สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต. / ทูตพาณิชย์) ณ เมืองหนานหนิง สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานอ้างอิงข้อมูลสื่อของจีนว่า เดือนตุลาคมเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวกล้วยของประเทศกัมพูชา โดยจังหวัดกระแจะ(Kratie Province) มีการเก็บกล้วยจากต้นแล้วส่งไปถึงโรงงานคัดบรรจุ และส่งออกไปยังตลาดจีนโดยใช้ระบบขนส่งห่วงโซ่ความเย็นทั้งกระบวนการ
เดือนพฤษภาคม ปี 2562 จีนได้อนุญาตนำเข้าสินค้ากล้วยจากกัมพูชาเป็นต้นมา ซึ่งเป็นสินค้าผลไม้ชนิดแรกและชนิดเดียวที่กัมพูชาได้รับอนุญาตส่งออกมายังตลาดจีน การส่งออกกล้วยมายังจีน ไม่เพียงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวเกษตรกัมพูชา ยังเป็นการนำโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องให้กับชาวกัมพูชาด้วย เช่น การแปรรูปกล้วย การผลิตปุ๋ย ปี 2562 ปริมาณการนำเข้าสินค้ากล้วยของจีนจากกัมพูชาสูงถึง 1.3 แสนตัน และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องได้คาดการณ์ว่า ปริมาณการนำเข้ากล้วยกัมพูชาในปี 2563 มีแนวโน้มทะลุจำนวน 3 แสนตัน
บริษัท Grand Land Agricultural Development (Cambodia) Co.,Ltd. เป็นหนึ่งในบริษัท ที่ได้รับอนุญาตส่งออกกล้วยเข้าตลาดจีนชุดแรกของกัมพูชา Mr.GaoGuanhua ผู้จัดการใหญ่ของ บริษัทให้ข้อมูลว่า เพื่อตอบสนองความต้องการนำเข้ากล้วยของตลาดจีน บริษัทได้สร้างสวนสาธิตความ ร่วมมือด้านเกษตรกรรมเชิงนิเวศกัมพูชา-จีน มีพื้นที่ทั้งหมด 8.19 แสนไร่ ปัจจุบันพื้นที่ปลูกพืชเขตร้อน 9,450 ไร่ มีการปลูกกล้วยเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีต้นยางพารา ไม้สัก พริกไทยดำ และมะม่วง เป็นต้น
ขณะเดียวกัน บริษัทยังได้สร้างความร่วมมือกับกรมเกษตรของมณฑลไหหลำจีน เพื่อร่วมมือก่อสร้างฐานสาธิตและอุตสาหกรรมกล้วยกัมพูชา-ไหหลำ จนถึงปัจจุบัน ได้ดึงดูดบริษัท ต่าง ๆ เข้าลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงานปุ๋ย โรงงานผลิตกล่องหีบห่อ โรงงานบรรจุถุง และบริษัทโลจิสติกส์หว่งโซ่ความเย็น เป็นต้น
ขณะที่บริษัท CCIC (ประเทศกัมพูชา) จำกัด ( China Certification & Inspection Group Cambodia Co. , Ltd.) ให้บริการตรวจสอบคุณภาพ และติดตามย้อนกลับกับสินค้าเกษตรที่ส่งออกมายังจีนในกัมพูชา เพื่ออำนวยความสะดวกในการผ่านศุลกากรจีน ทั้งนี้ บริษัทฯ ทำการตรวจสอบ ยืนยันสถานที่ทั้งของสวนผลไม้และโรงคัดบรรจุ พร้อมใส่ข้อมูลทั้งเลขทะเบียนสวน เลขทะเบียนโรง คัดบรรจุ เลขตู้คอนเทนเนอร์ และเลขซีลปิดตู้คอนเทนเนอร์เป็นต้น เข้าระบบตรวจสอบย้อนกลับและ มีการเปิดใช้งานฉลากตรวจสอบย้อนกลับคิวอาร์โค้ดก่อนที่สินค้าจะมาถึงด่านประเทศจีน
Mr.ChenQisheng ผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ซี ซี ไอ ซี (ประเทศกัมพูชา) จากัด ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน บริษัทกัมพูชาที่ได้รับอนุญาตส่งออกกล้วยถึงประเทศจีนมีจำนวน 15 ราย พื้นที่ปลูกกล้วย 25,200 ไร่ โรงงานคัดบรรจุจำนวน 21 แห่ง กล้วยกัมพูชามีความได้เปรียบด้านรสชาติและราคา ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจีนเป็นอย่างมาก การส่งออกกล้วยมายังตลาดจีนเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมกล้วยของกัมพูชาแสดงให้เห็นว่า ตลาดจีนมีศักยภาพสูงสำหรับสินค้ากล้วยกัมพูชา โดยฉพาะช่วงวันหยุดวันชาติจีน 8 วันที่ผ่านมา กำลังการบริโภคชาวจีนมีการฟื้นฟูสู่ระดับปกติ ทั้งนี้ ช่วงเทศกาลวันไหว้พระจันทร์และวันตรุษจีนเป็นช่วงเวลาสำคัญในการจำหน่ายสินค้าผลไม้ ผู้ส่งออกกัมพูชาควรถือโอกาสนี้ เร่งการสงออกสินค้ากล้วยมายังจีน และคาดการณ์ว่า ยอดการส่งออกกล้วยกัมพูชามาตลาดจีนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 ขึ้นไป
สคต. ณ เมืองหนานหนิงให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน จีนอนุญาตนำเข้ากล้วยจากต่างประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ ลาว กัมพูชา ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2563 ยอดการนำเข้ากล้วยของจีนมีมูลค่า 20,354 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น
จากข้อมูล GACC แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาได้แซงหน้าไทยในการส่งออกสินค้ากล้วยมายังจีน โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่าไทยคิดเป็น 10 เท่าตัว หากมองในด้านประเภทกล้วย กัมพูชามีการส่งออกกล้วยประเภทกล้วยหอมเป็นหลัก ส่วนไทยมีการส่งออกกล้วยประเภทกล้วยน้ำว้าเป็นหลัก หากมองในด้านราคา กล้วยไทยมีราคาแพงกว่ากล้วยกัมพูชา 6-10 หยวนต่อกิโลกรัม หากมองในด้านสัดส่วนครองตลาด กัมพูชาครองตลาดกล้วยนำเข้าร้อยละ 10.6 ไทยมีสัดส่วนร้อย 0.9 อย่างไรก็ตาม กัมพูชาอาจเป็นคู่แข่งสำคัญของสินค้ากล้วยไทย ผู้ส่งออกไทยควรยกระดับคุณภาพสินค้ากล้วยและ ส่งเสริมการแปรรูปสินกล้วยและผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และขยายส่วนแบ่งตลาดสินค้ากล้วยนำเข้าของจีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง