นับเป็นเวลา 10 ปี ที่ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของอาณาจักร พระราม 4 ปักหมุด วัน แบงค็อก (One Bangkok) โครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ มูลค่า1.2 แสนล้านบาท บนที่ดิน สำนักทรัพย์สินพระมหากษัติย์ 108 ไร่ สร้างประวัติศาสตร์ ความเป็นที่สุดของโครงการ ที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุด มูลค่าสูงที่สุด มีพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ที่สุด ที่จอดรถ มากที่สุด อาคารอัจฉริยะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
ที่เป็นไฮไลต์ พัฒนา” Signature Tower” ตึกที่สูงที่สุดในไทยและติด1 ใน 10 อาเซียน ที่ความสูง 430 เมตร หากเปิดให้บริการ โดยที่มีแผนพัฒนาในอนาคตอันใกล้ หรือปี2569 และมีแผนแล้วเสร็จทั้งโครงการปี2570
หลังจากเมื่อ7ปีก่อน (3เมษายน 2560 ) เจ้าสัวเจริญ ประกาศ พัฒนาโครงการ วันแบงค็อก “One Bangkok” เป็นครั้งแรก ท่ามกลางสายตาหลายคู่ จับจ้องว่าในที่สุดแล้วจะประสบความสำเร็จได้จริงหรือไม่
อีกทั้ง ทำเลที่ตั้ง อยู่ บนถนนพระราม4 ที่ดินสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ ที่ค่อนข้างเงียบ หากเทียบกับย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือCBD อย่าง สุขุมวิท เพลินจิต สีลม สาทร แล้วดู อาจห่างชั้นกันมาก
ด้วยประสบการณ์ การมองกาลไกลของเจ้าสัวเจริญ นักพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่ของไทย มองขาด ที่ดินผืน นี้ ว่าเป็นทองคำฝังเพชร อันทรงคุณค่า ที่มีประวัติศาสตร์ เรื่องราว จารึก มาอย่างยาวนาน และจะเป็นตำนานในอนาคตให้คนรุ่นใหม่เข้ามาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และวิธีคิดนี้ก็เป็นเรื่องจริง
ที่ เจ้าสัวเจริญ ต้องการ ตอบแทนคุณแผ่นดิน ด้วยการนำที่ดินที่เป็นประวัติศาสตร์ของชาติ ถ่ายทอดความทรงจำ ผ่านอาคาร กลายเป็นเรื่องเล่าขาน ให้คนรุ่นหลังได้จดจำสร้างความเจริญเติบโตก้าวไปข้างหน้า
โดยเฉพาะ ถนนพระราม 4 ย่านการค้าเก่าแก่ เดิมเรียกว่า ถนนตรง และ ถนนหัวลำโพง (นอก) เป็นถนนที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2400 เนื่องจากกงสุลอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศสได้เข้าชื่อกัน พร้อมทั้งนายห้างต่างประเทศ ขอร้องรัฐบาลสยามว่า เรือลูกค้าที่ขึ้นมาค้าขายถึงกรุงเทพมหานครมีระยะทางไกล
อีกทั้ง ถนนวิทยุ ก่อนจะมาเป็นทำเลศักยภาพ เดิม เป็นที่ตั้งของสถานีโทรเลขและสถานีวิทยุแห่งแรกของประเทศไทยที่สามารถ ส่งสัญญาณ เชื่องโยงทางไกล ไปยัง กรุง เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และ นี่คือก้าวสำคัญในการเชื่อมโยง ของโลกภายนอก จาก โครงการ วัน แบงค็อก “One Bangkok”
เจ้าสัวเจริญ ได้มองเห็นและสร้างปรากฎการณ์ครั้งสำคัญให้โลกต้องจารึก ขณะสวนลุมพินีที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่6 เป็นสัญลักษณ์ของการพัฒนาเมืองที่ทันสมัย สวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นที่สันทนาการสำคัญของคนกรุงเทพฯ
ส่วน โรงเรียนเตรียมทหารสร้างบุคลากรของประเทศไทย เช่นเดียวกับ สนามมวยลุมพินีที่เป็นพื้นที่สันทนาการที่เชื่อมโยงผู้คนในอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งคนทุกรุ่นที่เติบโตมาจากสถานที่แห่งนี้
สถานที่หลอมรวมความรู้คนคุณภาพของประเทศรวมถึงการผลิตศิลปวัฒนธรรมของไทยอันทรงคุณค่า ที่ล่าสุดได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่25 ตุลาคม2567 สร้างความตื่นตระการตา สะกดสายตาชาวโลก ด้วย กลุ่มอาคารที่ทรงคุณค่า และตึกสูงที่สุดในไทย และ สูงติด1ใน10 อาเซียนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
สำหรับวัน แบงค็อก “One Bangkok” ภายในประกอบด้วย อาคารสำนักงานแบบพรีเมียม จำนวน 5 อาคาร โรงแรมระดับลักซ์ชัวรี่และไลฟ์สไตล์ 5 แห่ง อาคารที่พักอาศัยระดับลักซ์ชัวรี่อีกจำนวน 3 อาคาร ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่จะเป็นหัวใจหลัก
และเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับโครงการฯ คือ One Bangkok Retail จุดหมายปลายทางของการช้อปปิ้งและไลฟ์สไตล์ชั้นนำของกรุงเทพฯ รวบรวมร้านค้าชั้นนำทั้งแบรนด์ไทยและต่างประเทศกว่า 750 ร้าน และ Food Loop
ที่มีร้านอาหารชื่อดังจากทั่วทุกมุมโลกกว่า 250 ร้าน ซึ่งจะทยอยมาเปิดให้บริการ ตลอดจน Art Loop เส้นทางแห่งศิลปะและวัฒนธรรมความยาวกว่า 2 กิโลเมตร ครอบคลุมทั่วทั้งโครงการ รวมถึง The Wireless House One Bangkok ที่รอเผยโฉมให้ได้เห็นเร็ว ๆ นี้
นอกจากนี้ในส่วนของโรงแรม เตรียมพบกับ เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน กรุงเทพฯ ที่พร้อมเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2567 และโรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก โรงแรมแบรนด์แอนดาซแห่งแรกในกรุงเทพฯ ซึ่งพร้อมเปิดให้บริการในปี 2568 รวมถึง เฟรเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพ ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569
นอกจากนี้ยังมีศูนย์แสดงนิทรรศการและคอนเสิร์ตฮอลล์ระดับโลกเพื่อความทรงจำสุดพิเศษ แหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมที่มอบแรงบันดาลใจในทุก ๆ วัน พร้อมกับพื้นที่สาธารณะเปิดโล่งและพื้นที่สีเขียว 50 ไร่ ตลอดจนการเป็นเมืองอัจฉริยะ
ที่เพียบพร้อมด้วยนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน วัน แบงค็อก เป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองโดยมาตรฐาน LEED for Neighborhood Development ระดับ Platinum พร้อมมุ่งสู่การรับรองมาตรฐานอาคาร WELL เพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้อาคาร