ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 2 ส.ค.2565 ที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่ง สหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจํากองกําลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก
ทั้งนี้ หากมีความจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง รายละเอียดของร่างบันทึกความตกลงฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสําคัญ ให้กระทรวงกลาโหม (กห.) พิจารณา ดําเนินการได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือ ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ
โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ ตามที่ กระทรวงกลาโหม เสนอ (ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการกองกําลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก มีกําหนดลงนามร่วมกันใน ร่างบันทึกความตกลงฯ ในเดือนสิงหาคม 2565)
สำหรับสาระสําคัญของเรื่องดังกล่าวคือ สหรัฐอเมริกาได้เสนอร่างบันทึกความตกลงฯ ให้ฝ่ายไทย (กองบัญชาการกองทัพไทย: บก.กองทัพ ไทย) พิจารณาในการประชุมความร่วมมือทางทหารระหว่างไทย - สหรัฐอเมริกา ระดับฝ่ายเสนาธิการอาวุโส (Thai - American Consultation Senior Staff Talks: THAI TAC SST) ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 12 - 17 สิงหาคม 2562 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเอกสารที่กําหนดรายละเอียดในการส่งนายทหารติดต่อของกองทัพไทยไปปฏิบัติ หน้าที่ ณ กองกําลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก (ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา) โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมพิจารณาปรับแก้ถ้อยคําจนได้ข้อยุติแล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหม เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความตกลง ระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหาร ติดต่อของกองทัพไทยประจํากองกําลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก (ร่างบันทึกความตกลงฯ) ซึ่งเป็น เอกสารที่กําหนดรายละเอียดในการส่งนายทหารติดต่อของกองทัพไทย (ข้าราชการทหารหรือพนักงานพลเรือนของกองทัพไทย ผู้ซึ่งจะได้รับอนุมัติ หรือ การรับรองจาก กห.สหรัฐอเมริกา
โดยได้รับมอบอํานาจจาก กห. ให้ทําหน้าที่เป็น ผู้แทนอย่างเป็นทางการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน โครงการ หรือเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลของคู่ภาคี) ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ กองกําลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก ซึ่งมีรายละเอียด เช่น
1.หน้าที่และการปฏิบัติ ของนายทหารติดต่อ จะต้องปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย และข้อบังคับทั้งปวงของรัฐบาลภาคี สหรัฐอเมริกา และจะไม่เผยแพร่ หรือ เปิดเผยข้อมูลที่นายทหารติดต่อเข้าถึงได้ต่อบุคคล บริษัท องค์กร หรือรัฐบาล อื่นใดโดยไม่ได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาคีเจ้าภาพก่อน
2.ข้อตกลงทางการเงิน กห.จะรับผิดชอบ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นของนายทหารติดต่อ เช่น ค่าตอบแทนและค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าครองชีพที่ เกิดขึ้นทั้งหมด
3.การระงับข้อพิพาท จะได้รับการแก้ไขผ่านการหารือระหว่างคู่ภาคีเท่านั้นและจะไม่ถูกนําไปอ้าง ถึงต่อบุคคล ศาลภายในประเทศและศาลระหว่างประเทศหรือเวทีรูปแบบอื่นใดเพื่อการยุติข้อขัดแย้งนั้น
และ 4.การมีผลบังคับใช้และการสิ้นสุด ตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นระยะเวลา 10 ปี
ด้านสายข่าวด้านความมั่นคงชี้แจงว่า การแต่งตั้งนายทหารไปประจำการ เพื่อประสานความร่วมมือทางการทหารระหว่างไทย-สหรัฐ เพื่อดูแลภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐฯ ตามข้อตกลงที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการกองกำลังทางบกสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก จะมีการร่วมลงนามกันในร่างบันทึกข้อตกลง เดือนสิงหาคม 2562 ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ
เพราะในกระบวนการทำงานของกองทัพนั้น จะใช้ “ทูตทหาร” ที่ประจำการในแต่ละประเทศเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานด้านความั่นคง และด้านยุทธวิธี แต่รอบนี้ เป็นการจัดตั้ง “นายทหาร”ขึ้นไป ประจำการเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งทำให้ข้อสงสัยเรื่องกองกำลังอินโอ-แปซิฟิก หรือ “นาโต้ 2” ยากที่จะอธิบายมากขึ้น