นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ผู้สอนวิชากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการขอพระราชทานอภัยโทษของ "นายทักษิณ ชินวัตร" ว่า การขอพระราชทานอภัยโทษจะได้รับหรือไม่ เราไม่สามารถก้าวล่วงได้ แต่ทั้งนี้การขอพระราชทานอภัยโทษ จะมีกระบวนการขั้นตอนในการกลั่นกรอง
ซึ่งโดยปกติแล้วจะมี การอภัยโทษในลักษณะพื้นฐานเดียวกัน เช่น เคยรับโทษมาแล้ว และสำนึกผิด เคยทำคุณงามความดีมาแล้วในอดีตที่ผ่านมา หรือมีคุณงามความดีในช่วงที่ได้รับโทษ อาทิ เป็นอาจารย์สอนหนังสือ เป็นอาสาสมัคร ในเรือนจำ เป็นต้น
แต่ในกรณีของ นายทักษิณ ไม่เหมือนกรณีอื่นๆ เช่นคดีทั่วไปอย่างพ่อค้ายา หรือคดีโกงชาวบ้านมา แล้วติดคุก เนื่องจากกรณีของ นายทักษิณ มาจากปัญหาการยึดอำนาจ "รัฐประหาร" และโดนดำเนินคดีโดย คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งเป็นศัตรูทางการเมืองของ นายทักษิณ และมาเป็นผู้ที่ตรวจสอบ
ทำให้มองว่าการอภัยโทษในครั้งนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องมาดูว่า นายทักษิณ เคยติดคุกมาก่อนหรือไม่ แต่ต้องดูที่ว่ามีอายุมากแล้ว และป่วยจริงตามที่เป็นข่าว
และการอภัยโทษในครั้งนี้ เป็นการให้อภัยซึ่งกันและกัน เพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไป ซึ่งมองว่าเรื่องแค่นี้ก็เพียงพอแล้วเพราะไม่ได้มีขีอกฎหมายอะไรที่ระบุว่าต้องมีเงื่อนไข
"มองว่าสิ่งที่คุณทักษิณต้องการที่สุดในตอนนี้ ก็คือการออกมาให้เร็วที่สุด ก็เลยขอยื่นเป็นรายบุคคล แต่หากรายบุคคลไม่ผ่าน ก็ต้องติดตามว่าในช่วงปีนี้มีวันมงคลอะไรอีก ที่จะเป็นโอกาสให้คุณทักษิณได้รับการอภัยโทษพร้อมกับคนอื่น แต่อันนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าท่านจะรอไหวไหม เพราะไม่สบายจริงๆ ไม่ได้แกล้งเล่นละคร" นายวีรพัฒน์ กล่าว
นอกจากการอภัยโทษยังมีอีกสิ่งหนึ่งคือ "การล้างมลทิน" ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งทางกฎหมาย ถ้าหากมองว่าบุคคลดังกล่าวนั้น ไม่สมควรได้รับโทษผิด หรือมองว่าไม่ผิด ก็สามารถดำเนินการล้างมลทินได้ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายของไทยที่มีทั้ง นิรโทษกรรม อภัยโทษ และล้างมลทิน
เนื่องจากมองว่าตัวอย่างของกรณี นายทักษิณ ควรจะล้างมลทินหรือไม่ เพราะถูกรัฐประหาร ยึดอำนาจ อาจเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในการดำเนินคดีต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา
การพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย
ถือเป็นการพระราชทานอภัยโทษ แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ หรือผู้ต้องโทษเป็นรายบุคคล โดยการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษตามการถวายคำแนะนำของ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม"
ส่วนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับพระบรมราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์
ผู้มีสิทธิยื่นเรื่องราวทูลเกล้าฯ ถวายฏีกา ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ได้แก่ ผู้ต้องโทษคดีถึงที่สุด ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น บิดามารดา บุตร คู่สมรส เป็นต้น สถานทูต (ในกรณีที่เป็นนักโทษชาวต่างชาติ)
หมายเหตุ ทนายความ ไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
ระยะเวลาการยื่นฏีกาทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย