แบบจำลองสภาพภูมิอากาศทั่วโลกยังคงเตือนถึงปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจเกิดขึ้นในปลาย 2023 นี้ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติสภาพอากาศทั่วโลก กำลังเพิ่มความเป็นไปได้ในปลายปีนี้ที่จะเกิดปรากฏการณ์สุดขั้วหรือ "ซูเปอร์เอลนีโญ"
มีอุณหภูมิสูงมากในบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตร ปรากฏการณ์เอลนีโญสุดขั้วครั้งล่าสุดในปี 2559 ช่วยดันอุณหภูมิโลกให้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุมาจากภาวะโลกร้อนที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ ทำให้เกิดน้ำท่วม ภัยแล้ง และโรคระบาด
อุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลีย อัพเดทว่าแบบจำลองทั้ง 7 ที่ทำการสำรวจ รวมถึงแบบจำลองจากหน่วยงานด้านสภาพอากาศในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แสดงอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลผ่านเกณฑ์เอลนีโญภายในเดือนสิงหาคมปีนี้
ระบุว่า มีโอกาส 50% ที่จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญก่อนสิ้นปีนี้ ส่วนลักษณะของปรากฏการณ์เอลนีโญคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างน้อย 0.8 องศาเซลเซียส เหนือค่าเฉลี่ยระยะยาวในพื้นที่แถบเส้นศูนย์สูตรกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ปรากฏการณ์ซูเปอร์เอลนีโญ จะมีอุณหภูมิในพื้นที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 2 องศาเซลเซียส
ดร.ไมค์ แมคฟาเดน นักวิทยาศาสตร์การวิจัยอาวุโสขององค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวว่า ในอดีตเอลนีโญสมักจะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งขนาดของปรากฏการณ์ เอลนีโญ ที่คาดการณ์ไว้นั้นแสดงให้เห็นการแพร่กระจายที่กว้างมาก ปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งใหญ่มักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 10 ถึง 15 ปี ดังนั้นจึงเป็นเรื่องผิดปกติมากที่จะเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวในเร็ว ๆ นี้หลังจากเกิดครั้งสำคัญครั้งล่าสุดในปี 2558 และ 2559
การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่าในขณะที่ความร้อนของโลกยังคงดำเนินต่อไป โอกาสที่โลกจะประสบกับปรากฏการณ์เอลนีโญขั้นรุนแรงก็สูงขึ้นเช่นกัน ในออสเตรเลีย เอลนีโญ่เพิ่มความเสี่ยงต่อภัยแล้ง คลื่นความร้อน และไฟป่าทางตะวันออกของประเทศ และสำหรับแนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทำให้เกิดปะการังฟอกขาวจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์เอลนีโญจะรุนเเรงหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์ระบว่า คงต้องพิจารณาแนวโน้มของปรากฏการณ์เอลนีโญสุดขั้ว ซึ่งจะมีความมั่นใจมากขึ้นในแบบจำลองภายในเดือนมิถุนายน
ข้อมูล : climate.gov , theguardian