบลราชธานี (อ.เมืองฯ ตาลสุม วารินชำราบ น้ำยืน พิบูลมังสาหาร น้ำขุ่น)
ภาคกลาง จำนวน 22 จังหวัด
- กาญจนบุรี (อ.สังขละบุรี ทองผาภูมิ)
- ราชบุรี (อ.ปากท่อ สวนผึ้ง)
- สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ ด่านช้าง)
- ชัยนาท (อ.หันคา)
- สิงห์บุรี (อ.อินทร์บุรี พรหมบุรี)
- อ่างทอง (อ.ป่าโมก วิเศษชัยชาญ)
- พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะหัน เสนา ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา บางปะอิน บางไทร)
- ลพบุรี (อ.ชัยบาดาล สระโบสถ์ ลำสนธิ)
- สระบุรี (อ.แก่งคอย)
- นครนายก (อ.เมืองฯ ปากพลี บ้านนา)
- ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ ประจันตคาม กบินทร์บุรี นาดี)
- สระแก้ว (อ.เมืองฯ อรัญประเทศ)
- ฉะเชิงเทรา (อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ)
- ชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา บางละมุง)
- ระยอง (อ.เมืองฯ ปลวกแดง นิคมพัฒนา แกลง บ้านค่าย)
- จันทบุรี (อ.เมืองฯ ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ สอยดาว โป่งน้ำร้อน มะขาม ขลุง)
- ตราด (ทุกอำเภอ) ประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพาน บางสะพานน้อย ปราณบุรี)
- ปทุมธานี (อ.ธัญบุรี คลองหลวง)
- นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด)
- นครปฐม (อ.เมืองฯ บางเลน)
- สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง)
- กรุงเทพมหานคร
ภาคใต้ จำนวน 11 จังหวัด
- ชุมพร (อ.ท่าแซะ พะโต๊ะ สวี)
- สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง เวียงสระ พนม บ้านตาขุน)
- นครศรีธรรมราช (อ.เมืองฯ เชียรใหญ่ ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่ พิปูน ช้างกลาง ลานสกา)
- พัทลุง (อ.เมืองฯ ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ ควนขนุน)
- สงขลา (อ.รัตภูมิ หาดใหญ่ สะบ้าย้อย นาหม่อม)
- ระนอง (ทุกอำเภอ)
- พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง)
- ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)
- กระบี่ (อ.เมืองฯ เขาพนม เหนือคลอง อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เกาะลันตา)
- ตรัง (อ.เมืองฯ ปะเหลียน นาโยง กันตัง สิเกา ย่านตาขาว ห้วยยอด รัษฎา วังวิเศษ)
- สตูล (อ.เมืองฯ ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า มะนัง)
พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
- จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน สุโขทัย ตาก อุทัยธานี เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี ระนอง ภูเก็ต ตรัง
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ
- แม่น้ำสาย (จ.เชียงราย อ.แม่สาย)
- แม่น้ำกก (จ.เชียงใหม่ อ.แม่อาย จ.เชียงราย อ.เมืองฯ เชียงแสน)
- แม่น้ำอิง (จ.พะเยา อ.เมืองฯ)
- แม่น้ำยม (จ.พิษณุโลก อ.บางระกำ)
- แม่น้ำป่าสัก (จ.เพชรบูรณ์ อ.หล่มสัก หนองไผ่)
- แม่น้ำเลย (จ.เลย อ.เชียงคาน)
- ห้วยหลวง (จ.อุดรธานี)
- แม่น้ำสงคราม (จ.อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครพนม)
- แม่น้ำจันทบุรี (จ.จันทบุรี อ.เมืองฯ มะขาม)
- แม่น้ำตราด (จ.ตราด อ.เมืองฯ เขาสมิง บ่อไร่)
พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
ภาคกลาง จำนวน 4 จังหวัด
- จังหวัดชลบุรี (อ.เมืองฯ ศรีราชา เกาะสีชัง บางละมุง สัตหีบ)
- ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง)
- จันทบุรี (อ.นายายอาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์ ขลุง)
- ตราด (อ.เมืองฯ แหลมงอบ คลองใหญ่ เกาะช้าง เกาะกูด)
ภาคใต้ จำนวน 6 จังหวัด
- ระนอง (อ.เมืองฯ สุขสำราญ กะเปอร์)
- พังงา (อ.เกาะยาว ตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี)
- ภูเก็ต (ทุกอำเภอ)
- กระบี่ (อ.เมืองฯ คลองท่อม เกาะลันตา เหนือคลอง อ่าวลึก)
- ตรัง (อ.กันตัง สิเกา ปะเหลียน หาดสำราญ)
- สตูล (อ.เมืองฯ ละงู ท่าแพ ทุ่งหว้า)