สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากโลกพลาดเป้าคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศา

09 ธ.ค. 2566 | 11:00 น.
อัพเดตล่าสุด :09 ธ.ค. 2566 | 11:05 น.

สรุปสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นหากโลกพลาดเป้าหมายควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส หลังข้อมูลพบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิงฟอสซิลทำสถิติสูงเป็นประวัติการณ์

อุณหภูมิโลก 1.5 องศาเซลเซียสกำลังใกล้เข้ามา ทำให้นักอุตุนิยมวิทยาหลายคนตกใจ ขณะที่ "สุลต่าน อัล จาเบอร์" ประธาน COP28 ยืนยันเมื่อต้นปีนี้ ว่า การรักษาอุณหภูมิ1.5 องศาเซลเซียสให้คงอยู่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แม้ว่าเขาจะถูกวิพากวิจารณ์ถึงบทบาทอื่นในฐานะหัวหน้าบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Adnoc ซึ่งกำลังเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลในเวลาที่สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ กล่าวว่า "ควรยุติการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล"

Global Carbon Project ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2023 มีการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซมากขึ้นกว่าในปี 2022 โดยมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น 1.1% การเผยแพร่รายงานมีขึ้นในขณะที่ผู้นำโลกมารวมตัวกันที่นครดูไบ เพื่อร่วมประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 28 หรือ COP28 

 

ข้อมูลจาก "เดอะการ์เดียน" ที่รายงานโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศ 5 คนอธิบายความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง 1.5 องศาเซีลเซียส และ 2 องศาเซลเซียส น่าสนใจไม่น้อย เพราะจะทำให้เห็นภาพว่า หากโลกพลาดเป้าหมายในการควบคุมอุณหภูมิจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง  

อาหาร น้ำ และความขัดแย้ง

ข้อมูลจากโครงการ NASA Harvest ของแอฟริกา ระบุว่า ผู้คนในแอฟริกา 70 ล้านคนจะต้องทนทุกข์ทรมานกับความมั่นคงทางอาหารเฉียบพลันที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส ส่วนภัยแล้งที่รุนแรงก็มีโอกาสกว่า 30%  ในขณะที่ผลผลิตข้าวโพดและข้าวฟ่างในแอฟริกาตะวันตกอาจตกต่ำมากกว่าอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสถึง 40-50% การขาดแคลนน้ำจะส่งผลกระทบต่อประชากร 50%

ความไม่มั่นคงด้านอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดความขัดแย้งและมีแรงจูงใจในการอพยพมากขึ้น แม้แต่ในระดับปัจจุบัน ภัยพิบัติยังส่งผลกระทบต่อส่วนต่างๆ ของทวีปอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว เช่น ความแห้งแล้งร้ายแรงที่นำความทุกข์ยากมาสู่พื้นที่ส่วนใหญ่ของแอฟริกาตะวันออกในปี 2019 หรือ พายุไซโคลนอิดาอี ซึ่งทำลายล้างแอฟริกาตอนใต้ในปีเดียวกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพ 

ที่อุณหภูมิ 2 องศาเซลเซียส คาดว่า แมลง 18% , พืช 16% และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 8% จะสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยไปครึ่งหนึ่ง หรือจะเพิ่มสัดส่วนเป็นสองเท่าอย่างน้อยที่อุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส อเมซอนและป่าฝนเขตร้อนอื่นๆ จะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่อุณหภูมิ 2 องศา จะนานกว่าหนึ่งเดือน โดยมีโอกาสเกิดความร้อนจัดมากกว่า 3 เท่า สิ่งนี้จะเพิ่มโอกาสที่ป่าฝนจะถึงจุดเปลี่ยน หลังจากนั้นก็แห้งแล้งและกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาโดยได้รับประโยชน์น้อยลงจากการกักเก็บคาร์บอน การขนส่งทางน้ำ และการระบายความร้อน

แนวปะการังและระบบนิเวศทางทะเล

โลกที่ร้อนขึ้นส่งผลต่อสุขภาพของมหาสมุทรโลก ความเป็นกรดและการสูญเสียออกซิเจนสร้างแรงกดดันต่อการประมงที่ผู้คนหลายพันล้านต้องพึ่งพา

ครึ่งหนึ่งของแนวปะการังซึ่งมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและค่า pH ของน้ำประสบปัญหาการฟอกขาวอยู่แล้ว ในอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส อาจสายเกินไปแล้วด้วยซ้ำในทะเลแคริบเบียนและบางส่วนของมหาสมุทรอินเดียตะวันตก ขณะที่อุณหภูมิ 2 องศา อัตราการรอดชีวิตจะลดลงเหลือระหว่าง 1%-10% เนื่องจากปะการังที่มีสุขภาพดีจะเปราะบาง และไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้

น้ำแข็งละลายและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น

การดำรงอยู่ของประเทศที่อยู่ต่ำที่สุดอาจขึ้นอยู่กับอุณหภูมิครึ่งองศาระหว่าง 1.5 -2 ซึ่งจะเพิ่มระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นอย่างน้อย 10 ซม. ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ส่งผลให้มีประชากรเพิ่มอีก 10 ล้านคนที่เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและคลื่นพายุ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่ผิดปกติ เช่น การล่มสลายของธารน้ำแข็งแอนตาร์กติกที่สำคัญ

การอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็วของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล หรือเหนือเส้นละติจูดที่ 66.5 องศาเหนือขึ้นไป และใต้เส้นแอนตาร์กติกเซอร์เคิล (Antarctic Circle) หรือใต้เส้นละติจูดที่ 66.5 องศาใต้ลงมา ซึ่งบางส่วนมีอุณหภูมิสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรมอยู่แล้ว 4 องศาเซลเซียส ไม่เพียงแค่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดการละลายของชั้นดินเยือกแข็งถาวร (permafrost) การปล่อยก๊าซมีเทน และการหยุดชะงักของกระแสน้ำ (jet stream) ซึ่งทั้งหมดนี้กลายเป็นมากกว่าภัยคุกคามต่อการอยู่รอดของมนุษย์

การปรับตัวและมูลค่าการชดเชย

รายงานการสังเคราะห์ล่าสุดของหน่วยงานสหประชาชาติ สังเกตเห็นผลกระทบที่เพิ่มขึ้นต่อชุมชนที่เปราะบางและชายขอบ รวมถึงชนเผ่าพื้นเมืองและผู้ผลิตรายย่อย แม้ว่าประเทศต่างๆ ตกลงที่จะสร้าง "กองทุนการสูญเสียและความเสียหาย" เพื่อชดเชยประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุด แต่นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตถึงประสิทธิภาพที่ลดลงของการสนับสนุนทางเศรษฐกิจในโลกที่ร้อนอบอ้าว ที่อุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส 

เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในปี 2023 ควรปลุกให้ทุกคนตื่นขึ้น สำหรับการดำเนินการที่ทะเยอทะยานเพื่อรักษาระดับภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสหรือใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายในสิ้นศตวรรษนี้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ยังคงเป็นไปได้ โดยชี้ไปที่ความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นใน "พลังงานทดแทน Renewable energy"