รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานจัดงาน Thailand Halal Assembly 2023 เปิดเผยว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้ดำเนินการผลักดันฮาลาลไทยให้สามารถเป็นที่หนึ่งในตลาดโลก
ทั้งนี้ ล่าสุดได้ดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล เพื่อจัดอีเว้นใหญ่ปลายปีที่ ภายใต้งานThailand Halal Assembly 2023 ภายใต้ธีมฮาลาลจากแนวคิดสู่ดิจิทัลสู่ความวางใจ (Digitalizing Halal Initiatives for Fostering Halal Trust)
โดยเป็นการแสดงจุดเด่นของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล และผู้พัฒนาระบบฮาลาลดิจิทัลอันเป็นไปตาม 3 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้แก่ มติวันที่ 2 มิถุนายน 2558, วันที่ 10 กันยายน 2562 และวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ซึ่งคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแนวคิดวิถีฮาลาลแบบเดิมๆ ให้ทันสมัย และทำให้ทุกคนเข้าถึงฮาลาลได้มากขึ้น
สำหรับภายในงานประกอบด้วย 3 การประชุมวิชาการ ประกอบด้วย
และการจัดนิทรรศการ showcase นวัตกรรมดิจิทัล 3 ชิ้น ได้แก่ 1.Thailand Diamond Halal Through HAL-Q Plus Halal Standardization System ,2.Diamond Halal Blockchain และ3.Halal Route
"การจัดงานดังกลาาวนี้เชื่อว่าจะเป็นการเปลี่ยนแนวคิดวิถีฮาลาลแบบเดิมๆ ให้ทันสมัย เพราะ Thailand Halal Assembly เป็นเสมือนเวทีนำเสนอแนวคิดฮาลาลในโลกยุคดิจิทัลที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึงฮาลาลได้มากขึ้น"
รศ.ดร.วินัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ฮาลาลไม่ได้นับเฉพาะผู้บริโภคมุสลิมซึ่งมีอยู่ประมาณสองพันล้านคนหรือหนึ่งในสี่ของประชากรโลกเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับประชากรโลกที่ไม่ใช่มุสลิมอีก 4,900 ล้านคน รวมเป็น 6,900 ล้านคนหรือ 88% ของประชากรโลก โดยผลิตภัณฑ์ฮาลาลด้านอาหารและการเกษตร มีมูลค่า 1.3 ล้านล้านเหรียญต่อปี
อีกทั้งยังรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่ไม่ใช่อาหาร (Non-food products) เช่น ผลิตภัณฑ์ครัวเรือน แฟชั่น คอสเมติกส์ ผลิตภัณฑ์ยาและการแพทย์ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ มีมูลค่าสูงถึง 76.4% ของมูลค่าเศรษฐกิจฮาลาลทั้งหมดหรือมีมูลค่า 4.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งการทำให้ทุกคนทั้งผู้บริโภคมุสลิมและไม่ใช้มุสลิมสามารถเข้าถึงฮาลาลได้มากขึ้นก็จะส่งผลให้อุตสาหกรรมฮาลาลไทยสามารถแข่งขันและยืนหนึ่งในฐานะผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีคุณภาพในตลาดโลกได้