นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายพรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว (Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล) โดยมีข้อความระบุถึงความแตกต่างของ 2 ลุงเรื่องนโยบายไฟฟ้าโซล่าร์
นายธีระชัย บอกว่า ได้อธิบายหลายครั้งแล้วว่า ลุงป้อมนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานของลุงตู่
ในรูป 1 จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ประกอบด้วย
และลุงตู่ไม่เคยมอบหมายลุงป้อม ดังนั้น ลุงป้อมรวมไปถึงรัฐมนตรีอื่นในคณะรัฐมนตรีที่ไม่มีชื่ออยู่ในกฎหมายนี้ ...
ก็ไม่มีผู้ใด มีสิทธิ์เข้าไปร่วมประชุมเป็นกรรมการ
รูป 2 ลุงตู่เสนอนโยบายของพรรครวมไทยสร้างชาติ
"ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านสำหรับผลิตไฟฟ้า และขายเข้าระบบเพื่อสร้างรายได้"
ลุงป้อมก็เสนอนโยบาย สนับสนุนให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์เช่นกัน
แต่สองลุงมีข้อแตกต่างกัน หน้ามือกับหลังมือ
หนึ่ง ใจลุงตู่อยู่ที่นายทุน
ถึงแม้ลุงตู่ซื้อไฟฟ้าจากครัวเรือนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน
แต่กลับกำหนดเพดานปริมาณวงเงินที่อนุญาตแก่ครัวเรือน เอาไว้เพียงต่ำๆ
ลุงตู่กลับเน้นสนับสนุนนายทุนขนาดใหญ่ให้ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ แทนประชาชน โดยเปิดประมูลเป็นล่ำเป็นสัน
รูป 3 มีข่าวว่า ลุงตู่เปิดประมูลไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็นล็อตใหญ่ถึง 8,000 เมกะวัตต์ จะทำให้ราคาหุ้นกระฉูด
ถามว่า ที่ลุงตู่เปิดประมูล กำลังผลิต 8,000 เมกะวัตต์นั้น ใหญ่หรือไม่?
ตอบว่า เปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าที่บางปู จังหวัดสมุทรปราการ 114 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าที่หนองแค จังหวัดสระบุรี 124 เมกะวัตต์
ทั้งนี้ ถ้าหากลุงตู่มีใจ อยากจะช่วยให้ประชาชนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน ให้สามารถขายเพื่อสร้างรายได้จริง
ลุงตู่ย่อมต้องไม่เปิดประมูลให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่
นอกจากนี้ ในรูป 4 จะเห็นข่าวระบุว่า ผู้ชนะประมูลอันดับหนึ่งได้แก่ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF
โดยบริษัทนี้ ได้กำลังการผลิตไปเป็นจำนวนถึง 2,500 เมกะวัตต์!!!
ส่วนผู้ชนะอันดับ 2 ลงไปถึง 8 นั้น ได้เพียง 832 ลงไปถึง 12 เมกะวัตต์
แต่นโยบายลุงป้อม
จะเน้นให้รัฐรับซื้อไฟฟ้าจากประชาชนที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน อย่างเต็มที่
นโยบายลุงป้อม จะไม่เน้นเปิดประมูลไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ ดังเช่นลุงตู่
เพราะด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ แข่งกับโซลาร์ฟาร์มของบริษัทยักษ์ใหญ่ได้
และยังสามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง ได้อีกด้วย
ลุงตู่ไม่เปิดประตูกว้างให้ประชาชน
ลุงตู่ไม่ได้ดูแล ให้ระบบราชการปรับปรุงกระบวนการอนุญาตให้ประชาชนติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน
โดยประชาชนต้องยื่นขออนุญาตจาก 3 หน่วยงาน ซึ่งใช้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
แต่นโยบายลุงป้อม
จะเปลี่ยนวิธีการอนุญาตให้เป็นแบบทั่วไป โดยกำหนดให้ระบบราชการ เพียงแต่กำหนดมาตรฐานการปฎิบัติ
นโยบายลุงป้อมจึงจะลดเวลา ขั้นตอน และค่าใช้จ่ายในเรื่องการขออนุญาตลงได้อย่างมาก
จะเปลี่ยนเป็นเปิดประตูกว้างให้ประชาชน
ลุงตู่รับซื้อแบบไม่เต็มใจ
ถึงแม้ครัวเรือนซื้อไฟฟ้าจากรัฐในราคาหน่วยละ 4.70 บาท
แต่ลุงตู่กำหนดราคาให้ครัวเรือนขายไฟฟ้าให้รัฐ ในราคาเพียงหน่วยละ 2.20 บาท
การกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าจากครัวเรือนในราคาที่ต่ำเช่นนี้ มีผลอัตโนมัติเป็นการบีบ
ไม่ให้โซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกินไป
นโยบายของลุงตู่ จึงมีผลเป็นการปกป้องคุ้มครองธุรกิจ ของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ของเอกชน โดยปริยาย
แต่นโยบายลุงป้อม
จะเปลี่ยนวิธีการรับซื้อไฟฟ้า เป็นระบบ "หักกลบลบหน่วย" (net metering)
ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าด้วย
ในระบบ "หักกลบลบหน่วย" ครัวเรือนจะสามารถขายไฟฟ้าให้แก่รัฐได้ ในราคาเดียวกันกับที่ครัวเรือนซื้อไฟฟ้าจากรัฐโดยอัตโนมัติ
ถ้าซื้อไฟจากรัฐในราคาหน่วยละ 4.70 บาท ก็จะขายไฟส่วนเกินให้แก่รัฐได้ในราคาหน่วยละ 4.70 บาทเท่ากันเสมอ
นโยบายลุงป้อม จะทำให้การติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน มีกำไรและคุ้มทุนรวดเร็วกว่าเดิมอย่างมาก
นโยบายลุงป้อม จะทำให้ธนาคารรัฐและธนาคารเอกชน รีบพร้อมใจกัน มาให้กู้ยืมแก่ครัวเรือนเพื่อการนี้
อันจะเป็นการทำให้ครัวเรือนของคนในเมืองมีรายได้ โดยรัฐไม่ต้องควักกระเป๋าเอางบประมาณไปอุดหนุน
ลุงตู่ไม่ให้น้ำหนักแก่ชาวชนบท
ในขณะที่ลุงตู่เปิดประมูลให้ธุรกิจขนาดใหญ่ทำโซลาร์ฟาร์ม มากถึง 8,000 เมกะวัตต์
ลุงตู่กลับไม่ได้ให้น้ำหนักแก่ชาวชนบทเลย
แต่นโยบายลุงป้อม
จะสนับสนุนโครงการ หนึ่ง อบต./เทศบาล หนึ่ง โซลาร์ฟาร์ม
โดย อบต./เทศบาล เป็นผู้จัดหาที่ดินประมาณ 5-6 ไร่ ส่วนรัฐจะจัดให้ธนาคารของรัฐเป็นผู้ออกทุนสร้างโซลาร์ฟาร์ม
กำไรหลังจากคืนหนี้ให้แก่ธนาคารของรัฐ
ส่วนหนึ่งจะแบ่งให้แก่ อบต./เทศบาล เพื่อเป็นทุนให้ประชาคมท้องถิ่นลงมตินำไปใช้พัฒนาชุมชน
กำไรส่วนที่เหลือ จะคืนให้แก่ชุมชนในรูปของการรับซื้อไฟฟ้า ในระบบ "หักกลบลบหน่วย"
นโยบายลุงป้อม จะทำให้เงินเข้าไปในกระเป๋าของครัวเรือน ทั้งคนในเมือง และคนในชนบท
ซึ่งเงินดังกล่าวจะหมุนเวียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สรุปแล้ว
หัวใจลุงตู่-อยู่ที่นายทุน
หัวใจลุงป้อม-ล้อมด้วยประชาชน
ค่าไฟจะไปสุดกู่ถ้าลุงตู่อยู่ต่อ
เลือกพรรคพลังประชารัฐ เบอร์ 37
[หมายเหตุ : ตัวเลข 4.70 บาท สองขานั้น เขียนเพื่ออธิบายแบบเข้าใจง่าย แต่ในทางปฏิบัติ ราคาที่รัฐจะรับซื้อได้สูงสุดนั้น จะเป็นไปตามราคาฐาน ]