thansettakij
“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

26 เม.ย. 2566 | 08:55 น.
อัปเดตล่าสุด :26 เม.ย. 2566 | 09:11 น.

“มนัญญา” ลุยใต้เปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคใต้ พร้อมเปิดตัว 2 โครงการใหญ่ “DOA Green Together ” และ“การผลิตแบบผสมผสานทางการเกษตร 1 ไร่ 1 แสน ในพื้นที่ในภาคใต้” เพิ่มรายได้เกษตรผสมผสาน ลดโลกร้อน นำร่องภาคสมัครใจ

มนัญญา ไทยเศรษฐ์ มนัญญา ไทยเศรษฐ์

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชภาคใต้ ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี กรมวิชาการเกษตร ภายใต้แนวคิด  "วิชาการเกษตรนำ เทคโนโลยีล้ำ  เกษตรกรรมใต้ยั่งยืน" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 เมษายน พ.ศ.2566 โดยมีนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เข้าร่วม พร้อมกันนี้นางสาวมนัญญา และผู้บริหารกรมวิชาการเกษตรได้ร่วมกันปลูกต้น Silver oak เพื่อช่วยในการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เปิดตัวโครงการ “DOA Green Together”แปลงต้นแบบการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในการผลิตพืช และแนวทางปฏิบัติในการลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และเปิดตัวโครงการ “การผลิตแบบผสมผสานทางการเกษตร 1 ไร่  1  แสน ในพื้นที่ในภาคใต้” ซึ่ง กรมวิชาการเกษตรจัดทำแนวทางลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร 2 แนวทาง ประกอบด้วย

1.การจัดทำต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืช  โดยมีแนวทางการดำเนินงานในพืชเป้าหมายที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา และไม้ผล (ทุเรียน และมะม่วง) ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาเป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

2. การพัฒนากรมวิชาการเกษตรเพื่อเป็นหน่วยงานตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้กรมวิชาการเกษตรสามารถเป็นหน่วยงานในการตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้และการเกษตร พร้อมกับจัดตั้งหน่วยงานภายในกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับ การวิจัยและพัฒนาก๊าซเรือนกระจกเพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว

สำหรับ โครงการ “การผลิตแบบผสมผสานทางการเกษตร 1 ไร่ 1 แสนในพื้นที่ภาคใต้” เป็นต้นแบบสวนมะพร้าวแบบผสมผสาน พื้นที่ 1 ไร่ ดูแลจัดการสวนโดยใช้แรงงานเพียง 1 คน โดยปลูกมะพร้าวเป็นพืชหลัก แซมด้วยไม้ผล และพืชผัก เป็นการดำเนินการตามโครงการ “GAP Monkey Free Plus” โดยยึดหลักการ “ตลาดนำการผลิต” ซึ่งพบว่า วิธีการใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวมะพร้าวด้วยการใช้ไม้สอย จะช่วยสร้างอาชีพให้แก่แรงงานในท้องถิ่น

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

โดยมีค่าตอบแทนการเก็บเกี่ยวลูกละ 2 บาท เฉลี่ยสร้างรายได้วันละ 4,000 บาท ขณะที่เจ้าของสวนมะพร้าว นอกจากจะมีรายได้จากมะพร้าว ยังมีการทำสวนผสมผสานการเลี้ยงผึ้งโพลงในสวนมะพร้าว ซึ่งสร้างรายได้ในระบบการผลิตสูงถึง 100,000 บาทต่อไร่ต่อปี จากการเก็บผลผลิต ทั้งพลู หมาก ไม้ผล  ทุเรียน มังคุด เงาะ  สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร 60,000 บาทต่อไร่ต่อปี ขณะที่การเลี้ยงผึ้งในสวนมะพร้าวที่ 40 รังต่อไร่ เฉลี่ยให้ผลผลิตน้ำผึ้ง 50-60 ขวดต่อปี จะมีรายได้ประมาณ 40,000 บาทต่อปี

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

การจัดงานในครั้งนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8  รวมถึงหน่วยงานกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด  ความร่วมมือของภาคเอกชน และเกษตรกร  เพื่อถ่ายทอดผลงานวิจัยและเทคโนโลยีตลอดระยะเวลา 50 ปีของกรมวิชาการเกษตรสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งเกษตรกร  ผู้ประกอบการ  และผู้สนใจที่จะนำผลงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรไปใช้และขยายผลผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  Smart Farmer เกษตรกรนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปรวมประมาณ 1,000 ราย

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

นิทรรศการในงานประกอบด้วย การแสดง พืชไร่พันธุ์ดี ที่สร้างรายได้ดี รวดเร็ว การปลูกพืชผสมผสานตามหลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง พันธุ์พืชท้องถิ่น พืช GI ที่เป็นพืชอนาคตแห่งภาคใต้ เทคโนโลยีผลผลิตสีเขียว ด้วยผลิตภัณฑ์ชีวภาพ  ต้นแบบแปลงส้มโอทับทิมสยามเพื่อการส่งออก นวัตกรรมการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักภาคใต้ One Stop Service ทางการเกษตรจากใจกรมวิชาการเกษตร  และมิตรภาพทางการเกษตร โดยบริษัทจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

“มนัญญา” ลุยเปิด 2 โปรเจ็กต์ ลดโลกร้อน-เพิ่มรายได้เกษตรกร

ด้าน นางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กล่าวเสริมว่า งานในวันนี้จัดภายใต้แนวคิด “วิชาการเกษตรนำ เทคโนโลยีล้ำ เกษตรกรรมใต้ยั่งยืน”  โดยมีการจัดทำแปลงสาธิตแสดงพันธุ์พืช นิทรรศการ ผลงานวิชาการ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อถ่ายทอด ขยายผลให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ นำไปปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่รวมทั้งให้บริการคลินิกกรมวิชาการเกษตรเคลื่อนที่อย่างครบวงจร ทั้งบริการวิชาการ เทคโนโลยีการผลิตด้านพืช บริการตรวจรับรอง GAP พืช และพืชอินทรีย์ การตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารพืชในดิน การให้บริการโครงการร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q shop) เป็นต้น