ดร.เกา คิม ฮวน (H.E. Dr. Kao Kim Hourn) เลขาธิการอาเซียน เปิดเผยโดยเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของความสามารถทางด้านดิจิทัลในการขับเคลื่อนการเติบโตและนวัตกรรมของภูมิภาค เพื่อให้ภูมิภาคมีความสามารถในการแข่งขันในเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ ล่าสุดหัวเว่ยได้ดำเนินการร่วมกับมูลนิธิอาเซียน และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) จัดประชุมสุดยอด Asia-Pacific Digital Talent Summit 2024 มุ่งส่งเสริมความร่วมมือ นวัตกรรม และการเติบโตทางด้านดิจิทัล เพื่ออนาคตที่เชื่อมต่อด้วยดิจิทัลและโลกอัจฉริยะ
โดยได้ให้โอกาสเยาวชนที่มีความสามารถกว่า 130 คน มีส่วนร่วมในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ซึ่งเชื่อว่าจะมีบทบาทสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพทางดิจิทัลของภูมิภาค ขับเคลื่อนนวัตกรรม และนำพาไปสู่อนาคตดิจิทัลที่ยั่งยืนและครอบคลุม
นอกจากนี้เพื่อเป็นการตอบรับอาเซียนกำลังพัฒนานโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายความสามารถทางดิจิทัลระหว่างประเทศสมาชิก ส่งเสริมการยอมรับคุณวุฒิร่วมกัน และส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาความสามารถ
"ประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีสิ่งที่ต้องเรียนรู้จากแนวทางของจีนในการเสริมสร้างทักษะดิจิทัลในหมู่เยาวชน การบูรณาการการศึกษาดิจิทัลของจีนเข้าสู่หลักสูตรการศึกษา โดยเน้นที่วิชาต่าง ๆ เช่น การเขียนโปรแกรมและปัญญาประดิษฐ์ (AI) โครงการสำคัญ เช่น แผนพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ และความร่วมมือกับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างหัวเว่ยที่ให้การฝึกอบรมและฝึกงานที่เป็นหัวใจสำคัญของความพยายามนี้”
นายไซมอน หลิน (Simon Lin) ประธานหัวเว่ยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า การประชุมดังกล่าวหัวเว่ยได้ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ตั้งศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาความสามารถทาง ICT ของ ม.อ. ซึ่งเป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ทั้งนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งนักศึกษาและชุมชนในวงกว้าง โดยการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในภาคการศึกษาและอื่น ๆ
ดาโต๊ะ ดร. ฮาบิบะ อับดุล ราฮิม (Datuk Dr. Habibah Abdul Rahim) ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอกอัครราชทูต เอ็ม.ไอ. เดอรี อามาน (M.I. Derry Aman) ประธานคณะกรรมการมูลนิธิอาเซียน กล่าวว่า การลงทุนกับเยาวชนเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพทางดิจิทัลไม่เพียงแต่ในอาเซียนและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย