นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) เปิดเผยในงานสัมมนา Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน? ช่วง special Talk: Cliimate tech เทคโนโลยีรับมือโลกเปลี่ยน ว่า ที่ผ่านมาพบว่าหลายประเทศเจอสถานการณ์โลกร้อนเหมือนกัน ส่งผลกระทบต่อโลก,ความเป็นอยู่,เศรษฐกิจ ฯลฯ
หากเปรียบการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ดังกล่าวได้ ดังนี้ ทุกข์ คือ เรากำลังกลัวว่าอุณหภูมิของโลกจะสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส โดยปัจจุบันเราสามารถทนอุณหภูมิได้เพียง 1.2-1.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ถือเป็นอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1-2 องศาเซลเซียสก่อนเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม อีกทั้งยังพบว่า ความกว้างของอุณหภูมิจุดสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นด้วย เบื้องต้นเราต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส หากไม่สามารถควบคุมได้จะทำให้เป็นทุกข์อย่างมาก
ส่วนสมุทัย หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์นั้น ในทางวิทยาศาสตร์พบว่า สาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นมากจากตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดปัญหานี้ คือ ก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่ได้มีมลพิษ แต่มีกลุ่มแก๊สที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นจนมีลักษณะเป็นเตาอบเหมือนกับเรือนกระจก ส่งผลให้อุณหภูมิร้อนกว่าปกติ ที่มาจากคน โดยเฉพาะกลุ่มพลังงานที่มีการนำฟอสซิล,ถ่านหิน,น้ำมัน ,แก๊ส รวมทั้งการผลิตปูนซีเมนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม การถลุงเหล็ก ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการผลิตก๊าซเรือนกระจก
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบเป็นนิโรธนั้น เราจะสามารถคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส คือ เน็ตซีโร่ โดยเราต้องเลิกปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อไม่ให้ไม่ให้ก๊าซเรือนกระจกสะสมเพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 400,000-500,000 ตัน หากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่านี้จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ในหลายประเทศทั่วโลกมีแผนร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
โดยมีองค์การสหประชาชาติ (UN) และ 197 ประเทศ เข้าร่วมประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 หรือ COP 27 โดยแต่ละประเทศจะมีการออกกฎเกณฑ์หรือมาตรการต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยผลักดันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
นายเกียรติชาย กล่าวต่อว่า ขณะที่มรรคนั้นเปรียบได้กับ Cliimate Action ซึ่งเราจะต้องอยู่ร่วมกับมันให้ได้ โดยมีการดีไซน์รูปแบบใหม่ให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าการยกเลิกปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่จะทำให้เราสามารถรักษาโลกไว้ได้
ในปัจจุบันโลกมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประมาณ 50,000 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะนี้เรามีเวลาเหลือน้อยลง หากปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นอีก จะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงถึง 4 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีลดการเกิดก๊าซเรือนจกลงให้ได้ เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเหลือ 20,000 ล้านตันต่อปี
สำหรับเทคโนโลยีโซลูชั่นที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนจก พบว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับอาคารเป็นส่วนใหญ่ เช่น เทคโนโลยี Tranfortation,ระบบการลดความเย็น,อุตสาหกรรม,renewable เทคโนโลยีที่ผลิตไฟฟ้าโดยไม่ใช้ก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ