สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า NIA มุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การทำเกษตรกรรมผ่านหลากหลายโครงการ
สำหรับเทรนด์ทางด้านนวัตกรรมการเกษตรที่น่าสนใจในปัจจุบันจาก Startup ไทย ประกอบด้วย
เทรนด์การเกษตรดิจิทัล การจัดการฟาร์มด้วยเซนเซอร์ และระบบไอโอที ถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชแต่ละชนิดมาศึกษา เพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโต การป้องกันโรค ความเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก ร่วมกับการพัฒนาเซนเซอร์และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ เช่น
เทรนด์เครื่องจักรกลเกษตร หุ่นยนต์ โดรน และระบบอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันที่เห็นเพิ่มมากขึ้นคือ อากาศยานไร้คนขับ หรือ “โดรน” ที่เข้ามาตอบโจทย์การแก้ปัญหาเกษตร เช่น การพ่นยาพ่นปุ๋ย การหว่านเมล็ด การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลรายแปลงเพื่อทำให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างแม่นยำขึ้น และระบบอัตโนมัติที่ช่วยผ่อนแรงการทำงานให้เกษตรกร เช่น
เทรนด์เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เพื่อพัฒนากระบวนการเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง เช่น พันธุ์พืชทนโรค สารชีวภาพกำจัดโรค ปุ๋ยเพิ่มประสิทธิภาพ โดยสตาร์ตอัปในกลุ่มนี้จะเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยอย่างน้อย 4-5 ปี สำหรับเป็นฐานองค์ความรู้มาสร้างให้เกิดธุรกิจ เช่น
เทรนด์การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ที่ครอบคลุมทั้งการปลูกพืชระบบปิดโดยใช้แสงเทียม ตอบโจทย์การปลูกพืชในเมืองโดยที่ไม่ต้องรอฟ้าฝนและแสงแดด การปลูกผักที่สะอาดไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง โดยสิ่งสำคัญคือความคุ้มค่าของการลงทุน ซึ่งผู้ปลูกจำเป็นต้องเลือกกลุ่มผักและผลิตผลทางการเกษตรที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถแข่งขันในด้านราคาได้ เช่น
เทรนด์การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและขนส่ง นวัตกรรมที่ทำให้สินค้าเกษตรทั้งผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ เนื้อสัตว์ ยังคงรสชาติและความสดใหม่ไว้ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยืดอายุ กระบวนการไม่ใช้สารเคมี และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นโจทย์ที่น่าสนใจ เช่น
เทรนด์บริการทางธุรกิจเกษตร แพลตฟอร์มเชื่อมโยงเกษตรกรและผู้ให้บริการด้านการเกษตร รวมถึงบริการแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ ที่จะช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยตลาดหรือร้านค้าที่มีบริการจำหน่ายของสดออนไลน์ จะเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าสดและสินค้าแปรรูปสำหรับขายให้กับผู้บริโภค กลุ่มธุรกิจเกษตร หรืออุตสาหกรรม ซึ่งในปัจจุบันมีการแข่งขันด้านราคาบวกกับค่าขนส่งที่สูง ทำให้สตาร์ตอัปเกษตรในกลุ่มนี้ต้องหารูปแบบธุรกิจที่จะก้าวผ่านปัญหาไปให้ได้ เช่น