สื่อในเครือเนชั่น เปิดเวที "อนาคตประเทศไทย : SME จะไปทางไหน?" ณ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ
ในช่วงของ นโยบายพรรคการเมืองทำอย่างไร? ให้โดนใจเอสเอ็มอี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ หัวหน้าทีมนโยบายการเมืองและเครือข่าย พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวว่า ตอนนี้เรากำลังเดินสู่รอยต่อที่สำคัญของเอสเอ็มอี ในทัศนะของตนเกี่ยวกับเอสเอ็มอี มองว่า โครงสร้างของรัฐที่จะผลักดันนโยบายมันผิดเพี้ยง
ทางแก้ต้องแปลงบทบาทของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ต้องไม่ทำบทบาทที่ซ้ำซ้อน คือต้องเป็นมาสเตอร์เพลน และจัดสรรงบประมาณในการขับเคลื่อนเอสเอ็มอี เนื่องจาก เอสเอมอีมีขนาดใหญ่มาก
นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า คีย์เวิร์ดแรกที่ต้องปรับบทบาทของสสว. คือ สสว.ต้องทำแต่นโยบายและเป็นบิ๊กเดต้า ส่วนการเอานโยบายไปปฎิบัติเป็นหน้าที่กระทรวง ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ คือเป็นมาสเตอร์แพลนเชิงโพลีซี และต้องจัดสรรงบประมาณในการขับเคลื่อนกระบวนการเอสเอ็มอีทั้งหมด
จะเห็นได้ว่า เอสเอ็มอีใหญ่มากมี 3 ล้านราย เป็นไมโครเกือบ 2.6 ล้านราย เยอะมากเกือบทั่วประเทศ ที่พูดทั้งหมด เอสเอมอีมีแค่ 4 หมื่นรายเท่านัน แต่สร้างขนาดของเศรษฐกิจมหาศาล
โดยคีย์เวิร์ดแรกคือ ต้องปรับบาท สสว. ถ้าไม่ปรับแล้วปล่อยให้เป็นแบบนี้ตลอด ที่พูดมาทั้งหมดทำไม่ได้ เพราะติดกฎหมาย ติดการขับเคลื่อน สสว. ทำได้แค่นโยบาย และเป็นบิ๊กเดต้าที่แท้จริงของเอสเอ็มอี ของประเทศไทยที่จะรู้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน
ส่วนการเอานโยบายไปปฎิบัติเป็นหน้าที่ของโอเปอเรเตอร์ ไม่ว่า กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงดิจิตอล แต่ต้องอยู่ภายใต้มาสเตอร์แพลนที่ไปด้วยกัน ไม่ใช่คนต่างทำ ถ้าไม่ใช้ตัวนี้แก้ไม่ได้ เพราะต้นเหตุที่แท้จริงไม่ได้ถูกปรับแก้
แต่สองส่วนไม่พอ ขอเสนอให้ให้ตั้งอีกหนึ่งองค์กร เป็นองค์กรกึ่งอิสระ ทำหน้าที่ประเมิณผลการขับเคลื่อนนโยบายและประเมิณผลการเอางบประมาณการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อวัดผลงาน ซึ่งไม่ควรอยู่ที่ สสว. ด้วย เพื่อให้เกิดความสมดุลกัน
โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างที่ตนพยายามพูดมาหลายครั้ง แต่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่แก้ที่โครงสร้างตัวนี้นโยบายของรัฐบาล หรือพรรคการเมืองก็ดี งบประมาณของรัฐบาลที่ใส่ลงไปไม่เกิดผล ไม่ใช่เรื่องเอสเอ็มอีเรื่องเดียว ถ้าต้องการแก้ปัญหาประเทศไทย เรื่องนี้ต้องปฎิรูปกลไกลรัฐที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนโครงสร้างงบประมาณประเทศ
นายสนธิรัตน์ กล่าวอีกว่า ถ้าจะให้เอสเอ็มอีเดินต่อไปได้ ปฎิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้เป็นยุคของดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ต้องยอมรับว่าเอสเอ็มอีเรา หลักๆอยู่ที่ภาคการค้าและบริการ ไม่ใช่เฉพาะแพลตฟอร์มของออนไลน์ หรือ เทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของมายเซทของเอสเอ็มอี และการพัฒนาบุคลากรที่จะรองรับเอสเอ็มอี
ต้องยอมรับว่า ช่วง 20 ปีผ่านไป เอสเอ็มอี ยังปรับตัวไม่ได้ ถ้า สสว. เปลี่ยนผ่านให้คล้ายต่างประเทศ เป็นลักษณะที่แพลตฟอร์ม ที่เป็นโค้ชชิ่งกับเอสเอ็มอี จะดูว่าเอสเอ็มอีขาดอะไร แล้วเชื่อมโยงเขาอย่างไร ที่จริงเอสเอ็มอี ที่มีศักยภาพไม่ใช่ไม่มีความสามารถ แต่ไม่รู้จะไปหาใครมาช่วยตัวเอง อยากทำระบบก็ทำไม่ได้ ไปหากระทรวงก็ตอบโจทย์ไม่ได้
กรณีนี้มองว่าเราต้องมีแพลตฟอร์มที่เป็นตัวเชื่อมโยง และต้องสร้างบริษัท สตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี ที่ทำธุรกิจด้วยกันมาสนับสนุน
และสุดท้ายเรื่องหนี้และการเติมทุนเอสเอ็มอี จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีกองทุน ระบบแบงก์ไม่เคยประสบความสำเร็จ เพราะหลักประกันไม่มี กองทุนที่จะออกมาต้องมีกฎหมายพิเศษเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอี แก้หนี้ไม่พอต้องเติมทุนด้วย ตนชื่นชมระบบการให้สินเชื่อของอาลีบาบา ที่ล้มเลิกไป ซึ่งเป็นระบบการเติมทุนให้เอสเอ็มอีที่ดีที่สุด