“ภาวะโลกร้อน” เป็นประเด็นระดับโลกที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยมีเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อควบคุมระดับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนสำคัญของการทำให้เกิดโลกร้อนมาจากกิจกรรมของมนุษย์ หนึ่งในนั้นที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อ "การปล่อยก๊าซเรือนกระจก" เป็นเรื่องใกล้ตัวที่บางทีเราก็คาดไม่ถึง อย่าง "การรับประทานอาหาร" ของเรา
แล้วอาหารที่เรารับประทาน ทรมานโลกได้อย่างไร ? ก่อนอื่นมีข้อมูลที่น่าสนใจ ชี้ให้เห็นว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นภาคธุรกิจหนึ่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยผลิตคาร์บอนฟุตพริ้นท์ถึงปีละ 1.37 หมื่นล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ 26% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละปี
การผลิตอาหารมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากในหลายๆ ด้าน อาหารและการเกษตรมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร
ภาพด้านบนนี้ แสดงข้อมูลสรุปของผลกระทบหลักบางอย่างในระดับโลก อย่างอุตสาหรกรรมอาหาร แต่ละปีผลิตคาร์บอนฟุตพริ้นท์ถึงปีละ 1.37 หมื่นล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือ 26% ของปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละปี ซึ่งการผลิตอาหารเป็นกิจกรรมที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน 50 % เเละ 70% ของน้ำจืดทั่วโลกถูกใช้เพื่อการเกษตร
ใขขณะที่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย10 อันดับแรกของโลก คิดจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเข้าชั้นบรรยากาศต่อการผลิตวัตถุดิบ 1 กก.
เนื้อวัว (โคเนื้อ) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 99.48 กก.
ดาร์กช็อกโกแลต ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 46.65 กก.
เนื้อแกะ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 39.72 กก.
เนื้อวัว (โคนม) ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 33.3 กก.
กาแฟ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 28.53 กก.
กุ้ง ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 26.87 กก.
ชีส ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 23.88 กก.
ปลา ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 13.63 กก.
เนื้อหมู ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 12.31 กก.
เนื้อไก่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก 9.87 กก.
องค์การสหประชาชาติ ชี้ว่า การเปลี่ยนการบริโภคอาหารมาเป็นกินอาหารจากพืช จะสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ เพราะการบริโภคเนื้อสัตว์ลดลงจะทำให้ลดการใช้ที่ดินลง และก็สามารถผลิตอาหารเพื่อคนจำนวนมากขึ้นได้ด้วย นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้หยุดการบริโภคอาหารแล้วเหลือทิ้ง