ธุรกิจรับสร้างบ้าน หนึ่งในอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย ฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ โดยในแต่ละปีมีการขยายกำลังซื้ออย่างต่อเนื่อง สั่งสร้างบ้านบนที่ดินตนเอง และรีโนเวท โดยเฉพาะภูมิภาคมีอัตราการเติบโตที่ดี สะท้อนจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC พบว่าทั้งระบบของตลาดนี้ มีมูลค่ารวมกว่า2แสนล้านบาทต่อปี แยกเฉพาะกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีมูลค่ากว่า5หมื่นล้านบาทต่อปี
นายโอฬาร จันทร์ภู่ นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA : Home Builder Association) ให้สัมภาษณ์ว่า ตลาดบ้านสั่งสร้าง หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ตลาดนี้เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น พบว่า 2 ไตรมาส มีมูลค่ารวม 6,000 ล้านบาท จะปรับขึ้นเป็น 12,500-13,250 ล้านบาท ในปลายปีนี้ โดยเฉพาะต่างจังหวัดเติบโตมากขึ้น คาดว่าน่าจะขยับไปถึง 5 หมื่นบาททั้งระบบในอนาคต โดยสมาคมฯมองหาเครื่องมือจับตัวเลขให้เห็น ชัดเจนว่าตามข้อเท็จจริง ว่า มูลค่าตลาด
มีจำนวนเท่าใด เนื่องจากสมาชิกไม่ใช่บริษัทมหาชน เป็นบริษัทรับสร้างบ้านมารวมตัวกันเพื่อที่จะนำตัวเลขที่ได้และผลกระทบที่มีไปอ้างอิงกับรัฐบาลได้กรณีการเสนอมาตรการกระตุ้นตลาดรับสร้างบ้านให้เติบโต
“ตัวเลขปัจจุบัน เป็นเท่าใดกันแน่ทั้งระบบของธุรกิจนี้มีจำนวนเท่าใดแต่ จะเริ่มจับจากสมาชิกของเราก่อนแต่ละปีที่คาดว่า ที่ผ่านมาภาคธุรกิจรับสร้างบ้านตั้งเป้าที่จะเติบโตในสิ้นปีนี้ 12,000-13,000 ล้านบาท ก็ไม่ขึ้น-ลงมากเพียงแต่อนาคตจะชัดเจนและหาเครื่องมือมาจับแต่ละจังหวัด”
ทางออก จะจ้างบริษัทที่ปรึกษา เก็บข้อมูลของธุรกิจดังกล่าวเพื่อใช้อ้างอิงในโอกาสต่างๆ ต่อไป เบื้องต้น สมาคมฯใช้วิธีสำรวจจากยอดเช็นสัญญาทั่วประเทศ แทนโดยไม่ใช้ยอดขายเป็นตัวชี้วัดเพื่อนำข้อมูลที่ได้เสนอต่อรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังช่วงต้นปี 2567 เพื่อขอสนับสนุนมาตรการกระตุ้นตลาดบ้านสั่งสร้าง ด้วยการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นการถาวร “ล้านละหมื่น”เพดานไม่เกิน 1 แสนบาท ตามมูลค่าใน สัญญาสั่งสร้างบ้าน ที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท สำหรับมูลค่าดังกล่าวมองว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสม เพราะจากต้นทุนที่ดินมีราคาสูงขึ้น ที่ดินหายากรวมถึงต้นทุนค่าก่อสร้างปรับตัวสูง
“มาตรการที่ทางสมาคมฯ มองว่าน่าจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของกำลังซื้อควรดำเนินการทั้ง เร่ง และ ลด ไปพร้อมกัน โดยเสนอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมถึงมาตรการด้านภาษีต่าง ๆ ได้แก่ มาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้บริโภคที่ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินตัวเอง สามารถนำมูลค่าสร้างบ้านที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ตามเอกสารอากรแสตมป์ (อ.ส.4) นำไปลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาในรอบภาษีปีถัดไปได้ในอัตราลดหย่อนล้านละ 1 หมื่นบาท สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท”
การลดหย่อนภาษีจะช่วยเร่งการตัดสินใจของผู้บริโภคกระตุ้นตลาดให้ฟื้นกลับมาดีขึ้น และเชื่อมั่นว่าเป็นแนวทางที่เห็นผลเร็วที่สุด แม้ว่ากำลังซื้อส่วนใหญ่ในตลาดยังมีความกังวล แต่หากมีมาตรการของรัฐบาลออกมากระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นจะทำให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มเรียลดีมานด์ ที่สร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงกล้าตัดสินใจมากขึ้น
ที่สำคัญสมาคมฯต้องการ “ลดข้อจำกัด” ในการประกอบธุรกิจ เช่น ลดอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตนํ้ามันเซ็น MOU กับสถาบันการเงินชั้นนำสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยตํ่าสำหรับปลูกสร้างบ้าน เป็นต้น ซึ่งแนวทางดังกล่าว มีส่วนผลักดันให้ตลาดรับสร้างบ้านในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นจากมาตรการใหม่ๆ ที่จะออกมา
ส่วนปัจจัยสงครามอิลลาเอล มองว่า ยังไม่กระทบถึงไทย แต่หากจะมาถึงประเทศไทยราคาต้นทุนตอนนี้ตลาดหุ้นตก ทองขึ้นไม่แน่ใจถ้ายืดเยื้ออนาคตจะมีผลกระทบต่อธุรกิจรับสร้างบ้านหรือไม่แต่ปัจจุบันยังไม่มีผลแนวโน้มการเติบโต ตั้งแต่โควิดที่ผ่านมาเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จากโควิด แล้วมาประสบกับปัญหาต้นทุนที่สูงค่าแรงที่ปรับกันเองทำให้หลังโควิดแทนจะดูว่าดีก็ทำให้ซึมๆ คาดว่าคนยังปรับตัวไม่ได้คิดว่าดีขึ้นแต่ไม่ดีจริงแต่ปีหน้าคนปรับตัวดีขึ้นกำลังการสั่งจองสร้างบ้านน่าจะฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากยอดสองไตรมาส ปี 2566 ตัวเลขเป็นไปตามคาดดังกล่าว
ในทางกลับกันปัจจัยของต้นทุนการก่อสร้างบ้านที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้บริษัทรับสร้างบ้านต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ต่อเนื่องไปถึงไตรมาสแรกของปี 2567 ต้นทุนธุรกิจทั้ง ค่าขนส่ง ค่าแรงงานค่าวัสดุก่อสร้าง และอื่นๆ รวมถึงดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้ราคาบ้านมีแนวโน้มขยับขึ้นไปอีก 3-5% กระทบผู้บริโภคที่กำลังวางแผนสร้างบ้าน ชะลอ หรือ เลื่อนการตัดสินใจออกไป
โดยทางสมาคมฯ ยังคงเกาะติดสถานการณ์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะออกมาสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค กระตุ้นกำลังซื้อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ทั้งโครงการเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท การลดค่าครองชีพการส่งเสริมท่องเที่ยวเรื่องฟรีวีซ่า รวมทั้งการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน ที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวและธุรกิจส่งออกจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งโอกาส และความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ โดยในด้านของโอกาสของธุรกิจรับสร้างบ้าน สะท้อนให้เห็นจากผลการจัดงาน “รับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2023” เมื่อวันที่ 20-24 กันยายน ที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงความต้องการปลูกสร้างบ้านของผู้บริโภคว่ามีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คิดเป็นมูลค่าสร้างบ้านสูงถึง 4,500 ล้านบาท เติบโตขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งเป็นการตอบรับที่ดีเกินคาดในกลุ่มบ้านระดับราคา ราคา 5-10 ล้านบาท และ 2.5-5 ล้านบาท ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่นัก