นายธีรวุธ ศุภพันธุ์ภิญโญ กรรมการผู้จัดการบริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บราเดอร์ ขอขอบคุณ CC-APAC ที่มอบรางวัลอันทรงคุณค่านี้ให้แก่เรา สำหรับบราเดอร์พนักงานเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดขององค์กร ดังนั้น บริษัทฯ จึงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อทำให้พนักงานมีความสุขและทำให้สถานที่ทำงานเต็มไปด้วยรอยยิ้ม
ปัจจุบัน บราเดอร์ บริหารงานบุคลากรด้วยหลัก “FORCE” ประกอบด้วย Fast Action-ทำงานเร็ว Open Discussion-การระดมสมองสู่เป้าหมายเดียวกัน Responsibility-การมีความรับผิดชอบ Cresitive หรือ Creative + Positive- ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงบวก และ Enjoy working-การมีความสุขและรอยยิ้มในการทำงานที่ทำให้วันนี้บราเดอร์สามารถคว้ารางวัล Gold Award ด้าน Employee Engagement ได้สำเร็จ
ทั้งนี้ องค์กรที่สามารถเข้าร่วม Certified Level ของ CC-APAC Awards 2021 จะต้องเป็นองค์กรที่ได้รับรางวัล Gold Award ในการประกวดจากสมาคม Contact Center ในประเทศของตนเองก่อนเท่านั้น โดย CC-APAC Awards 2021 ที่เปิดทำการ Certified Level ในปี 2021 ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่ง Employee Engagement คือ 1 ใน 5 ประเภทที่บราเดอร์มีโอกาสเข้าร่วม Certified Level เนื่องจากบราเดอร์ได้รับรางวัล Gold Award จาก TCCTA ในประเภท “The Best Human Care Contact Center”
บราเดอร์ได้นำเสนอโครงการ “Happy Workplace Happy at Home” เข้าร่วมประกวดจัดอันดับในประเภท Employee Engagement โดยบราเดอร์ได้รับรางวัล Certified Level ในระดับ “Gold Award” ด้วยคะแนนสูงถึง 87.86 “โครงการ Happy Workplace Happy at Home ประกอบไปด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. WFH 100% ของ Contact Center เพื่อให้พนักงานปลอดภัย ห่างไกลโควิด บราเดอร์จัดเตรียมระบบ เพื่อให้พนักงานพร้อมทำงานแบบ WFH ได้ 100% ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2020 เป็นต้นมา
โดยพนักงานสามารถปฏิบัติงานจากที่บ้านได้เหมือนกับอยู่ในสำนักงาน สามารถควบคุมการทำงานทุกฟังก์ชันได้สมบูรณ์ 100% แสดงให้เห็นถึงการเตรียมความพร้อมและจัดวางระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อความสะดวกในการทำงาน และลูกค้ายังคงได้รับการให้บริการจาก Brother Contact Center ได้สมบูรณ์ ไม่ติดขัด 2. บราเดอร์จัดตั้งสวัสดิการที่ดีมอบให้แก่พนักงานและครอบครัว โดยมีงบประมาณพิเศษที่มอบให้ในเรื่องการดูแลสุขภาพไม่ใช่แค่พนักงานแต่รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัวของพนักงานด้วย และ 3. บราเดอร์สร้างสรรค์โปรเจค “ชั่วโมงเบาใจ” เพื่อพร้อมดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงาน โดยจัดให้มีกิจกรรมที่สามารถพูดคุยนัดพบกับจิตแพทย์ส่วนตัวได้ เพื่อลดความเครียดที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อพนักงาน ครอบครัว และองค์กร
ทั้ง 3 กิจกรรมแสดงให้เห็นว่า บราเดอร์ ให้ความสำคัญและดูแลพนักงานได้อย่างดีเยี่ยม โครงการที่นำเสนอนั้นสอดคล้องกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลและการนำเสนอกิจกรรมและการวัดผลที่สอดคล้องกัน เพื่อให้พร้อมในการขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้ สามารถส่งมอบงานบริการที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้ในทุกสถานการณ์ การที่ บราเดอร์ สามารถดำเนินธุกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้นเป็นเพราะพนักงานเหล่านี้เป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานต่างๆ ตามนโยบายที่องค์กรกำหนดให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย โดยพนักงานถือเป็น 1 ใน 6 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ที่บราเดอร์ให้ความสำคัญและอยู่เคียงข้างมาตลอด
“บราเดอร์ให้ความสำคัญในเรื่องการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร (employee engagement) มาโดยตลอด จากการที่เรามีทีม Committee Welfare ที่เป็นตัวแทนจากแผนกต่างๆ ในการเป็นกระบอกเสียงเพื่อสื่อสาร รับ feedback จากพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนากิจกรรมและสวัสดิการให้เหมาะสมกับพนักงาน มีการทำงานร่วมกันกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลและทีมงานที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อช่วยในการสร้างสรรค์ พัฒนา และวางแผนงานนโยบายของบริษัทในอนาคต ทั้งในด้านการพัฒนาธุรกิจ ด้านพัฒนาขั้นตอนขบวนการการทำงานรวมไปถึงด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของพนักงาน บราเดอร์เชื่อมั่นว่าเรามีความพร้อมที่จะดูแลและอยู่เคียงข้างพนักงานของเราในทุกสถานการณ์ได้อย่างแน่นอน” นายธีรวุธ กล่าวสรุป