มีงานวิจัยล่าสุดพบว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอาจส่งผลต่อการนอนหลับของเรา ไม่ใช่แค่ว่าเราตื่นเพราะกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้หรอกนะ แต่การศึกษาใหม่แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยงของการนอนไม่เพียงพอเพิ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร?
หลายคนคงเคยประสบปัญหาการนอนเมื่ออากาศร้อนเกินไป เมื่อเปรียบเทียบสภาพอากาศในท้องถิ่นกับข้อมูลการติดตามการนอนหลับจากสายรัดข้อมือ นักวิจัยที่นำโดย Kelton Minor จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พบว่าอุณหภูมิตอนกลางคืนที่อุ่นขึ้น นั่นถือ เป็นอันตรายต่อการนอนหลับ
งานนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลการนอนมากกว่า 7 ล้านครั้ง จากคน 47,000 คนใน 68 ประเทศระหว่างปี 2015 ถึง 2017 พบว่าอุณหภูมิตอนกลางคืนที่อุ่นขึ้นเป็นอันตราย ทำให้คนนอนหลับได้น้อยลงเฉลี่ย 14 นาทีต่อวัน รวมๆ เเล้วเราเสียเวลาการนอนหลับไปทั้งหมดราว 44 ชั่วโมงต่อปี
หากเรายังปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอัตราปัจจุบัน ภายในปี 2100 แต่ละคนอาจเผชิญกับการนอนหลับสั้นขึ้น โดยเฉลี่ย 2 สัปดาห์ หรือสูญเสียการนอนหลับระหว่าง 50 ถึง 58 ชั่วโมงต่อปี
ใครบ้างเสี่ยงต่อการอดนอนเพราะสภาพอากาศมากที่สุด?
ไม่ใช่ทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้นต่อการนอน นักวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุ ผู้อาศัยอยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ ผู้หญิง และผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด จะได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในเอเชีย ออสเตรเลีย และตะวันออกกลางจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ
รายงานจาก CNN ระบุว่า เดือนตุลาคม 2015 ซานดิเอโกประสบกับอุณหภูมิฤดูใบไม้ร่วงที่อบอุ่น เป็นประวัติการณ์ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 เมืองที่ปกติจะเย็นและแห้งกลับอบอุ่นที่สุด สามคืนในช่วงเวลานั้นเกิดคลื่นความร้อนเป็นประวัติการณ์
นิค โอบราโดวิช หนี่งในทีมวิจัย ระบุว่า ตอนนี้ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่เอาศัยอยู่ได้ไม่ดีพอ อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ
อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการนอนหลับคือเท่าไร?
ประมาณ 16 ถึง 20 องศาเซลเซียส ร่างกายจะควบคุมอุณหภูมิภายในของเมื่อนอนหลับ แต่เมื่ออุณหภูมิภายนอกที่สูงขึ้นจะทำให้สิ่งนี้ยากขึ้น เเละเมื่อนอนไม่เพียงพออาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง เช่น สุขภาพจิตไม่ดี โรคอ้วน ปัญหาหัวใจ หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
ข้อมูล : Environman , cnn , washingtonpost , euronews