เกาะติดความคืบหน้าในการจัดตั้งรัฐบาล และโหวตเลือกนายกฯรอบที่ 3 หลังจากประธานรัฐสภาสั่งเลื่อนการประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกฯในวันที่ 27 ก.ค. นี้ออกไปก่อน ขณะที่ 8 พรรคร่วมรัฐบาลตามเอ็มโอยู ก็นัดประชุมไม่ได้จนทำให้การประชุมล่ม ล่าสุด 1 ใน 8 พรรค คือ พรรคพลังสังคมใหม่ ยื่นข้อเสนอให้รื้อข้อตกลง หรือ เอ็มโอยูเดิมของ 8 พรรคแล้ว
ล่าสุดช่วงเช้าวันที่ 26 ก.ค. 66 นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังสังคมใหม่ กล่าวเสนอให้พรรคเพื่อไทย แก้ไขข้อตกลงร่วม หรือ MOU(เอ็มโอยู) ระหว่าง 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลว่า MOU ที่มีการลงนามครั้งแรก 23 ข้อนั้น สนับสนุนให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนโยบาย 23 ข้อนั้น เป็นของพรรคก้าวไกล แต่เมื่อพรรคก้าวไกล ได้ส่งไม้ต่อให้กับพรรคเพื่อไทยแล้ว ดังนั้น MOU ก็จะต้องให้พรรคเพื่อไทย เป็นผู้พิจารณาแก้ไขใหม่ ว่าจะเชิญพักการเมืองใดเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลอีกหรือไม่ เพื่อให้ผักร่วมจัดตั้งรัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนจากรัฐสภาเกิน 375 เสียง
ส่วนการฉีก MOU นั้น จะกระทบความสัมพันธ์ของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเดิมหรือไม่นั้น นายเชาวฤทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทยว่า จะนำ MOU เก่ามาแก้ไข และให้พรรคก้าวไกล เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเช่นเดิม เพียงแต่ให้พรรคเพื่อไทย พิจารณาปรับแก้เนื้อหา เพราะเนื้อหาเดิมเป็นของพรรคก้าวไกลทั้งหมด ซึ่งหากมีการประชุม 8 พรรคร่วมฯ ตนก็จะนำเรื่องนี้เข้าไปประชุมหารือด้วย
ส่วนเสียงของ 8 พรรคร่วมฯ ขณะนี้ มี 312 เสียง อาจจะไม่พอสนับสนุนนายกรัฐมนตรี ควรจะมีการดึงพรรคร่วมเพิ่มหรือไม่นั้น นายเชาวฤทธิ์ ระบุว่า ขึ้นอยู่กับพรรคเพื่อไทย เพราะทั้ง 8 พรรคร่วมฯ มอบหมายให้พรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำในการประสานพรรคการเมืองอื่นแล้ว รวมถึงหาเสียงสนับสนุนจากสว.ด้วย ซึ่งจะมีพรรคการเมืองอื่นเข้ามาร่วมด้วยหรือไม่นั้น ตนเองก็ไม่ติดใจ เพราะได้มอบหมายให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว
นายเชาวฤทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตพรรคเพื่อไทย กำลังผลักพรรคก้าวไกลออกจากการเป็นพรรคร่วมว่า ไม่ใช่เช่นนั้น เพราะที่พรรคเพื่อไทยเชิญพรรคการเมืองต่างขั้วเข้ามาพูดคุย เพียงแค่เป็นการปรึกษาหารือทางออก และให้คำแนะนำถึงปัญหาข้อติดขัด ที่ 8 พรรคร่วมฯ จะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร
สรุปเนื้อหาฉบับย่อ MOU บันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งรัฐบาลทั้ง 23 ข้อ ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล
นอกจากนี้ใน MOU 8 พรรค ยังระบุด้วยว่า ทุกพรรคเห็นพ้องกันว่าจะร่วมกันบริหารประเทศด้วย 5 แนวทางปฏิบัติ ดังนี้