17 สิงหาคม 2565 - ปัจจัยลบ ที่มีมากกว่า ปัจจัยบวก ในช่วงเวลาท้าทายของเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 2 ปี 2565 (เม.ย.-มิ.ย.) ซึ่งสะท้อนผ่านตัวเลข จีดีพี ขยายตัวเพียง 2.5% ขยับตัวดีขึ้นมาเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า คือ ภาพฉายการดิ้นรนของผู้ประกอบการ ในหลายธุรกิจอุตสาหกรรม รวมถึง ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยด้วย
ซึ่งภาพใหญ่ เศรษฐกิจไทย เจอทั้งความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก ,ภาระหนี้สินภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ,ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 และ ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ
ขณะอสังหาฯ เผชิญผลพ่วงทางอ้อมรอบทิศ โดยอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูง จากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเกือบ 40% และ ค่าเงินบาทอ่อนค่า ส่งผ่าน ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง ที่แพงขึ้นอย่างน่าใจหาย เจาะราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นถึง 35% จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน แหล่งผลิตใหญ่ของโลกเกิดวิกฤติ ทั้งนี้ เมื่อจำแนก ต้นทุน การก่อสร้างโครงการที่พักอาศัยในหมวดต่างๆ เช่น งานวิศวกรรม ,งานสถาปัตยกรรม ,ระบบไฟฟ้า-สื่อสาร และ สุขาภิบาล ก็มีการปรับขึ้นยกแผง ถือเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดผู้ประกอบการในช่วงฟื้นตัวหลังโควิด หลังฟากลูกค้า ก็ยังถูกธนาคารปฎิเสธสินเชื่อ (รีเจ็กต์)ไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์ได้ในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในกลุ่ม Listed Companies หรือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่จับสัญญาณ ปรับกลยุทธ์ และตั้งหลัก ลดความเสี่ยงของตลาดได้ในทุกๆแง่มาก่อนแล้วอย่างดี ประกอบกับ ลูกค้ายิ่งให้ความเชื่อมั่นต่อแบรนด์และสินค้า ท่ามกลางความเหนื่อยอ่อน ล้มหายตายจากไปของรายเล็กๆ ในตลาด ทำให้ นี่จึงกลายเป็นโอกาสในการทำรายได้ และกำไรอย่างมหาศาลอย่างมีนัยน่าศึกษา
โดยเฉพาะ TOP5 อสังหาฯไทย ที่ยังคงมีผลงานดีเยี่ยมในช่วงครึ่งปีแรก 2565 กำไรสุทธิทะลุหลักพันล้านบาท ดังนี้ (ตามลำดับ)
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องจับตามอง ถึงทิศทางผลประกอบการอสังหาฯ ในระยะข้างหน้า คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ตามแรงบีบ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% ต่อปี และ อาจไปแตะถึงระดับ 1 - 1.25% ต่อปี ในช่วงสิ้นปี 2565ซึ่งจากสูตรคำนวณ จะพบว่า ทุกการขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ย 1% จะส่งผลกระทบต่อการผ่อนที่อยู่อาศัยราว 7% นั่นหมายถึง ภาพกำลังซื้ออาจมีแนวโน้มลดลง ขณะเดียวกัน ต้นทุนทางการเงินของผู้พัฒนาฯก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน