รายงานฉบับใหม่ เตือนว่าโรงพยาบาล 1 ใน 12 ภูมิภาค ทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะมีการปิดตัว ทั้งหมดหรือบางส่วนจากเหตุการณ์ "สภาพอากาศสุดขั้ว" ซึ่งได้รับเเรงผลักดันจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" โดยไม่มีการยุติการใช้ "เชื้อเพลิงฟอสซิล" อย่างรวดเร็ว
จากโรงพยาบาลทั้งหมด 16,245 แห่งอาจถูกปิดบางส่วนหรือทั้งหมดภายในสิ้นศตวรรษ ตามรายงานจาก XDI (Cross Dependency Initiative) นักวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งพิจารณายอดรวมของ โรงพยาบาล 200,216 แห่งทั่วโลก
จากการค้นพบของรายงาน XDI กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพและความปลอดภัยของทุกคน รายงานดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ก่อนวันสุขภาพครั้งแรกในการประชุม COP28 UN Climate Conference ซึ่งจัดขึ้นที่ดูไบ ประเทศต่างๆ จะหารือถึงวิธีการบรรเทาผลกระทบด้านสุขภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการแพร่กระจายของโรคและผลกระทบของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ตามกำหนดการของกิจกรรม
การวิเคราะห์มุ่งเน้นไปที่ความเสี่ยงทางกายภาพต่อโรงพยาบาลที่เกิดจากอันตรายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 6 เหตุการณ์ ได้แก่ น้ำท่วมชายฝั่ง น้ำท่วมในแม่น้ำ น้ำท่วมผิวดิน ไฟป่า ลมแรง และลมพายุไซโคลน ตลอดจนวิธีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ข้อค้นพบที่สำคัญ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรงพยาบาลเสี่ยงสูงเสียหายมากที่สุดในโลก
ด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูง โรงพยาบาลเกือบ 1 ใน 5 (18.4%) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการปิดระบบทั้งหมดหรือบางส่วนภายในสิ้นศตวรรษนี้
รองลงมาคือเอเชียตะวันออกร้อยละ 10.78 และเอเชียใต้ร้อยละ 9.97
ขณะที่ อเมริกาเหนือ คาดว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดต่อความเสียหายกับโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลทั้งหมดภายในสิ้นศตวรรษนี้ โดยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 430 ของปริมาณความเสี่ยงนับตั้งแต่ปี 2020 ตามมาด้วยเอเชียตะวันออกที่ร้อยละ 412
ในรายงานระบุด้วยว่า โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งและใกล้แม่น้ำ มีความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากน้ำท่วมในแม่น้ำและน้ำผิวดิน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความเสียหายต่อโรงพยาบาล ในช่วงปลายศตวรรษน้ำท่วมชายฝั่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รุนแรงขึ้นจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น) และกลายเป็นอันตรายที่สำคัญที่สุดหลังน้ำท่วมในแม่น้ำภายในปี 2100
เมื่อเจาะลึกลงไปถึงการวิเคราะห์ที่เเสดงถึง อันดับประเทศ จำนวนโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง ภายในปี 2100 และร้อยละของโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงภายในปี 2100 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
ไทยติดอันดับ 22 จาก 50 ประเทศเเรก มีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุด
อินเดียติดอันดับ 50 ประเทศที่มีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงมากที่สุด โดยมี 5,120 แห่ง ตามมาด้วยจีนซึ่งมีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง 1,302 แห่ง แคนาดามีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูง 38 แห่งภายในปี 2100 และอยู่ในอันดับที่ 43
ขณะที่ ประเทศไทย ติดอันดับ 22 ใน 50 ประเทศเเรก โดยมีโรงพยาบาล 104 แห่ง ร้อยละ 6.5 มีความเสี่ยงสูง ภายในปี 2100
ยิ่งลงรายละเอียดเข้าไปจะพบความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาลจากปี 2020 เป็น 2100 ภายใต้ สถานการณ์การปล่อยก๊าซที่แตกต่างกันสองแบบ – RCP 8.5 (สูง) และ RCP 2.6 (ต่ำ) พบว่าโดยเฉพาะประเทศไทย ฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุด มีความเสี่ยงต่อความเสียหาย เพิ่มขึ้น ระว่างปี 2020-2050 ร้อยละ 130 ขณะที่ ปี 2020-2100 ร้อยละ 352 จากโรงพยาบาลที่วิเคราะห์ 1,608 แห่ง
ขณะที่ฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ดีที่สุด มีความเสี่ยงต่อความเสียหาย เพิ่มขึ้น ระว่างปี 2020-2050 ร้อยละ 66 ขณะที่ ปี 2020-2100 ร้อยละ 123 จากโรงพยาบาลที่วิเคราะห์ 1,608 แห่ง เช่นกัน
ความเเตกต่างระหว่าง RCP8.5 เเละ RCP 2.6
ตามแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อ้างอิงข้อมูลจาก ป่าสาละ
RCP 8.5 คือ ฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุด คาดการณ์ว่าการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษนี้ โดยในปี 2100 จะมีความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเท่ากับ 950 ส่วนต่อล้านส่วน ขณะที่ความการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีจะค่อนข้างคงที่ที่ราว 30 กิกะตัน คิดเป็นเกือบ 4 เท่าของการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 8 กิกะตันต่อปีในปี 2000 (ประมาณ 4.3 องศาฯ)
RCP2.6 เป็นฉากทัศน์ที่มองโลกในแง่ดีที่สุด โดยทุกประเทศผลักดันนโยบายภูมิอากาศอย่างเร่งด่วน ในฉากทัศน์นี้ การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกจะถึงจุดยอดในปี 2020 ก่อนลดลงเหลือศูนย์ในปี 2080 ส่วนความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะสูงสุดที่ 440 ส่วนต่อล้านส่วนในกลางคริสต์ศตวรรษ (ประมาณ 1.8 องศาฯหรือต่ำกว่า)
เเสดงผ่านภาพอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นในแต่ละฉากทัศน์ตั้งแต่ 2005 จนถึง 2100 โดย Reservoir yield intercomparison of large dams in Jaguaribe Basin-CE in climate change scenarios