ตลาดอสังหาฯกทม.-ปริมณฑลทรุด ยอดขายชะลอสต็อกล้น2แสนยูนิต  1.2 ล้านล้าน

25 ก.ย. 2567 | 05:20 น.
อัพเดตล่าสุด :25 ก.ย. 2567 | 05:48 น.

ตลาดอสังหาฯกทม.-ปริมณฑล Q  2/67 ยอดขายชะลอ  สต็อกล้น2 แสนยูนิต  1.2 ล้านล้าน สูงต่อเนื่อง5 ไตรมาส ขณะตัวเลขเปิดตัวใหม่ลดลง ดีเวลลอปเปอร์ เบรกเปิด โครงการใหม่ เหลือ 8.5 หมื่นยูนิต กว่า 5 แสนล้าน ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า อัตราดูดซับลดลงในรอบ6 ปี นับตั้งแต่ปี61

 

ตลาดอสังหาริมทรัพย์เผชิญความท้าทายรอบด้าน จากภาวะเศรษฐกิจซบเซากำลังซื้ออ่อนแอ หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง และไม่มีท่าทีจะลดลงโดยง่ายจึงเป็นเหตุให้สถาบันการเงินคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ  

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) รายงานภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2/2567 พบว่ายอดขายชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สต็อกสูงต่อเนื่อง 5 ไตรมาส ประเมินว่าต้องเฝ้าระวังสต็อกคงเหลือของที่อยู่อาศัยในทุกประเภท ทุกระดับราคา 

วิชัย วิรัตกพันธ์

ขณะแนวโน้มทั้งปี 67 มีโครงการเปิดตัวใหม่ 8.5 หมื่นยูนิต มูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ขณะที่สต็อกเหลือกว่า 2 แสนยูนิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท อัตราการดูดซับต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 61

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยผลการสำรวจภาวะภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2567 พบว่า อุปทานที่อยู่อาศัยเสนอขายในตลาดที่อยู่อาศัยรวม (บ้านจัดสรรและอาคารชุด) มีจำนวน 229,528 หน่วย มูลค่า 1,350,586 ล้านบาท ซึ่งขยายตัว 11% และ 30.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ เข้ามาสู่ตลาดจำนวน 17,197 หน่วย มูลค่า 128,440 บาท จำนวนหน่วยลดลง 23.9% มูลค่าลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

ตลาดอสังหาริมทรัพย์เผชิญความท้าทายรอบด้าน จากภาวะเศรษฐกิจซบเซากำลังซื้ออ่อนแอ หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง และไม่มีท่าทีจะลดลงโดยง่ายจึงเป็นเหตุให้สถาบันการเงินคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ  

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ฉายภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2/2567 พบว่ายอดขายชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สต็อกสูงต่อเนื่อง 5 ไตรมาส แนะเฝ้าระวังสต็อกคงเหลือของที่อยู่อาศัยในทุกประเภท ทุกระดับราคา

ประเมินแนวโน้มทั้งปี 67 มีโครงการเปิดตัวใหม่ 8.5 หมื่นยูนิต มูลค่ากว่า 5 แสนล้านบาท ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า ขณะที่สต็อกเหลือกว่า 2 แสนยูนิต คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านบาท อัตราการดูดซับต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 61

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยผลการสำรวจภาวะภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2567

พบว่า อุปทานที่อยู่อาศัยเสนอขายในตลาดที่อยู่อาศัยรวม (บ้านจัดสรรและอาคารชุด) มีจำนวน 229,528 หน่วย มูลค่า 1,350,586 ล้านบาท ซึ่งขยายตัว 11% และ 30.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนหนึ่งมาจากโครงการที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ เข้ามาสู่ตลาดจำนวน 17,197 หน่วย มูลค่า 128,440 บาท จำนวนหน่วยลดลง 23.9% มูลค่าลดลง 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยโครงการอาคารชุดเปิดตัวใหม่มีอัตราลดลงต่อเนื่อง 2 ไตรมาส ทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ซึ่งไตรมาส 2 มีจำนวนเปิดตัวโครงการใหม่อาคารชุด 7,967 หน่วย ลดลง 29.7% โดยเป็นการเปิดตัวโครงการใหม่ในกลุ่มระดับราคาน้อยกว่า 3 ล้านบาทเป็นหลัก ซึ่งมีจำนวน 4,282 หน่วย

ขณะที่โครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่มี 9,230 หน่วย ลดลง18% โดยเป็นการเปิดตัวโครงการใหม่ในกลุ่มราคา 3.01-7.5 ล้านบาทเป็นหลัก ซึ่งมีจำนวนถึง 4,969 หน่วย

ในด้านอุปสงค์ พบที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่มีจำนวน 14,938 หน่วย ลดลง 8.4% มูลค่า 84,327 ล้านบาท ลดลง 2.2% ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 6,029 หน่วย ลดลง 3.4% มูลค่า 24,075 ล้านบาท ลดลง 7.5% ซึ่งอาคารชุดที่ขายได้ใหม่

ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท โดยมีจำนวน 4,590 หน่วย ส่วนโครงการบ้านจัดสรรมีจำนวน 8,909 หน่วย ลดลง 11.5% แต่มีมูลค่า 60,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการบ้านจัดสรรขายได้ใหม่อยู่ในกลุ่มราคา 3.01-7.5 ล้านบาท โดยมีจำนวน 4,313 หน่วย

เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพรวมหน่วยขายได้ใหม่ปรับตัวลดลง ทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ยังมีการขยายตัวติดลบแต่เป็นการติดลบที่น้อยลง จึงส่งผลให้อัตราดูดซับต่อเดือนปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 2.2% ซึ่งต่ำกว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 ที่มีอัตราดูดซับที่ 2.3% โดยอัตราดูดซับของอาคารชุดอยู่ที่ 2.2% และของบ้านจัดสรรอยู่ที่ 2.1% ซึ่งต่ำกว่าในช่วงไตรมาส 1 ที่มีอัตรา ดูดซับทั้ง 2 ประเภทอยู่ที่ 2.3%

ทั้งนี้ มีผลให้ที่อยู่อาศัยเหลือขาย ยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าติดต่อกันถึง 5 ไตรมาส โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 214,590 หน่วย เพิ่มขึ้น 12.6% มูลค่า 1,266,259 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้น 33.3% เป็นที่อยู่อาศัยประเภทโครงการอาคารชุด 84,556 หน่วย เพิ่มขึ้น 14.5% มูลค่า 379,544 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.6% และประเภทบ้านจัดสรร 130,034 หน่วย เพิ่มขึ้น 11.4% มูลค่า 886,715 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 35.9%

ยอดขายบ้านจัดสรร ลดลง 11.5%

ตลาดบ้านแนวราบในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในไตรมาส 2 ปี 2567 พบว่า หน่วยที่มีการเสนอขายประเภทบ้านจัดสรร มีจำนวนทั้งสิ้น 138,943 หน่วย เพิ่มขึ้น 9.6% มูลค่า 946,967 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยพบว่าประเภทของบ้านจัดสรรที่มีการเสนอขายจำนวนมากที่สุดได้แก่ ทาวน์เฮ้าส์ มีจำนวนมากสุดถึง 68,106 หน่วย แต่ปรับตัวลดลง 1.5% รองลงมาคือ บ้านเดี่ยวมีจำนวนถึง 44,399 หน่วย เพิ่มขึ้น 34.1% และบ้านแฝด จำนวน 24,437 หน่วย เพิ่มขึ้น 10.4% ในขณะที่อาคารพาณิชย์มีเพียง 2,001 หน่วย และปรับตัวลดลง 14.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในด้านที่อยู่อาศัยโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ในไตรมาส 2 ปี 2567 พบว่า ในระหว่างการสำรวจมีจำนวน 9,230 หน่วย ลดลง 18% แต่มีมูลค่า 88,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยพบว่าบ้านจัดสรรที่เปิดตัวใหม่ที่มีมากที่สุดได้แก่ บ้านเดี่ยว

มีจำนวนถึง 4,096 หน่วย เพิ่มขึ้น 25.6% รองลงมา เป็นทาวเฮ้าส์ 3,549 หน่วย ปรับตัวลดลง 36% และบ้านแฝด 1,540 หน่วย ปรับตัวลดลง 30.4% ส่วนอาคารพาณิชย์ มีการเปิดเพียง 45 หน่วย ลดลง 81.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน