วันนี้ (22 ม.ค. 67) ที่วุฒิสภา นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้นำญัตติที่ร่วมลงชื่อโดย ส.ว. 98 คน ยื่อต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) แถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 153
ทั้งนี้ ส.ว.ทั้ง 98 คน ที่ร่วมลงชื่อในญัตติ มาจากทุกสายอาชีพ ทั้ง อดีตนายทหาร , พลเรือน, นักธุรกิจ, อดีตข้าราชการ
สำหรับรายชื่อ ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อทั้ง 98 คน ประกอบด้วย 1.นายเสรี สุวรรณภานนท์ 2.นายจเด็จ อินสว่าง 3.นายพลเดช ปิ่นประทีป 4.นายออน กาจกระโทก 5.นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ 6.นายจตุรงค์ เสริมสุข 7.นายประมาณ สว่างญาติ 8.นายถวิล เปลี่ยนสี 9.พล.อ.อู้ด เบื้องบน 10. ว่าที่ร.ต.วงศ์สยาม เพ็งพานิชภักดี
11. นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา 12.นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน 13.นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ 14.นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม 15.นายรณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล 16.นายอนุศักดิ์ คงมาลัย 17.นายทวีพงษ์ จุลกมนตรี 18.นายสำเริง ศิวาดำรง 19.นายอับดุลฮาลิม มินซาร์ 20.นายโอสถ ภาวิไล
21.นายถนัด มานะพันธุ์นิยม 22.นางจิรดา สงฆ์ประชา 23.นายเจน นำชัยศิริ 24.พล.อ.สุนทร ขำคมกุล 25.นายนิคม นาคสมภพ 26.พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร 27.นายประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ 28.นายประพันธุ์ คูณมี 29.นายสมชาย แสวงการ 30.นายสุวรรณ เลิศปัญญาโรจน์
31.นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินทร์ 32.นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา 33.พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม 34.นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ 35.พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ 36.นายสวัสดิ์ สมัครพงศ์ 37.พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป 38.นายชาญวิทย์ ผลชีวิน 39.นายประยุทธ เสาวคนธ์ 40.นายพิทักษ์ ไชยเจริญ
41.พล.อ.สนั่น มะเริงสิทธิ์ 42.นายณรงค์ อ่อนสะอาด 43.นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร 44.นายสุชัย บุตรสาระ 45.นายนิอาแซ ชีอุเซ็ง 46.นายกำพล เสิศเกียรติดำรงค์ 47.นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ 48.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 49.นายเฉลียว เกาะแก้ว 50.พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา
51.นายจรินทร์ จักกะพาก 52.นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 53.พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ 54.พล.ต.อ.ยุทธกร วงเวียน 55.พล.อ.บุญธรรม โอริส 56.นายคำนูณ สิทธิสมาน 57.นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ 58.นายสมชายเสียงหลาย 59.นายมณเฑียร บุญตัน 60.นายสุวัฒน์ จิราพันธุ์
61.พล.อ.นิวัตร มีนะโยธิน 62.พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ 63.นายดุสิต เขมะศักดิ์ชัย 64.นายศรีศักดิ์ วัฒนพรมงคล 65.น.ส.ปิยฉัฏฐ์ วันเฉลิม 66.พล.ร.อ.พัลลภ ตมิศานนท์ 67.นพ.อำพล จินดาวัฒนะ 68.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 69.นายณรงค์ รัตนานุกูล 70.นายจิรชัย มูลทองโร่ย
71.นายบุญส่ง ไข่เกษ 72.นางพิสดาร เวชยานนท์ 73.พล.ต.ท.สมหมาย กองวิสัยสุข 74.พล.อ.พิษณุ พุทธวงศ์ 75.พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร 76.นายอนุสิษฐ์ คุณากร 77.นายเฉลา พวงมาลัย 78.นางเพ็ญพักตร์ สีทอง 79.พล.ต.ต.ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ 80.พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร
81.นายภาณุ อุทัยรัตน์ 82.นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน 83.นายกษิดิศ อาชวคุณ 84.นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา 85.พล.อ.ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ 86.พล.อ.วีรัน ฉันทศาสตร์โกศล 87.นายไพโรจน์ พ่วงทอง 88.นางทัศนา ยุวานนท์ 89.นางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ 90.พล.อ.ต.เฉลิมชัย เครืองาม
91.นายบรรชา พงษ์อายุกูล 92.พล.อ.สราวุธ ชลออยู่ 93.พล.อ.ประสาท สุขเกษตร 94.นายถาวร เทพวิมลเพชรกุล 95.นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 96.พล.อ.วราห์ บุญญะสิทธิ์ 97.หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล 98.พล.อ.อ.สุจินต์ แช่มช้อย
เปิด 7 ประเด็นอภิปรายรัฐบาล
ส่วนเนื้อหาของญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลนั้น
มีสาระสำคัญ ระบุว่า
ครม.ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และ รมว.คลัง ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 10 ก.ย.66 และได้เข้าบริหารราชการแผ่นดิน มาจนถึงบัดนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประมาณ 4 เดือน รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินแก้ไขปัญหาสำคัญตามนโยบายที่แถลงไว้ รวมถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้แถลงนโยบายไปแล้ว มีทั้งหมด 7 หัวข้อคือ
1.ปัญหาด้านเศรษฐกิจของชาติและปัญหาปากท้องของประชาชน รวมถึงสภาพปัญหาการดำเนินนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท ชอบด้วยกฎหมายและไม่สร้างภาระหนี้สินให้กับประชาชนจะดำเนินการได้จริงหรือไม่ รวมถึงการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่รัฐบาลทำอยู่ไม่ได้มุ่งแก้ปัญหาจากต้นตอ
2.ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามคำพิพากษาที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรม 2 มาตรฐาน การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยพวกพ้องหาผลประโยชน์ส่วนตัว
สร้างมาตรฐานในกระบวนการที่บิดเบี้ยว ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ไม่เท่าเทียม การทุจริตคอรัปชั่น ยาเสพติดและการพนัน รวมไปถึงการแก้ปัญหาปราบปรามขบวนการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ การเปลี่ยนส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรมอาจเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน
3.ปัญหาด้านพลังงาน ไม่สามารถแก้ปัญหาโครงสร้างปัญหาของประเทศ และการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟ ก๊าสหุ้งต้ม และน้ำมัน นอกจากนั้นจะแก้ปัญหากลุ่มทุนพลังงาน มีอิทธิพลกับการเมือง ทำให้กลุ่มทุนกำหนดราคาพลังงานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น จนทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระราคาเชื้อเพลิงที่สูงเกินจริง
4.ปัญหาด้านการศึกษาและสังคม ไม่เร่งปฏิรูปการศึกษาเพิกเฉยต่อการพลักดันการตราพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ให้เข้าสู่การพิจารณาของสภา เพื่อให้เป็นกฎหมายบังคับใช้เป็นแม่บทในการพัฒนาการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก
ไม่เร่งรัดและปล่อยปละละเลยในการแก้ปัญหาการปรับโครงสร้างของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งหลังจากพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้มีผลบังคับใช้เกือบ 1 ปีแล้ว แต่ไม่สามารถปรับโครงสร้างได้ ทำให้เกิดผลเสียต่อการศึกษาอย่างร้ายแรง
รวมถึงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ซึ่งรัฐบาลยังไม่สามารถทำงานให้เป็นรูปธรรม และแก้ปัญหาผู้สูงวัย ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส และการรักษาพยาบาล การสาธารณสุข
5.ปัญหาด้านการต่างประเทศและการท่องเที่ยว รัฐบาลจะแก้ไขอย่างไรกับผู้กระทำความผิดที่เป็นจีนเทา เพราะจะกระทบกับความสัมพันธ์และความรู้สึกของชาวจีน
รวมถึงการวางตัวเป็นกลาง และการเลือกข้างของรัฐบาล กับความขัดแย้งของประเทศต่างๆ จะวางตัวอย่างไรให้เหมาะสม และมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวในการเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย
6.ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการทำประชามติ ต้องมีความชัดเจน เพื่ออธิบายให้ได้ว่ามีความจำเป็นในการดำเนินการอย่างไร โดยชอบด้วยกฎหมาย เกิดประโยชน์ของประชาชน และการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศได้อย่างไร
และ 7.ปัญหาการดำเนินการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่วุฒิสภาได้เสนอแนะเร่งรัดต่อรัฐบาลไปแล้วนั้น รัฐบาลมีนโยบายและแนวทางดำเนินการตามข้อเสนอแนะอย่างไร