นายจัสติน ลี ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร ชิลด์ (SHIELD) ภายใต้ บริษัท ชิลด์ เอ ไอ เทคโนโลจีส์ จำกัด บริษัทชั้นนำของโลก ด้วยระบบการกำกับและบริหารความเสี่ยงด้านดิจิทัล เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ซึ่งเป็นฟินเทคยูนิคอร์นรายแรกของไทย ภายใต้การกำกับดูแลของ ทรูมันนี่ เพิ่มภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์
เพื่อสร้างความไว้วางใจสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ และสร้างมั่นใจให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคนี้สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มแห่งโอกาสเพื่อความเท่าเทียมทางการเงินที่ทั่วถึง
ทั้งนี้ ปัจจุบันในแต่ละประเทศที่ให้บริการวอลเล็ทจะมีภัยคุกคามเกิดขึ้นประมาณ 5-10% ซึ่งระบบ AI ของชิลด์ จะช่วยหยุดยั้งภัยคุกคามด้วยรูปแบบต่างๆ
ด้วยอุปกรณ์และเครือข่ายเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับลูกค้าของทรูมันนี่ จากประสบการณ์มากกว่า 20 ปีเกี่ยวกับการกำกับดูแลและการจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
รวมทั้งเป็นผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและผู้ริเริ่มทางด้านการป้องกันการฉ้อฉลด้วย ทำให้ปัจจุบันชิลด์ เป็นบริษัทชั้นนำของโลกทางด้านการกำกับดูแลและการจัดการความเสี่ยงโดยการใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ทางเครื่องจักร (Marchine Learning) และเทคโนโยลีล่าสุดของ AI
นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ธุรกิจของทรูมันนี่มีผู้ใช้บริการจำนวน 24 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆคาดว่าในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านคน
และในระยะเวลาอันใกล้ 1-2 ปีนี้ จะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นครอบคลุม 50% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ
ซึ่งจากการดำเนินธุรกิจมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นความเชื่อมั่นของลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุดในการมอบบริการนวัตกรรมทางการเงินที่ล้ำหน้า ทำให้เกิคความร่วมมือระหว่างทรูมันนี่้ กับ ชิลด์
โดยจากความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และโซลูชั่นของชิลด์ จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยเพื่อมอบความมั่นใจสูงสุดให้แก่ผู้ใช้ทรูมันนี่ และทำให้บริษัทฯสามารถทุ่มเทเวลาได้มากขึ้นให้กับภารกิจ นั่นคือการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้ชีวิตของทุกคนดีขึ้น
สำหรับจุดเด่นของชิลด์ คือ การมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะเรื่อง AI มีความสำคัญมากต่อทรูมันนี่ เพราะมีฐานข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลต่างๆ จำนวนมาก จึงจำเป็นจะต้องมีเทคโนโลยีที่มีระบบทันสมัยมามาป้องกันความเสี่ยง ป้องกันการฉ้อโกง อาทิ การสแกนด้วยใบหน้าเพื่อแสดงตัวตนที่แท้จริงสำหรับการเข้าใช้ระบบ ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้จริงภายในปี 2565 นี้