เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า

10 ส.ค. 2565 | 03:00 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ส.ค. 2565 | 09:33 น.

เมืองใหม่อีอีซีห้วยใหญ่ 14,619 ไร่ ลุกเป็นไฟ! ชาวบ้านโวยถูกหักหลัง กดราคาชดเชยไร่ละ 5.5 แสนบาท  ต่ำกว่าที่เคยประกาศไว้ รวมตัว นับ 100 ราย ประท้วง ดีเดย์ 18 ส.ค.นี้ ขอราคา 1 ล้านบาทอัพด้านสกพอ.ลงพื้นที่ ต.ค.รับข้อเสนอ

 

ที่ดินตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี  มีความเคลื่อนไหวอีกครั้งเมื่อ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) คัดเลือก ให้เป็นโครงการศูนย์ธุรกิจอีอีซีและเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ มูลค่า 1.34 ล้านล้านบาท พื้นที่ 14,619 ไร่  โดยให้เหตุผลว่ามีความเหมาะสม ใกล้เมืองการบินอู่ตะเภา

 

รวมถึงยังห่างจากกรุงเทพ มหานครเพียง 160 กิโลเมตร ขณะที่ดินที่จะพัฒนาได้ใช้ประโยชน์จาก ส.ป.ก. ที่ดินปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม  แปลงมหึมา เมื่อเทียบกับค่าชดเชยแล้วน่าจะมีราคาที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งมีเกษตรกรกว่า1,000ราย ต้องสละที่ดินทำกินเพื่อพัฒนาเมืองใหม่เพื่อแลกกับค่าชดเชย
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า


ครอบคลุม 4 หมู่บ้านในตำบลห้วยใหญ่ ได้แก่ หมู่ 6 บ้านบึง หมู่ 11บ้านมาบฟักทอง หมู่ 12 บ้านนอก และหมู่ 13 บ้านหนองผักกูด โดยหมู่ 13 ได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

 

ที่ดินเกษตรเวิ้งมหึมา

              

ทีมข่าวฐานเศรษฐกิจลงพื้นที่ ตำบลห้วยใหญ่ พบว่า หากขับรถ ตระเวณไปตามเส้นทางของถนนสุขุมวิท หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3  เข้าเขตท้องที่เมืองพัทยา บริเวณแยก นาจอมเทียนห้วยใหญ่ ก่อนมุ่งหน้าไปยังจังหวัดระยอง จะต้องเลี้ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสายรอง เขตปกครองของเทศบาลตำบลห้วยใหญ่ เพื่อวิ่งลัดไปตัดกับ ทางหลวงหมายเลข 331 (สัตหีบ-พลูตาหลวง)ประมาณ 16 กิโลเมตร

 

และวิ่งข้ามฝั่งไปยัง สถานีตำรวจภูธรห้วยใหญ่ (สภ.ห้วยใหญ่ ติด ทล.331) และที่นี่คือจุดเริ่มต้นของพื้นที่พัฒนาเมืองใหม่ อีอีซี ที่ วิ่งลึกเข้าสู่ด้านในของหมู่บ้าน  ไปจนสุดแนวของ สนามกีฬาภาคตะวันออก จากการบอกเล่าของเจ้าพนักงานสภ.ห้วยใหญ่ยืนยันว่าแม้แต่ที่ตั้งของสถานีตำรวจก็อยู่ในข่ายของโครงการเมืองใหม่ด้วยเพราะเป็นที่ดินส.ป.ก.
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า

 

ทีมข่าวสังเกตุว่าบริเวณด้านหลังสภ.ส่วนใหญ่ เป็นสวนยางพารา ที่ดินทำกินของเกษตรกรเมื่อวิ่งไปตามถนนสายย่อยของกรมทางหลวงชนบท ตลอดสองข้างทางจะเต็มไปด้วยไร่มันสำปะหลัง สัปปะรด สลับกับดงมะพร้าวเป็นแนวยาวเขียวขจีสุดลูกหูลูกตา 

              

 

โดยเฟสแรกจำนวน 2,000 ไร่ จาก 14,619 ไร่ ไข่แดงพัฒนาเมืองจะอยู่บริเวณตั้งแต่ หน้ามหาวิทยาลัยเอเชียน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติแต่ได้ปิดตัวลงตั้งแต่ปี 2560 หรือบริเวณถนนทางหลวงชนบท สายเอเชียน-บ้านหนองผักกูด
 

สวนยางบริเวณด้านหลัง สภ.ห้วยใหญ่ จุดเริ่มต้นโครงการเมืองใหม่EEC

 

ปัจจุบันสกพอ.ได้ประเมินราคาที่ดินและผลิตผลพืชทางการเกษตรชดเชย ให้กับชาวบ้านที่นำที่ดินเข้าร่วมโครงการไว้แล้วและเตรียมจ่ายค่าชดเชยในเดือนตุลาคม หรือช่วงปีงบประมาณ 2566 เป็นต้นไปวงเงิน 1,500 ล้านบาท
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า

โวยชดเชยต่ำเกินจริง

              

ขณะค่าชดเชย ต่างได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านเป็นเสียงเดียวกันว่าค่อนข้างต่ำไม่เป็นไปตามที่ให้คำมั่นสัญญาไว้กับชาวบ้านในช่วงที่สกพอ. ลงพื้นที่ทำความเข้าใจชาวบ้านนายสิน สุวรรณวงศ์ อายุ 66ปี อาศัยอยู่บ้านหมู่ 13 บ้านหนองผักกูดใกล้วัดป่าปิยะมิตร(วัดวิมลคุณาราม) นำที่ดิน 50 ไร่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเมืองใหม่กับสกพอ. โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าวได้รับค่าชดเชยเพียงไร่ละ 5.5 แสนบาท สูงสุดไม่เกิน 6 แสนบาทต่อไร่
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า

 

โดยที่ดินทุกแปลงไม่ว่าจะติดถนนหรืออยู่ลึกเข้าไปด้านในค่าชดเชย จะได้ในราคาเท่ากัน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด มีวิทยากรจากสกพอ.3 รายเข้าพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน สองตำบลคือห้วยใหญ่กับโป่ง ได้ยืนยันว่าจะชดเชยให้ไร่ละ 8 แสนบาทถึงไร่ละ 1 ล้านบาท

 

 

หากยินยอมนำที่ดินเข้าร่วมโครงการแต่เมื่อชาวบ้านเข้าร่วมโครงการกลับหักหลังให้ราคาต่ำกว่า เกือบครึ่งหนึ่งที่เคยบอกไว้เหมือนกับโดนหักหลัง  สำหรับ ค่าชดเชยผลผลิตทางการเกษตร มะพร้าวได้รับค่าชดเชยอยู่ที่ต้นละ 2,300-2,500 บาท ปาล์ม ได้ราคาต้นละ 5,000 บาท ฯลฯ
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า


ส.ป.ก.ติดทล. 331 ไร่ละ 2 ล้าน

              

ส่วนราคาที่ดินติดถนน 331 ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 2.1 ล้านบาทต่อไร่ ราคาปรับสูงขึ้นจากช่วง 10-20 ปีก่อนอยู่ที่ 1.3 ล้านบาทต่อไร่ และติดถนนทางหลวงชนบทเส้นทางเชื่อมระหว่าง ทล.331 กับที่ดินเกษตรในหมู่บ้าน อยู่ที่ 1.8 ล้านบาทต่อไร่

 

 

เพราะปัจจุบันมีถนนลาดยางตลอดสายไม่มีสภาพเป็นดินลูกรัง มีผลผลิตเต็มพื้นที่แม้จะเป็นที่ส.ป.ก. ทำให้ราคาที่ดินปรับตัวสูง แต่หากเป็นโฉนดติดถนนทล.331ราคา 5 ล้านบาทต่อไร่ สูงสุด 7 ล้านบาทต่อไร่
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า


รวมพลขอปรับราคา

              

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นนายสินกล่าวต่อว่า วันที่ 18 สิงหาคมที่จะถึงนี้ชาวบ้านกว่า 100 ราย  ซึ่งเป็นเฟสแรก 2,000 ไร่  นัดรวมตัวกันร้องเรียนไปยังรัฐบาลและสกพอ.เพื่อขอปรับค่าชดเชยให้กับชาวบ้าน ในราคาสะท้อนตามความเป็นจริง เพราะหากให้ 5-6 แสนบาทต่อไร่ เชื่อว่าไม่มีใครยินยอม เพราะรัฐต้องการกดราคาให้ต่ำเพื่อนำที่ดินที่ได้ไปปล่อยเช่าต่อในราคาที่สูงกว่าเพื่อทำกำไร

              

 

“ชาวบ้านในตำบลห้วยใหญ่ ต้องการให้รัฐบาลมองเห็นความเดือดร้อน ค่าชดเชยที่ได้ไม่สามารถนำไปหาซื้อที่ดินแปลงใหม่ได้ ในทางกลับกันสกพอ. น่าจะปรับค่าชดเชยเพิ่มให้ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่พอใจโดยในเดือนตุลาคม นี้ สกพอ.จะลงพื้นที่พบชาวบ้านและรับฟังความเห็นต่อค่าชดเชยที่ขอปรับเพิ่ม”

 

 

สำหรับที่ดินพัฒนาเมืองใหม่อีอีซีนายสินระบุว่า มีทั้งหมด7เฟส 7หมื่นไร่เริ่มตั้งแต่ ทล.331พูลตาหลวง บริเวณทางรถไฟไปถึง เขาไม้แก้วตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง ซึ่งเป็นเฟสแรก เฟสสองตำบลบ่อวินอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปถึง อำเภอบ้านโพธิ์บริเวณนิคมอุตสาหกรรม ไปจนถึงถนนสุวินทวงศ์ ฝั่งจังหวัดฉะเชิงเทรา

 

ไม่ขายที่ดินทำกิน
 

นางวงศ์ วงศ์สะภาพัภร์ อายุ67 ปี อยู่อาศัยหมู่13 บ้านหนองผักกูด พาทีมข่าวตระเวณดูที่ดินบริเวณที่จะพัฒนาเมืองใหม่ โดยระบุว่า ส่วนใหญ่จะอยู่ตั้งแต่ทล.331 ที่ตั้งสภ.ห้วยใหญ่ วิ่งเข้าสู่ที่ดินเกษตรชาวบ้าน ไปจนถึงวัดป่าปิยะมิตร (วัดวิมลคุณาราม) แต่เนื่องจากเป็นวัดจะได้รับยกเว้น และวิ่งไปตามถนน
 

บ้านหนองผักกูดทางหลวงชนบท ยาวไปจนเกือบถึงสนามบินอู่ตะเภา ขณะพื้นที่ที่เป็นบ้านเรือนประชาชน จะได้รับยกเว้น อย่างไรก็ตามไม่เข้าร่วมโครงการเพราะได้ชดเชยไม่คุ้มที่จะไปเริ่มต้นใหม่

 

สกพอ.รับชาวบ้านร้อง

แหล่งข่าวจากสกพอ.ยอมรับว่าชาวบ้านต้องการค่าชดเชยที่ดินที่สูงขึ้น ซึ่งในเร็วๆ นี้จะลงพื้นที่ทำความเข้าใจ โดยค่าชดเชยปัจจุบันยืนยันว่าเป็นราคาที่สูงและเป็นธรรมที่สุดแล้ว
 

เมืองใหม่EEC ไฟลุก! ร้อยรายโวยค่าชดเชยตํ่า