สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ ฟีฟ่า เล่นใหญ่ประกาศยืนยัน ว่า โมร็อกโก โปรตุเกส และ สเปน จะเป็นเจ้าภาพร่วมหลักการจัดศึก ฟุตบอลโลก 2030 หรือ FIFA World Cup พร้อมกับให้ อุรุกวัย อาร์เจนตินา และ ปารากวัย จัดการแข่งขัน 3 เกมแรกของทัวร์นาเมนต์ โดยเปิดสนามที่ อุรุกวัย เพื่อชวนคนทั้งโลกมากฉลองครบรอบ 100 ปี ฟุตบอลโลก ซึ่งฟุตบอลโลกครั้งแรกจัดขึ้นที่ อุรุกวัย เมื่อปี 1930 เกมที่ 2 จะจัดที่ อาร์เจนติน่า และเกมที่ 3 แข่งที่ ปารากวัย
ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก ที่จัดขึ้นมากกว่าหนึ่งทวีป และครั้งแรกที่มีประเทศเจ้าภาพมากกว่า 3 ชาติ โดยปี 2002 เท่านั้นที่มีเจ้าภาพมากกว่าหนึ่งประเทศอย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น จากมติดังกล่าวทำให้ 6 ชาติเจ้าภาพ ได้สิทธิเตะรอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ
โดยฟุตบอลโลกครั้งหน้า ซึ่งจะมีขึ้นในปี 2026 ที่ แคนาดา เม็กซิโก และ สหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพร่วมกัน เป็นทัวร์นาเมนต์แรกที่เพิ่มทีมแข่งขันจาก 32 เป็น 48 ทีม เเละจากการประมาณการขององค์กรปกครองโลก ฟุตบอลโลกปี 2026 จะสร้างผลกำไรเพิ่มขึ้น 521 ล้านปอนด์จะเป็นทัวร์นาเมนต์ที่โด่งดังที่สุดเท่าที่เคยมีมา
แต่ทุกอย่างจะดำเนินการอย่างไร? และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เล่นและแฟนๆ คืออะไร ? แน่นอนว่าอาจมีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณา แต่ที่เป็นประเด็นใหญ่ที่มาจากความตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณเตือนถึงความเปลี่ยนแปลงมากมายบนโลกอย่างน่าตกใจที่มาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หลายภาคส่วนพยายามช่วยกันหยุดวิกฤตก่อนที่โลกจะเดือดไปมากกว่านี้ "ฟุตบอลโลก" ก็เป็นหนึ่งที่ประกาศว่าจะเป็นอีเวนต์ที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) นำไปสู่คำถามว่าจะทำได้จริงหรือไม่
ฟุตบอลโลก 2030 ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับฟีฟ่าต่อสภาพอากาศ
BBC Sport วิเคราะห์ว่า ฟุตบอลโลก 2030 รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการความเป็นกลางทางคาร์บอนคาดว่าจะถูกเปิดเผยในเวลาอันควร จนกว่าข้อมูลเกี่ยวกับเมืองเจ้าภาพเเละกำหนดการจะเผยเเพร่ แต่เป็นที่แน่ชัดว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องเดินทางทางอากาศเพิ่มขึ้น แฟนบอลที่หวังจะติดตามทีมโปรดของพวกเขาด้วย รวมทั้งการเคลื่อนย้ายที่จำเป็นระหว่างทวีปและประเทศต่างๆ อาจมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
กำหนดการอาจเป็นปัญหาในช่วงเเรกสำหรับผู้ที่รับชมจากระยะไกลอย่างแน่นอน ด้วยเวลาที่แตกต่างกัน 5 ชั่วโมง ระหว่างปารากวัยและสเปน นั่นทำให้เกิดปัญหาเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ลงเล่นนัดเปิดสนามในอเมริกาใต้ โดยใช้เวลาบินเฉลี่ยระหว่างอาร์เจนตินาและสเปนประมาณ 13 ชั่วโมง
การเดินทางเพิ่มเติมนี้ยังทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับ ความมุ่งมั่นของฟีฟ่าต่อความยั่งยืน หลังจากการอ้างว่า "ฟุตบอลโลก 2022" ที่จัดขึ้นที่ประเทศกาตาร์ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 2565 จะเป็นคาร์บอนเป็นกลาง จนถูกนักสิ่งแวดล้อมวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการประเมินที่อันตราย
ฟีฟ่าบอกกับ BBC Sport ว่า ตระหนักดีว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เร่งด่วนที่สุด และเชื่อว่าทุกคนจะต้องดำเนินการด้านสภาพอากาศอย่างทันท่วงทีและยั่งยืน ทั้งยังตระหนักดีถึงผลกระทบที่อีเว้นท์ขนาดใหญ่มีต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ต่อผู้คนและชุมชน และได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการจัดการกับผลกระทบเหล่านั้น
หน่วยงานกำกับดูแลกล่าวว่า จะใช้กลยุทธ์ความยั่งยืนที่แข็งแกร่งสำหรับงานนี้ ฟีฟ่าจะทำทุกอย่างที่เป็นไปได้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ของทีม แฟนบอล และเจ้าหน้าที่ให้สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เหลือน้อยที่สุด
ฟีฟ่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2040
เมื่อเดือพฤศจิกายน 2021 ฟีฟ่า นำเสนอกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศในการประชุม UN Climate Change Conference (COP26) ในสกอตแลนด์ โดยยืนยันคำมั่นสัญญาต่อกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - กีฬาเพื่อกรอบการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ
ซึ่งรวมถึงความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของฟุตบอลและมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายระดับโลกด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030 และลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2040 ตามเป้าหมายที่กำหนดโดยข้อตกลงปารีสในปี 2015
FIFA Climate Strategy
ข้อมูล
Qatar’s Carbon-Neutral World Cup Is a Fantasy
Qatar World Cup: Fifa's carbon neutrality claim 'misleading and incredibly dangerous'
World Cup 2030: Six countries, five time zones, three continents, two seasons, one tournament
FIFA Council takes key decisions on FIFA World Cup™ editions in 2030 and 2034