ลุยเวนคืนที่ดิน รื้อบ้าน400หลัง สร้างรถไฟฟ้า สายสีส้มตะวันตก เชื่อมระบบราง

04 ส.ค. 2567 | 03:28 น.
อัพเดตล่าสุด :04 ส.ค. 2567 | 03:49 น.

รฟม. ลุย เวนคืนไล่รื้อบ้าน400หลัง ที่ดิน380แปลง ตอกเสาเข็ม สร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก ภายในเดือนสิงหาคม 2567 ตามพรฎ.จัดกรรมสิทธิ์ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเชื่อมโครงข่ายระบบราง

 

รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) อีกหนึ่งโครงข่ายระบบรางเชื่อมการเดินทาง แบบไร้รอย ที่ประชาชนเฝ้ารอเพราะ นอกจากจะช่วยเคลื่อนย้ายคนจำนวนมากไปยังจุดหมายปลายทางอย่างสะดวกรวดเร็วสร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจแล้ว

ยังจุดประกายทำเลศักยภาพที่น่าจับตาต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นทั้งภาคบริการอย่างโรงแรม ค้าปลีกและเพื่อการอยู่อาศัยอีกด้วย  หนึ่งในยุทธศาสตร์ชาติ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดให้เป็นไปตามแผน

ล่าสุด  หลังจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และและบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)

 จากนั้นได้เร่งรัดลงพื้นที่ก่อสร้างภายในเดือนสิงหาคม2567 มีเป้าหมายเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี )ระยะทาง 22.5กิโลเมตร  ภายในช่วงต้นปี2571 ปัจจุบันการก่อสร้างแล้วเสร็จ100% และก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์) ระยะทาง 13.4กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในปี2573  ในรูปแบบ PPP Net Cost

เมื่อมีการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ สร้างความเจริญให้กับพื้นที่  ขณะเดียวกันต้องมี ผู้ที่เสียสละเดินจากไปพื้นที่จากการเวนคืนที่ดิน ส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่อาศัยตลอดแนว

เวนคืนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก

โดยสายสีส้มช่วยตะวันตก ที่ต้องเวนคืน ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เปิดหน้าดินใหม่ทั้งหมด แยกเป็น ที่ดิน 380 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 400 หลังคาเรือน โดยมีค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์โครงการส่วนตะวันตกวงเงิน 14,661 ล้านบาทโดยเฉพาะชุมชนประชาสงเคราะห์ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก ช่วงต้นๆของโครงการ เกือบ200หลังคาเรือน

อย่างไรก็ตาม การประเมินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีมูลค่าสูงเนื่องจากบ้านเรือนประชาชนบางส่วนอยู่ในย่านชุมชนใจกลางเมืองอย่างรัชดาภิเษก ราคาซื้อขายตลาดวิ่งไปที่ 1.1ล้านบาทต่อตารางวา

เมื่อเทียบกับหลายปีก่อนที่เคยมีแผนลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นนี้ ราคายังอยู่ที่หลักแสนบาทต่อตารางวา ในทางกลับกันอย่างเป็นผลดีต่อประชนชนที่ได้รับชดเชยในช่วงจังหวะนี้ก็เป็นได้

แนวรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เริ่มจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างMRTสายสีน้ำเงินที่เปิดให้บริการปัจจุบันกับสายสีส้ม วิ่งลอดใต้ศูนย์การค้าเอส พานาดรัชดาฯ ผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ บริเวณนี้มีบ้านเรือนประชาชน ได้รับผลกระทบประมาณ180หลังคาเรือน

จากนั้นวิ่งออกถนนวิภาวดี เลี้ยวซ้ายลอดใต้ถนนราชปรารภตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง เข้าสู่ประตูน้ำ ไปยังถนนราชดำเนิน บริเวณนี้ เป็นพื้นที่ละเอียดอ่อน ที่มีวัด วังโบราณสถาน จำนวนมาก  

จากนั้นลอดแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นฝั่งบริเวณโรงพยาบาลศิริราชและจุดหมายปลายทางที่บางขุนนนท์จุดตัดใหญ่รถไฟฟ้า3สายในอนาคตทั้ง สายสีน้ำเงิน สายสีแดงและสายสีส้ม ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับสูงปัจจุบันมีโครงการคอนโดมิเนียมปักหมุดดักรอความเจริญที่กำลังจะมาถึง

สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 27 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กิโลเมตร จำนวน 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี

โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์ ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้ดินวิ่งไปตามแนวทางรถไฟเดิมไปยังโรงพยาบาลศิริราช บริเวณสถานีศิริราช จากนั้นจึงวิ่งลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาขนานไปกับสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้พื้นที่ถนนราชดำเนิน

ผ่านสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเบี่ยงแนวเส้นทางไปตามแนวถนนหลานหลวงจนถึงแยกยมราช เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรบุรีจนถึงสี่แยกประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายลอดใต้ถนนราชปรารภตรงไปถึงสามเหลี่ยมดินแดง แล้วจึงเลี้ยวขวาไปตามถนนดินแดง

หลังจากนั้นจึงเลี้ยวซ้ายตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต แล้วเลี้ยวขวาผ่านกรุงเทพมหานคร 2 และเบี่ยงขวาลอดผ่านชุมชนประชาสงเคราะห์ ไปยังสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งขนานไปตามแนวถนนพระรามเก้าไปยังสถานี รฟม.

ลอดใต้คลองแสนแสบ ก่อนเลี้ยวซ้ายไปตามถนนรามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ไปจนถึงบริเวณคลองบ้านม้า ก่อนเปลี่ยนแนวทางวิ่งจากอุโมงค์ใต้ดินเป็นทางวิ่งยกระดับ และวิ่งตามแนวถนนรามคำแหงไปจนถึงบริเวณคลองสองที่สถานีมีนบุรี ก่อนสิ้นสุดแนวเส้นทางที่สถานีสุวินทวงศ์ บริเวณสามแยกรามคำแหง – สุวินทวงศ์

รถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกปัจจุบันมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นตลอดแนวและมีประชาชนอยู่อาศัยจำนวนมากรวมถึงชุมชนที่อยู่ด้านในรวมถึงศูนย์การค้าห้างค้าปลีกค้าส่งที่ได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้ 

ขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีระยะทางรวมทั้งสิ้น 35.9 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 27 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 8.9 กิโลเมตร จำนวน 28 สถานี แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 21 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี โดยมีแนวเส้นทาง