วันนี้ 23 ต.ค. ดร. ไตรรงค์ สุวรรณคีรี โพสต์บทความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว “ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี” ว่าด้วยเรื่อง #มายาททางการเมืองกับกฎหมายดูหมิ่นบุคคลในสถาบันกษัตริย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ฝากไว้ให้คิด ท่ามกลางบรรยากาศคุกรุ่นของการชุมนุมในเดือนตุลาคม
ร่างแก้ไขรธน.ฉบับ“ไอลอว์”เข้าสภากลางพ.ย.นี้
เกาะติด สถานการณ์การชุมนุม ม็อบคณะราษฎร 23 ตุลาคม 2563
ปชป.อยากเห็นทางออกความขัดแย้งที่เป็นรูปธรรม
สำหรับในเอเชียนั้น ท่านได้ยกประเทศไทยเป็นตัวอย่าง เพราะเรามี มาตรา 112 ที่ห้ามดูหมิ่นบุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ใดฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษโดยการจำคุก ในประเทศอังกฤษนั้น จารีตประเพณีของการไม่ดูหมิ่นบุคคลในสถาบันกษัตริย์และกษัตริย์ต้องอยู่เหนือคำวิพากวิจารณ์ คือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญของอังกฤษ ผู้ใดฝ่าฝืนก็หามีบทกำหนดโทษไม่ แต่คนอังกฤษเป็นผู้ดีมีมารยาทเคร่งครัดจารีตประเพณี จึงไม่มีใครเคยกล่าวคำหยาบคายต่อบุคคลในสถาบันฯ จะมีวิพากวิจารณ์บ้างก็เกี่ยวกับเรื่องการแต่งกาย และถ้าเป็นระดับศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยดังๆ ก็จะกระทำในลักษณะแนะนำด้วยความหวังดีเช่นเกี่ยวกับการแยกแยะการใช้จ่ายว่าอะไรเป็นเรื่องส่วนตัวก็ใช้เงินของตนเองและอะไรเป็นเรื่องของส่วนรวมที่สมควรใช้เงินงบประมาณแผ่นดินได้ เป็นต้น
2️. ผมไม่ได้โต้เถียงอะไรเกี่ยวกับ มาตรา 112 เพราะถือว่าอาจารย์มีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นทางวิชาการได้โดยคิดเสียว่าท่านเป็นคนอังกฤษคงไม่รู้ซึ้งหรอกว่าคนอังกฤษและคนในยุโรปนั้นมีหลายอย่างที่ไม่เหมือนคนไทย รัฐธรรมนูญ(หรือกฎหมาย)ของประเทศใดก็ต้องให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศนั้น จะมาลอกเลียนแบบกันร้อยเปอร์เซ็นต์ย่อมไม่ได้
ยิ่งตอนนี้ เวลานี้ ผมอยากให้อาจารย์ท่านนั้นได้มาอยู่ที่เมืองไทย ให้เห็นกับตา ได้ยินกับหูว่า ในการชุมนุมทางการเมืองนั้นเขามีการดูหมิ่น คุกคาม บุคคลในสถาบันกษัตริย์ของไทยด้วยถ้อยคำและภาษามือที่ถ่อยและหยาบช้าเพียงใด
ประเทศเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน และอีกหลายประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็จะมีทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองบุคคลในสถาบันฯเหมือน มาตรา 112 เพียงแต่บทกำหนดโทษไม่โหดเท่าของไทย
ถ้าพฤติกรรมของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาขึ้นจนใกล้เคียงกับมาตรฐานของคนในอังกฤษและในยุโรปเมื่อใด เมื่อนั้นเราก็ควรจะต้องพิจารณาทบทวน มาตรา 112 กันอย่างแน่นอน