ศาลสั่งจำคุก "นาจิบ ราซัค " 12 ปี คดี1MDB 

28 ก.ค. 2563 | 12:13 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ก.ค. 2563 | 05:54 น.

ศาลสั่งจำคุก "นาจิบ ราชัด " 12 ปี พร้อมสั่งปรับ210 ล้านริงกิต  ความผิดฐานทุจริตเงิน 42 ล้านริงกิต จากกองทุนเอสอาร์ซี อินเตอร์เนชั่นแนล เข้าบัญชีธนาคารตัวเอง  

วันนี้ (28 ก.ค. 63 )สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย ว่าวันนี้ หลังจากที่ศาลสูงในกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีคำพิพากษาเมื่อช่วงเที่ยงของวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น ว่านาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตมาเลเชีย วัย 67 ปี มีความผิดจริงฐานทุจริตเงิน 42 ล้านริงกิต ( ราว 311.87 ล้านบาท) จากกองทุนเอสอาร์ซี อินเตอร์เนชั่นแนล ระหว่างปี 2554 ถึง 2558 ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนของกองทุนพัฒนาแห่งชาติ "วัน มาเลเซีย เดเวลอปเมนต์ เบอร์ฮัด" หรือวันเอ็มดีบี ( 1MDB ) โดยยักยอกเงินดังกล่าวเข้าบัญชีส่วนตัว ระหว่างจัดการกองทุนเมื่อช่วงปี 2554 ถึง 2558 นั้น


ต่อมาช่วงเย็นของวันเดียวกัน ศาลได้ประกาศบทลงโทษต่อนาจิบ ราซัค อดีตผู้นำมาเลเซีย ให้รับโทษจำคุกป็นเวลา 12 ปี พร้อมสั่งปรับให้ชำระค่าเสียหาย 210 ล้านริงกิต หรือราว 1,585 ล้านบาท ตามความผิดทั้ง 7 ข้อหา แบ่งเป็น 3 ข้อหาเกี่ยวกับการละเมิดอำนาจ  3 ข้อหาเกี่ยวกับการฟอกเงิน และอีก 1 ข้อหาฐานใช้อำนาจมิชอบ

 

ข่าวเกี่ยวข้อง

"นาจิบ ราซัค” ถูกศาลตัดสินใช้อำนาจมิชอบฉ้อโกง 1MDB 

"นาจิบ" อดีตนายกมาเลเซีย ถูกศาลสั่งเก็บภาษีย้อนหลังกว่าหมื่นลบ.

ด้านนาจิบ ราซัค กล่าวต่อศาลยืนยันไม่เคยต้องการเงิน 42 ล้านริงกิต จากกองทุนเอสอาร์ซี อินเตอร์เนชั่นแนล และไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องนำเงินดังกล่าวมาเป็นของตัวเอง 

 

ขณะที่ทนายความของเขา ประกาศอุทธรณ์พร้อมยื่นขอประกันตัวทันที โดยยืนกรานว่า ลูกความ "กังวลมาก" เมื่อพบว่ามีเงินจำนวนมหาศาล ที่ไม่ทราบที่มาที่ไปปรากฏอยู่ในบัญชี และเชื่อว่าเป็นฝีมือของนายโจ โลว์ นักการเงินชื่อกระฉ่อน ซึ่งขณะนี้กำลังหลบหนี

 

สำหรับคดีความเกี่ยวกับกองทุนเอสอาร์ซี อินตอร์เนชั่นแนล เป็นเพียงคดีแรกจาก 5 คดี รวมคำฟ้องทั้งสิ้น 42 ข้อหาที่อัยการสูงสุดของมาเลเซียต้องการเอาผิดนาจิบ ราซัค ว่าคอร์รัปชั่นอย่างร้ายแรง ด้วยการใช้อำนาจมิชอบ ฟอกเงิน ฉ้อโกง และละเมิดต่ออำนาจหน้าที่เพื่อการ ปล้นทรัพย์อย่างเป็นระบบ 

 

อนึ่งกองทุน 1MDB เป็นกองทุนที่ นาจิบ ราซัค ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 2552 และกลายเป็นคดีคอร์รัปชั่นทางการเงินมโหฬารพัวพันหลายประเทศทั้งระดับรัฐและเอกชน และมี "ผู้ร่วมขบวนการจำนวนมาก" โดยพนักงานสอบสวนของมาเลเชียเชื่อว่าระหว่างปี 2552 ถึง 2557 มีการยักยอกเงินจากวันเอ็มดีบีประมาณ 18,364.35 ล้านริงกิต ( ราว136,474 ล้านบาท ).