วันนี้ (13 ก.ย.64) ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ครั้งที่ 3/2564 . เห็นชอบในหลักการโครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย “บ้านเคหะสุขประชา”
โดยการประชุมคนร. ดังกล่าว มีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ร่วมกับรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้อง
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญของการประชุมว่า ที่ประชุมคนร. เห็นชอบในหลักการโครงการบ้านเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย “บ้านเคหะสุขประชา”
ภายใต้แนวคิด “บ้านเคหะสุขประชา = บ้านพร้อมอาชีพ” และ ให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ดำเนินโครงการฯ ตามแนวทางการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนฯ โดย กคช. เป็นหน่วยงานเจ้าของ โครงการฯ
ทั้งนี้ ไม่ขัดข้องหาก กคช. มีความประสงค์จะจัดตั้ง บมจ. เคหะฯ ในรูปแบบบริษัทเอกชน ซึ่งการจัดตั้งบริษัทในเครือ กคช. ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายจัดตั้ง กคช.
รวมทั้ง ให้ กคช. กำกับดูแลบริษัทในเครือดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้ง เป้าหมายการดำเนินงาน และสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และไม่เป็นภาระกับ กคช. ในระยะยาว
สำหรับการร่วมลงทุนกับเอกชนซึ่งรวมถึง บมจ. เคหะฯ ให้ กคช. คำนึงถึงการแข่งขันอย่างเป็นธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดด้วย
นายธนกร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้มติที่ประชุม คนร. ที่สำคัญมีดังนี้ เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การเสนอกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (หลักเกณฑ์กรอบนโยบายฯ) และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ จัดส่งร่างหลักเกณฑ์กรอบนโยบายฯ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ณ สิ้นปี 2563 และรับทราบการจัดกลุ่มบริษัทในเครือโดยพิจารณาจากการดำเนินการของบริษัทในเครือมีความสอดคล้องกับภารกิจหรือจำเป็นต่อภารกิจเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจ และจัดกลุ่มบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจใหม่เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1
กลุ่มที่ 2
กลุ่มที่ 3
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ จะต้องเป็นการพลิกโฉมประเทศไทย โดยพุ่งเป้าความต้องการในทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข เพื่อเพิ่ม GDP ประเทศ รัฐวิสาหกิจที่มีขีดความสามารถ เน้นการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มากขึ้น
รวมทั้งมีการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล ให้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อเป็นรายได้เข้าสู่ประเทศ ซึ่งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนและธุรกิจจะต้องช่วยกันขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก
นายกฯ ยังกล่าวถึงเรื่องการจ้างงานว่า ขอให้รัฐวิสาหกิจได้มีส่วนช่วยเหลือประชาชนโดยพิจารณาหาแนวทางจัดทำแผนงานการจ้างงานในด้านต่าง ๆ เช่น งานด้านสิ่งแวดล้อม โยธา การรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สิน เป็นต้น
ที่อาจเป็นการจ้างงานในรูปแบบพิเศษ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ที่มีปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ช่วยเหลือประชาชนคนที่ตกงานได้มีรายได้ประจำวันด้วย