กสทช. แนะวิธีรับมือ เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหลอกลวง ดูที่นี่

03 ก.ค. 2565 | 09:48 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ก.ค. 2565 | 16:57 น.

กสทช. แนะวิธีรับมือ เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหลอกลวง หลังมิจฉาชีพเปลี่ยนรูปแบบอยู่ตลอดเวลา ดูรายละเอียดที่นี่

กสทช. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้แนะวิธีรับมือ เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหลอกลวง

วิธีการรับมือ

  • สังเกตเบอร์สักนิดก่อนรับสาย ระวังเบอร์ที่ไม่รู้จัก หรือเบอร์ที่มีเครื่องหมาย + นำหน้า
  • ตั้งสติก่อนรับสาย มิจฉาชีพชอบทำให้เราตกใจหรือ กลัวจนรีบทำตามที่บอก ต้องใจเย็น ตั้งสติ และ ระมัดระวังให้ดี
  • วางสาย หากมั่นใจแล้วว่าเป็นมิจฉาชีพ เก็บหลักฐาน และข้อมูลไว้แจ้งเบาะแส

 

  • แจ้งเบาะแส หน่วยงานที่ดูแล เช่น ตำรวจ ธนาคาร ค่ายมือถือ กสทช. เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตือนประชาชน และให้ตำรวจดำเนินคดี
  • เตือนภัยคนใกล้ชิด เล่าเรื่องกลโกงที่พบเจอให้ คนใกล้ชิดที่มีแนวโน้มจะถูกหลอกไต้ง่ายให้รับรู้ เช่นผู้สูงอายุในครอบครัว

 

กสทช. แนะวิธีรับมือ เมื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรมาหลอกลวง

 

 

 

สิ่งที่ห้ามทำ

  • อย่ากด หากได้รับข้อความแปลกๆ จากแหล่งที่ ไม่รู้จักหรือไม่แน่ใจ เช่น "ยินดีด้วย คุณได้รับสิทธิ์ …คลิกลิงก์เพื่อดูรายละเอียด"
  • อย่าเชื่อ หน่วยงานราชการและสถาบันการเงินไม่มี นโยบายขอหรือตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล อย่าเชื้อที่ปลายสายบอก และวางสายทันที
  • อย่าบอก ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตร เดบิต บัตรเครดิต ฯลฯ แก่ผู้อื่น
  • อย่าโอนเงิน ตามที่ปลายสายบอก มิจฉาชีพมักใช้ กลลวง วนเข้าเรื่องเงินเสมอ หากไม่อยากตกเป็น เหยื่ออย่าโอนเงิน
  •  อย่าคุย หากสงสัยว่าเป็นมิจฉาชีพ ยิ่งคุยต่อจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง ให้รีบวางสาย

 

สำหรับสายด่วน แจ้งเบอรโทรมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์

  • กสทช. โทร.1200
  • ตำรวจ PCT โทร.1441
  • NT โทร.1888
  • True โทร.9777
  • AIS โทร.1185
  • DTAC โทร.1678.