โลกกำลังเข้าสู่ชั่วโมงสุดท้ายในการประชุมเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ COP28 โดยมี สุลต่าน อัล จาเบอร์ ประธาน COP28 พยายามผลักดันให้เสร็จสิ้นตรงเวลา ขณะที่ผู้ร่วมประชุมเกือบ 200ประเทศใน COP28 กำลังหมดเวลาที่จะตกลงกันเกี่ยวกับวิธีการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาวะโลกร้อน และรักษาภาวะโลกร้อนที่เลวร้ายที่สุดไว้ ในวันนี้ (12 ธันวาคม 2566) แม้ว่า COP มักจะถูกขยายเวลาออกไป หากประเทศต่างๆ ไม่สามารถบรรลุฉันทามติได้ก็ตาม
ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนเกี่ยวกับอนาคตของ "เชื้อเพลิงฟอสซิล" คำถามก็คือ ข้อตกลงนี้จะสามารถบรรลุซึ่งใช้ได้ผลสำหรับทุกคน ทุกประเทศได้หรือไม่ ?
Simon Stiell เลขาธิการคณะกรรมการบริหารของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ กล่าวว่า ทุกคนมุ่งความสนใจไปที่ผลลัพธ์ใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า เพื่อผลลัพธ์ที่ตอบสนองต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับฝ่ายต่างๆ
ประเทศไทย นำโดย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เเละคณะเข้าร่วมการประชุม COP28 ได้กล่าวถ้อยแถลง ระบุว่า ไทยมุ่งมั่นในการดำเนินการตามเป้าหมาย โดยจะมีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายตามแผนการ ลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030 หรือ NDC Roadmap (การมีส่วนร่วมที่แต่ละประเทศกำหนดเอง' หรือ Nationally Determined Contributions : NDCs)
นอกจากนี้รัฐบาลไทยจะเร่งผลักดัน พระราชบัญญัติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นครื่องมือในการกำกัลดูเเลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเเละเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีกลไกการเงินที่เหมาะสมเเละเข้าถึงได้เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero อย่างเป็นระบบ และไทยยังได้จัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเพื่อเป็นกรอบหลักในการในการสร้างความภูมิคุ้มกันอย่างยั่งยืนให้ประชาชน
รัฐบาลไทยกำลังผลักดันตัวอย่างของการปรับตัวใน "ภาคเกษตร" เพื่อลดการปล่อยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควบคู่กับการรักษาความมั่นคงทางอาหารผ่าน "โครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่ทันต่อสภาพภูมิอากาศ" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสภาพภูมิอากาศสีเขียว นอกจากนี้ยังเเสดงความเห็นต่อการระดมเงินแสนหล้านเหรียญสหรัฐต่อปีภายในปี 2025 ไปถึงล้านล้านเหรียญจะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการบรรลุเป้าหมายของประเทศที่กำลังพัฒนา
"ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคียินดีที่จะได้เห็นความชัดเจนสำหรับกองทุนการสูญเสียและความเสียหายใน COP 28 และหวังว่าการดำเนินการระดับโลกจะสะท้อนให้เห็น เส้นทางสู่ 1.5 องศา ตามเป้าหมายปารีส โลกใบเดียวข้องเราว่า ปี 2023 กำลังจะถูกบรรทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่เราทุกคนจะต้องร่วมกันลงมือทำ" พล.ต.อ.พัชรวาท กล่าว
จากคำกล่าวของ พล.ต.อ.พัชรวาท จุดที่น่าสนใจคือ ความท้าทายของคำมั่นสัญญาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหมด โดยเฉพาะ "กิจกรรมการเกษตรและอาหาร" เพราะมีผลกระทบต่อไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม นั่นหมายถึง ภารกิจของรัฐบาลที่จะต้องวางแผนปฏิบัติการซึ่งจะไม่ใช่เเค่นโยบายรัฐบาลเเต่ยังรวมถึงภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ตลอดจนเกษตรกร