"ลดราคาน้ำมัน 2.50 บาท" สำหรับน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์เป็นนโยบายช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนจากรัฐบาล เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. 66 เป็นต้นมา ตามมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งอนุมัติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
อย่างไรก็ดี จากนโยบายดังกล่าวได้เกิดกรณีที่สถานีบริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) หลายแห่งไม่มีน้ำมันให้บริการ โดยเฉพาะน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91 รวมถึงน้ำมันประเภทอื่นที่ลดราคาตามมาตรการรัฐบาลและกระทรวงพลังงานที่ลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน จนมีกระแสข่าวว่าสถานีบริการน้ำมันกักตุนน้ำมันไม่ยอมจำหน่าย
ขณะที่รัฐบาลเองโดยกระทรวงพลังงานได้ออกมาตรการล่าสุดลงนามคำสั่งกระทรวงพลังงานที่ ๔๗/๒๕๖๕๖ แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ติดตามและ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการไม่จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของสถานีน้ำมันเชื้อเพลิงทั่วประเทศขึ้นทันที
ส่วนผู้ประกอบการที่เป็นสถานีให้บริการน้ำมัน (ปั๊มน้ำมัน) เองได้ยืนยันกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การปรับลดราคาครั้งนี้สถานีบริการไม่ได้รับการชดเชยจากภาครัฐ ดังนั้น สถานีบริการที่ซื้อน้ำมันในราคาสูงก่อนหน้าวันปรับลดราคาจะขาดทุนในสต๊อก จึงไม่มีแรงจูงใจที่จะกักตุนน้ำมัน
แต่จากราคาที่ลดลงส่งผลให้ประชาชนชะลอการซื้อน้ำมันก่อนหน้านี้เพื่อรอซื้อน้ำมันราคาต่ำในวันที่เริ่มปรับลดราคา ทำให้สถานีบริการน้ำมันหมด ซึ่งจะเกิดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
จากข้อมูลดังกล่าวนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้ไปตรวจสอบข้อมูลปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย พบว่า
จะเห็นว่าปริมาณการใช้น้ำมันน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์แต่ละชนิดจะชะลอตัวลงก่อนใกล้ถึงวันที่มาตรการลดราคาน้ำมันเบนซิน แก๊สโซออล์สูงสุด 2.50 บาทจะมีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เบนซินขาดสต็อก และไม่มีจำหน่ายหน้าปั๊มตามที่เป็นกระแสเกิดขึ้น
สำหรับมาตรการ "ลดราคาน้ำมัน 2.50 บาท" เมื่อวันที่ 7 พ.ย. 66 ประกอบด้วย