จากกรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ด้าน อันประกอบด้วย
เพื่อศึกษาแผนควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) DTAC
ล่าสุด คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย ได้สรุปข้อเสนอไปยังสำนักงาน กสทช. เพื่อนำเสนอให้ คณะกรรมการ กสทช.พิจารณาต่อไป โดยข้อเสนอของคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วมีมติในการประชุม ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565
ทั้งนี้ DTAC มีสถานะเป็นผู้รับอนุญาตประกอบกิจกาโทรคมนาคม แบบที่ ประเภทบริการอินเทอร์เน็ต แบบ WiFi
บริการ Colacation และ Dedicated server โดยมีบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) เป็น บริษัทย่อย และเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1และแบบที่ 3 DTAC จึงเป็นผู้รับใบอนุญาตตามนัยข้อ 3 ของประกาศรวมธุรกิจ ในขณะที่ TRUE ไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบ
กิจการโทรคมนาคม แต่มีบริษัทย่อยเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ได้แก่
(1.) บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1 แบบที่ 2 และแบบที่ 3
(2) บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์เซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 1 และแบบที่ 3
และ (3) บริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ด จำกัด เป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม แบบที่ 1 TRUE จึงมีสถานะเป็นผู้มีอำนาจควบคุมผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ดังนั้น การรวมธุรกิจของ TRUE และ DTAC ดังกล่าวข้างตัน จึงเข้าลักษณะ"การรวมธุรกิจ" ตามนิยามในข้อ 3 ของประกาศปี 61 ซึ่งกำหนดว่า "การรวมธุรกิจ" หมายความว่า
(1) การที่ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้รับใบอนุญาตรวมกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นหรือผู้มีอำนาจ
ควบคุมของผู้รับใบอนุญาตรายอื่นอันส่งผลให้สถานะของผู้รับใบอนุญาตรายหนึ่งคงอยู่ และ ผู้รับใบอนุญาตอีกรายหนึ่งสิ้นสุดลง หรือเกิดเป็นนิติบุคคลใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพณิชย์หรือตามสัญญาร่วมค้าและโดยที่ข้อ 9 ของประกาศปี 61ให้ถือว่าการรายงานการรวมธุรกิจตามประกาศปี 63 ให้ถือเป็นการขออนุญาตจาก กสทช. ตามข้อ 8 ของประกาศปี 49 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ "การถือครองธุรกิจในบริการ
เภทเดียวกัน"ตามมาตรา 21 (2) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคมการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC จึงเข้าลักษณะของ "การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน"
ด้วยบริการโทรคมนาคม เป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับปริมาณคลื่นความถี่และการลงทุนในการประกอบกิจการที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากตลาดหรืออุตสาหกรรมโทรคมนาคมจึงมีจำนวนผู้เล่นน้อยรายและทำให้มีลักษณะเป็นการกึ่งผูกขาดโดยธรรมชาติ การที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจะกระทำการถือครองธุรกิจประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะโดยการควบรวมในลักษณะของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมควบรวมกันเอง(การควบรวมแนวระนาบ Horizental) การควบรวมระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบโทรคมนาคมกับผู้ประกอบการรายอื่นในห่วงโซ่อุปทาน (การควบรวมแนวตั้ง Vertical) หรือแม้แต่การควบรวมกับผู้ประกอบการที่อยู่นอกเหนือ ตลาดโทรคมนาคม ย่อมที่จะส่งผลต่อการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมในทางใดทางหนึ่งเสมอ อีกทั้งยังอาจส่งผลต่อประชาชนผู้ใช้บริการด้วย ดังนั้น กสทช. จึงมีหน้าที่และความรับผิดตามกฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 60
ประกอบมาตรา 40 และมาตรา 75 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มาตรา 27
(11) และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 21 และมาตรา 22 ที่จะต้องกำกับดูแลการกระทำดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อการแข่งข้นโดยเสรีและอย่างเป็นธรรมในตลาดโทรคมนาคมและประชาชนผู้ใช้บริการ โดยประกาศปี 49 ซึ่งยังมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อ 8 กำหนดให้การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกันจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก กสทช. ก่อน
และประกาศรวมธุรกิจปี 61 ซึ่งกำหนดให้การรายงานการรวมธุรกิจ ถือเป็นการขออนุญาตการถือครองธุรกิจ
ในบริการประเภทเดียวกันตามข้อ 8ของประกาศปี 49 ดังนั้น การรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC จึงอยู่ในอำนาจที่ กสทช. จะพิจารณาอนุญาต หรือไม่อนุญาต หรืออนุญาตอย่างมีเงื่อนไขเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่เป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมได้ ทั้งนี้ การกำหนดมาตรการดังกล่าวจะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็น มีความเหมาะสมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันมิให้มีการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม โดยอาจนำหลักการในกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้ามาประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการ โดย กสทช. ควรที่จะต้องพิจารณาการรายงานการรวมธุรกิจตังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาอันสมควร แต่ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับการรายงานการรวมธุรกิจและความเห็นของที่ปรึกษาอิสระจาก กสทช.
คลิกอ่านรายละเอียด : ข้อเสนอของคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย