สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ(สคต./ ทูตพาณิชย์) ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา รายงานอ้างอิงข้อมูลสื่อของสหรัฐฯ ระบุว่า บริษัท Ascential บริษัทวิจัยการตลาดให้กับบริษัท Retail Insight ได้ รายงานว่า ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า บริษัท Amazon ยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีกทางออนไลน์ จะก้าวขึ้นเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา แทนบริษัท Walmart ยักษ์ใหญ่ธุรกิจค้าปลีกซึ่งจะร่วงไปเป็นอันดับ 2 และตามด้วยห้าง Kroger เป็นอันดับ 3
บริษัท Amazon จะมียอดขายมูลค่ารวมของสินค้าภายในปี 2568 เป็น มูลค่า 631.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ประมาณ 19.5 ล้านล้านบาท คำนวณที่ 31 บาทต่อดอลลาร์) อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 14 (ระหว่างปี 2563-2568) ในขณะเดียวกัน โมเดลรูปแบบธุรกิจในการใช้บริการบุคคลที่สามของ บริษัท Amazon จะขยายตัวคิดป็นร้อยละ 66 ของยอดขายมูลค่ารวมของสินค้าสูงขึ้นจากร้อยละ 60 ในปี 2563
ห้าง Walmart จะมียอดขายรวมทั้งออนไลน์และออฟไลน์(รวมห้าง Sam’s Club) จำนวน 523.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 16.2 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2568 โดยธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ของห้างฯ จะเป็นตัวช่วยผลักดันยอดขาย ซึ่งในปี 2560 มีธุรกิจอี-คอมเมิร์ซของห้างมี อัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 14.9 มีมูลค่า 43.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น เป็น 87.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ห้าง Kroger ผู้ค้าปลีกใหญ่อันดับ 3 คาดภายในปี 2568 จะมีอัตราการ เติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.6 มีมูลค่า 166.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 5.1 ล้านล้านบาท) ห้าง Costco ผู้ค้าปลีกใหญ่ อันดับ 4 จะมีการลงทุนในธุรกิจออนไลน์เพิ่มมากขึ้น และตั้งเป้ายอดขายทางออนไลน์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 มีมูลค่า 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 4.7 แสนล้านบาท)
คาดว่าตลาดธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในสหรัฐอเมริกา จะมียอดขายมากกว่า 1.204 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจากร้อยละ 30 (ปี 2563) เป็นร้อยละ 41 และเพิ่มจากมูลค่า 546.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปี 2562) และ 471.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ปี 2561) ภายในปี 2568 การเจาะตลาดผ่านช่องทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซในสหรัฐฯ คาดจะเติบโตจาก ร้อยละ 22.1 (ปี 2563) เป็นร้อยละ 29 ของยอดค้าปลีกทั้งหมด และผู้บริโภคกลุ่ม Gen Z จะกลายเป็นกลุ่มนักช้อปปิ้งกลุ่มใหญ่ในธุรกิจออนไลน์
ในส่วนของธุรกิจ Grocery ทางออนไลน์หลังจากมีการผ่อนคลายกฎระเบียบ ทางสังคมและสภาวการณ์กำลังเข้าสู่ภาวะปกติ คาดตลาด Grocery ออนไลน์จะยัง มีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 13.3 ภายในปี 2568
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอเมซอน :
ปัจจุบัน มีผู้เข้าไปขายสินค้าบนแพลทฟอร์มอเมซอนมากกว่า 2.5 ล้าน รายทั่วโลก
Amazon ขายสินค้าได้ 4,722 ดอลลาร์ต่อวินาที (1.46 แสนบาท) หรือ 283,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อนาที(8.7 ล้านบาท) และมากกว่า 17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อชั่วโมง(527 ล้านบาท)
ร้อยละ 45 ของการใช้จ่ายทางอี-คอมเมิร์ซของสหรัฐฯ ในปี 2562 เป็น ยอดขายของอเมซอน ซึ่งเป็นตัวเลขที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 47 ในปี 2563
อเมซอนไม่เพียงแต่เป็นแพลทฟอร์มการขายสินค้าทางออนไลน์ แต่ยังทำธุรกิจให้บริการ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นบริการระบบคลาวด์และเป็นโซลูชันโฮสติ้งสมบูรณ์แบบ รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลและทรัพยากรด้านไอที
การจำหน่ายสินค้าในอเมซอน :
สินค้าที่จำหน่ายบนอเมซอนแพลทฟอร์มแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) สินค้าทั่วไป ของผู้ประกอบการทั้งในประเทศและจากต่างประเทศนำมาเสนอขายบนแพลทฟอร์ม และ (2) สินค้าที่อเมซอนเป็นเจ้าของแบรนด์ (Private Label) ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 110 แบรนด์เช่น Amazon Basics, Happy Belly, Nature Wonder, Presto, Pinzon, Mia Noir, Echo, Nook, Wag เป็นต้น
สินค้าอเมซอนแบรนด์ ที่จำหน่ายแยกออกเป็น 4 กลุ่มสินค้า คือ (1) ของใช้ ในครัวเรือน (2) Food & Grocery, (3) Fashion & Apparel และ (4) Amazon Device ซึ่งเป็นสินค้าในกลุ่มอิเลคทรอนิกส์
ยอดขายของสินค้าในกลุ่มแบรนด์อเมซอนยังมีสัดส่วนต่ำเมื่อเทียบกับยอดขายรวม แต่มีอัตราการขยายตัวในอัตราสูงร้อยละ 47 ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
อเมซอนกับการนำเข้าสินค้า :
อเมซอนนำเข้าสินค้าเฉพาะที่เป็นเจ้าของแบรนด์จากต่างประเทศรวมทั้งจากไทยมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของสินค้าแบรนด์ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นสินค้าแบรนด์ที่อเมซอนจ้างผลิตในประเทศ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก คือ จีน อินเดีย เวียดนาม ไต้หวัน และ เกาหลีใต้
อเมซอนนำเข้าสินค้าจากไทยในปี 2563 เป็นมูลค่าประมาณ 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 140 ล้านบาท) สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ของใช้ในบ้าน และ อิเลคทรอนิกส์
การค้าขายกับอเมซอน:
ปัจจุบัน ตามบัญชีรายชื่อที่อเมซอนเปิดเผย อเมซอนมีซัพพลายเออร์สินค้าแบรนด์อเมซอนทั่วโลกในบัญชีกว่า 1,500 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจีน และ อินเดีย และ พบว่ามีผู้ผลิต/ส่งออกไทยเพียง 6 ราย บรรจุอยู่ในบัญชีซัพพลายดังกล่าว
อเมซอนวางระบบการเลือกซัพพลายเออร์และการจัดซื้อ การ Sourcing และ Procurement สินค้าให้สอดคล้องกับนโยบายบริษัทฯ ในด้านความยั่งยืน แรงงาน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการที่ประสงค์จะเป็นซัพพลายเออร์ให้อเมซอนต้อง พิจารณาปรับตัวและยกระดับการผลิตให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว
นอกเหนือไปจากการขายสินค้าบทแพลทฟอร์มอเมซอนแล้ว และประกอบ กับยอดขายของสินค้าแบรนด์อเมซอนขยายตัว ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่สนใจอาจจะพิจารณาเสนอตัวเป็นซัพพลายเออร์สินค้าอเมซอนแบรนด์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งของผู้ผลิต/ส่งออกไทยในการทำธุรกิจการค้ากับอเมซอน
สินค้าไทยมีลู่ทางในการเข้าตลาดอเมซอนแบรนด์ ได้แก่ ของใช้และตกแต่ง บ้าน เฟอร์นิเจอร์KD กระเป๋าเดินทาง เครื่องประดับเงินและแฟชั่น อาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
“วอลมาร์ท”ลุยค้าออนไลน์โค่น “อเมซอน” 7 สินค้าไทยส้มหล่น !
วอลมาร์ทยืนหนึ่งแชมป์ FORTUNE Global 500 ปตท.ผงาดอันดับ 140
วอลมาร์ท-อะเมซอน สวนกระแส จ้างงานเพิ่มกว่าแสนตำแหน่ง