เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง

04 มี.ค. 2564 | 11:26 น.
อัปเดตล่าสุด :05 มี.ค. 2564 | 09:21 น.

 ชาวบ้าน โวย รฟม. เวนคืน ทุบทิ้ง "วิหารหลวงปู่ทวด”วัดเอี่ยมวรนุช แยกบางขุนพรหม ใกล้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) สร้าง สถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสาย สีม่วงใต้

 

ชาวบ้านชุมชนเก่าแก่ บริเวณวัดเอี่ยมวรนุช ย่านวังขุนพรหม เขตพระนคร  พากันไม่เห็นด้วย  กรณี  วิหารหลวงปู่ทวด ซึ่งเป็น สิ่งยึดเหนี่ยว จิตใจ ต้องทุบทิ้ง ก่อสร้างเป็นสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะขึ้นมาแทนที่ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการเดินทางให้กับประชาชน  

เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง      เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ทั้งนี้เพจเฟซบุ๊ก วัดเอี่ยมวรนุชอายุเก่าแก่กว่า200ปี ระบุว่า ด่วน!..วัดเอี่ยมฯโดนเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน เมื่อความเจริญเข้ามา สิ่งที่จะต้องเสียไปคือวัดวาอาราม จะต้องโดนเวนคืนเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ปัจจุบันวัดเอี่ยมก็เล็กมาก เนื้อที่แค่ 2 ไร่ กว่าๆเอง แทบจะไม่มีเนื้อที่เหลือสำหรับจัดกิจกรรมใดๆ ตอนนี้ก็โดนเฉือนไปอีก ตั้งแต่กำแพงวัด ซุ้มประตู ศาลา ทั้ง 2 หลังด้านหน้าวัด เจดีย์ขาว อายุเกือบร้อยปี และวิหารหลวงปู่ทวด 

เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง

 และส่วนที่ผลประโยชน์ของวัดได้แก่ ร้านครัวเพลินเพลง กับร้านก๋วยเตี๋ยวข้างวัดฯ ลานหน้าวัดที่เวนคืนจากกำแพงวัดมาอีก 6 เมตร วัดยิ่งเล็กลงไปอีก มากๆผลการประชุมวันนี้จาก จนท.ของ รฟม. รังวัดพื่นที่ตอกหมุดเรียบร้อยน้ำตาจะไหลไม่คิดว่าเรามาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไรสงสารหลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านก็บอกว่าช๊อคมากไม่คิดว่าจะโดยเวนคืนเยอะขนาดนี้ เพราะตอนแรกที่คณะกรรมการฯ รฟม.มาคุยกันมันไม่ใช่แบบนี้

 

สำหรับวัดเอี่ยมวรนุช เป็นวัดราษฎร์   สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบ้านพานถมเขตพระนครกทม.  ปัจจุบันเจ้าอาวาสคือ พระครูศรีสุตาภรณ์ (คำนึง ป.ธ.๖)  วัดเอี่ยมวรนุชตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2327 เดิมชื่อ วัดท้องคุ้ง ต่อมาปลัดนุชดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดปลัดนุช ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยายเอี่ยมได้สร้างพระอุโบสถ พระองค์จึงมีดำรัสว่าควรมีชื่อผู้สร้างร่วมอยู่ในวัดนี้ด้วย วัดนี้จึงมีชื่อว่า "วัดเอี่ยมวรนุช" นับแต่บัดนั้น วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2490

 

 

ด้านหน้าพระ อุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อพระบางประสิทธิโชค หรือ พระอีบาง แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคอีสานของไทย ภายในพระอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานอยู่ มีพระอัครสาวกซ้ายขวา และด้านหน้าประดิษฐาน หลวงพ่อสารพัดช่าง เป็นองค์รองประธาน

เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง

ด้านขวาของพระอุโบสถมี พระสีวลี วิหารเจ้าแม่กวนอิมเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ประดิษฐานอยู่ตรงกลางวิหาร ด้านหลังมีพระพุทธรูปหลายองค์ ส่วนด้านซ้ายประดิษฐาน พระศรีอริยเมตไตรย และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต อีกมุมหนึ่งของวัดมีพุทธเจดีย์ปรินิพพานหรือเจดีย์ถวายพระเพลิงพระศาสดา ลักษณะเป็นมณฑปเล็ก สีขาว ภายในประดิษฐานพระเจ้าเข้าด้านหน้าพระอุโบสถ ประดิษฐาน 

เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง

 

 

หลวงพ่อพระบางประสิทธิโชค หรือ พระอีบาง แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ทางภาคอีสานของไทย ภายในพระอุโบสถมีพระประธานประดิษฐานอยู่ มีพระอัครสาวกซ้ายขวา และด้านหน้าประดิษฐาน หลวงพ่อสารพัดช่าง เป็นองค์รองประธาน ด้านขวาของพระอุโบสถมี

เวนคืน “วิหารหลวงปู่ทวด”สร้างสถานีบางขุนพรหม รถไฟฟ้าสายสีม่วง

พระสีวลีวิหารเจ้าแม่กวนอิมเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย เช่น พระโพธิสัตว์กวนอิม ประดิษฐานอยู่ตรงกลางวิหาร ด้านหลังมีพระพุทธรูปหลายองค์ ส่วนด้านซ้ายประดิษฐาน พระศรีอริยเมตไตรย และ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต อีกมุมหนึ่งของวัดมีพุทธเจดีย์ปรินิพพานหรือเจดีย์ถวายพระเพลิงพระศาสดาเป็นต้น สำหรับ ความคืบหน้า รฟม. ลงพื้นที่ ปักหมุดแนวเขตพื้นที่ เวนคืน สายสีม่วงใต้ มูลค่า 1.24 แสนล้านบาท หลังพระราชบัญญัติ (พรบ.) มีผลบังคับใช้  ทั้งนี้ตลอดแนว มีระยะทาง  23.6 กม.  ที่ดินที่ได้รับผลกระทบ 102 ไร่ 410 แปลง บ้าน 264 หลัง เริ่มประมูล เร็วๆนี้